อย. ปรับลดราคายาแก้ปวด แบบแปะ ใช้บรรเทาอาการปวดจากโรคมะเร็ง รวมถึงยาในกลุ่มวัตถุเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท 10-40% หวังช่วยผู้ป่วยเข้าถึงยามากขึ้น ประหยัดค่ายา ลดภาระค่าครองชีพช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
วันนี้ (12 มี.ค.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการที่ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีนโยบายให้ อย.ปรับลดราคายา เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาราคาถูก ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลและคลินิกในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งอย. มีหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายวัตถุเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทให้แก่สถานพยาบาลต่างๆ โดย อย.ได้ปรับลดราคายาแก้ปวดเฟนตานิล ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง (Fentanyl Transdermal Patch) ที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ซึ่งถูกลง 25-36% ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น
นพ.พิพัฒน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ยาเฟนตานิลชนิดแปะผิวหนังจะมี 3 ขนาด โดยขนาด 12 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง บรรจุ 1 กล่อง 5 แผ่น ราคาเดิมกล่องละ 1,060 บาท ลดลง 25% เหลือ 795 บาท สำหรับขนาด 25 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง ราคาเดิม ราคากล่องละ 1,895 บาท ลดลง 36.15% เหลือ 1,210 บาท และขนาด 50 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง ราคาเดิมกล่องละ 3,745 บาท ลดลง 36.98% เหลือ 2,190 บาท ทั้งนี้ ราคาใหม่มีผลตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนนี้เป็นต้นไป
“สำหรับยาแก้ปวดชนิดแปะ องค์การเภสัชกรรม(อภ.) เป็นผู้นำเข้ายาสามัญมาจำหน่ายให้อย. ถือเป็นยาที่มีราคาถูกคุณภาพดี ไม่ใช่ลดราคาแต่ยาไม่มีคุณภาพ ซึ่งยาตัวนี้ปกติมีมูลค่าการสั่งซื้อไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาทต่อปี เพื่อใช้กับผู้ป่วยมะเร็ง ที่มีอาการปวดรุนแรงและต้องใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ ซึ่งแผ่นแปะดังกล่าว ลดอาการปวดได้ดีกว่าการใช้มอร์ฟีนถึง 50 เท่า แต่มีราคาสูงกว่ามาก โดยแผ่นแปะ 1 แผ่น ใช้ได้นาน 1-3 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดและอาการปวด โดยใช้แปะลงบนผิวหนังส่วนใดก็ได้ ยกเว้นข้อพับ” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับวัตถุเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่ อย.ต้องควบคุมดูแลมี ประมาณ 50 ชนิด เป็นกลุ่มยาแก้ปวด ยานอนหลับ และลดความอ้วน ซึ่งทั้งหมด มีมูลค่าการสั่งซื้อปีละ 400 กว่าล้านบาท แม้เป็นตัวเลขที่ไม่สูง เพราะจำนวนผู้ป่วยมีน้อยแต่มีความเดือนร้อนจากเข้าไม่ถึงยาเนื่องจากยามีราคาแพง แต่ขณะนี้มียาหลายชนิดที่จะหมดสิทธิบัตร ทำให้สามารถนำเข้ายาสามัญมาจำหน่ายในราคาถูกแทนได้ รวมถึงอย. ใช้วิธีจัดซื้อแบบเปิดกว้างให้มีการแข่งขันเสนอราคา โดยอย.มีเป้าหมายจะทยอยลดราคายาในกลุ่มดังกล่าวทุกรายการลดลง 10-40% เช่น ยาในกลุ่มเมทิลเฟนิเดต สำหรับรักษาโรคสมาธิสั้น กลุ่มยานอนหลับ เช่น มิดาโซแลม ชนิดฉีดและชนิดเม็ด และกลุ่มยาแก้ปวด เฟนตานิล ชนิดฉีด เป็นต้น
ด้านนพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า อภ.ได้รับมอบนโยบายในการจัดหายาราคาไม่แพง แต่ยืนยันว่าคุณภาพของยาดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดย อภ.ได้นำเข้ายาดังกล่าวจากประเทศเยอรมนี มีใบรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ (Certificate of Analysis) ใบรับรองให้จำหน่ายในกลุ่มประเทศยุโรป (Certificate of Free Sale) รวมทั้งมีข้อมูลการศึกษาทางคลินิก และชีวสมมูล เปรียบเทียบกับยาต้นแบบ เพื่อเป็นข้อมูลยืนยันว่ายาแก้ปวดชนิดแปะดังกล่าว มีประสิทธิภาพทางการรักษา มีความปลอดภัยและได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาจาก อย.แล้ว
วันนี้ (12 มี.ค.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการที่ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีนโยบายให้ อย.ปรับลดราคายา เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาราคาถูก ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลและคลินิกในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งอย. มีหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายวัตถุเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทให้แก่สถานพยาบาลต่างๆ โดย อย.ได้ปรับลดราคายาแก้ปวดเฟนตานิล ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง (Fentanyl Transdermal Patch) ที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ซึ่งถูกลง 25-36% ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น
นพ.พิพัฒน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ยาเฟนตานิลชนิดแปะผิวหนังจะมี 3 ขนาด โดยขนาด 12 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง บรรจุ 1 กล่อง 5 แผ่น ราคาเดิมกล่องละ 1,060 บาท ลดลง 25% เหลือ 795 บาท สำหรับขนาด 25 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง ราคาเดิม ราคากล่องละ 1,895 บาท ลดลง 36.15% เหลือ 1,210 บาท และขนาด 50 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง ราคาเดิมกล่องละ 3,745 บาท ลดลง 36.98% เหลือ 2,190 บาท ทั้งนี้ ราคาใหม่มีผลตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนนี้เป็นต้นไป
“สำหรับยาแก้ปวดชนิดแปะ องค์การเภสัชกรรม(อภ.) เป็นผู้นำเข้ายาสามัญมาจำหน่ายให้อย. ถือเป็นยาที่มีราคาถูกคุณภาพดี ไม่ใช่ลดราคาแต่ยาไม่มีคุณภาพ ซึ่งยาตัวนี้ปกติมีมูลค่าการสั่งซื้อไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาทต่อปี เพื่อใช้กับผู้ป่วยมะเร็ง ที่มีอาการปวดรุนแรงและต้องใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ ซึ่งแผ่นแปะดังกล่าว ลดอาการปวดได้ดีกว่าการใช้มอร์ฟีนถึง 50 เท่า แต่มีราคาสูงกว่ามาก โดยแผ่นแปะ 1 แผ่น ใช้ได้นาน 1-3 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดและอาการปวด โดยใช้แปะลงบนผิวหนังส่วนใดก็ได้ ยกเว้นข้อพับ” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับวัตถุเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่ อย.ต้องควบคุมดูแลมี ประมาณ 50 ชนิด เป็นกลุ่มยาแก้ปวด ยานอนหลับ และลดความอ้วน ซึ่งทั้งหมด มีมูลค่าการสั่งซื้อปีละ 400 กว่าล้านบาท แม้เป็นตัวเลขที่ไม่สูง เพราะจำนวนผู้ป่วยมีน้อยแต่มีความเดือนร้อนจากเข้าไม่ถึงยาเนื่องจากยามีราคาแพง แต่ขณะนี้มียาหลายชนิดที่จะหมดสิทธิบัตร ทำให้สามารถนำเข้ายาสามัญมาจำหน่ายในราคาถูกแทนได้ รวมถึงอย. ใช้วิธีจัดซื้อแบบเปิดกว้างให้มีการแข่งขันเสนอราคา โดยอย.มีเป้าหมายจะทยอยลดราคายาในกลุ่มดังกล่าวทุกรายการลดลง 10-40% เช่น ยาในกลุ่มเมทิลเฟนิเดต สำหรับรักษาโรคสมาธิสั้น กลุ่มยานอนหลับ เช่น มิดาโซแลม ชนิดฉีดและชนิดเม็ด และกลุ่มยาแก้ปวด เฟนตานิล ชนิดฉีด เป็นต้น
ด้านนพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า อภ.ได้รับมอบนโยบายในการจัดหายาราคาไม่แพง แต่ยืนยันว่าคุณภาพของยาดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดย อภ.ได้นำเข้ายาดังกล่าวจากประเทศเยอรมนี มีใบรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ (Certificate of Analysis) ใบรับรองให้จำหน่ายในกลุ่มประเทศยุโรป (Certificate of Free Sale) รวมทั้งมีข้อมูลการศึกษาทางคลินิก และชีวสมมูล เปรียบเทียบกับยาต้นแบบ เพื่อเป็นข้อมูลยืนยันว่ายาแก้ปวดชนิดแปะดังกล่าว มีประสิทธิภาพทางการรักษา มีความปลอดภัยและได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาจาก อย.แล้ว