เผย 4 รายชื่อหนังห้ามฉายปี 51 “Halloween-Frontier (s)-Funny game-Scar-3D” เหตุขัดศีลธรรม “ธีระ” ชี้ หากพบหนังหมิ่นศาสนา-สถาบันขัดความมั่นคงเจอคุก 1 ปี พร้อมปรับ 1 แสน แนะผู้ประกอบการศึกษาข้อ กม.ก่อนสร้าง
วันนี้ (18 ก.พ.) นายประดิษฐ์ โปซิว รักษาการผู้อำนวยการสำนักภาพยนตร์และวิดีทัศน์ (สภว.) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) เปิดเผยว่า ระหว่างการรอประกาศใช้กฎกระทรวงประกอบ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 พบว่า ในปีที่ผ่านมา มีภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบและพิจารณา โดยไม่ได้รับการอนุญาตให้เผยแพร่และจำหน่าย จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ Halloween, Frontier (s), Funny game และ Scar-3D เนื่องจากพบว่ามีเนื้อที่ไม่เหมาะสม ขัดต่อศีลธรรม โหดร้าย ขาดมนุษยธรรม
ทั้งนี้ ในส่วนของภาพยนตร์ที่เนื้อหาหมิ่นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำลายความมั่นคงของประเทศ ก่อให้แตกความสามัคคี เหยียดหยามศาสนายังไม่พบ อย่างไรก็ตาม เมื่อประกาศใช้กฎกระทรวงทั้ง 5 ฉบับอย่างเป็นทางการแล้ว การตรวจสอบและพิจารณาภาพยนตร์ก็จะปรับเปลี่ยนมาเป็นการจัดเรตติ้งแทน
นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า เมื่อกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ มีผลบังคับใช้จริง วธ.จะดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะในเรื่องของเรตติ้งภาพยนตร์ ร้านเกม การขอใบอนุญาตต่างๆ เพราะใน พ.ร.บ.ภาพยนตร์ได้กำหนดบทลงโทษทางอาญาไว้อย่างชัดเจน ดังนี้ ผู้ที่สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยไม่ขออนุญาต ก็มีความผิดมาตราที่ 75 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1 แสนถึง 1 ล้านบาท ส่วนผู้ที่ขออนุญาตแล้ว แต่สร้างไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามมาตรา 76 โดยมีโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท ขณะบทลงโทษเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ ที่เป็นบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำลายความมั่นคงของประเทศ ออกเผยแพร่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
รมว.วธ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับผู้ที่นำภาพยนตร์ออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยนทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ มีความผิดตามมาตรา 78 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 2 แสนถึง 1 ล้านบาท หากไม่มีใบอนุญาตหรือถูกพักใบอนุญาต แต่ยังประกอบกิจการโรงภาพยนตร์และประกอบกิจการให้เช่า จะมีความผิด ตามมาตรา 79 ปรับตั้งแต่ 2 แสนบาทถึง 1 ล้านบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายมาตราที่จะลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน ดังนั้น ผู้ประกอบการควรที่ศึกษาข้อกฎหมายให้ชัดเจน เพราะหากกฎกระทรวงประกาศใช้อย่างเป็นทางก็จะดำเนินกับผู้ที่กระทำผิดอย่าง
วันนี้ (18 ก.พ.) นายประดิษฐ์ โปซิว รักษาการผู้อำนวยการสำนักภาพยนตร์และวิดีทัศน์ (สภว.) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) เปิดเผยว่า ระหว่างการรอประกาศใช้กฎกระทรวงประกอบ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 พบว่า ในปีที่ผ่านมา มีภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบและพิจารณา โดยไม่ได้รับการอนุญาตให้เผยแพร่และจำหน่าย จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ Halloween, Frontier (s), Funny game และ Scar-3D เนื่องจากพบว่ามีเนื้อที่ไม่เหมาะสม ขัดต่อศีลธรรม โหดร้าย ขาดมนุษยธรรม
ทั้งนี้ ในส่วนของภาพยนตร์ที่เนื้อหาหมิ่นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำลายความมั่นคงของประเทศ ก่อให้แตกความสามัคคี เหยียดหยามศาสนายังไม่พบ อย่างไรก็ตาม เมื่อประกาศใช้กฎกระทรวงทั้ง 5 ฉบับอย่างเป็นทางการแล้ว การตรวจสอบและพิจารณาภาพยนตร์ก็จะปรับเปลี่ยนมาเป็นการจัดเรตติ้งแทน
นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า เมื่อกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ มีผลบังคับใช้จริง วธ.จะดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะในเรื่องของเรตติ้งภาพยนตร์ ร้านเกม การขอใบอนุญาตต่างๆ เพราะใน พ.ร.บ.ภาพยนตร์ได้กำหนดบทลงโทษทางอาญาไว้อย่างชัดเจน ดังนี้ ผู้ที่สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยไม่ขออนุญาต ก็มีความผิดมาตราที่ 75 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1 แสนถึง 1 ล้านบาท ส่วนผู้ที่ขออนุญาตแล้ว แต่สร้างไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามมาตรา 76 โดยมีโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท ขณะบทลงโทษเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ ที่เป็นบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำลายความมั่นคงของประเทศ ออกเผยแพร่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
รมว.วธ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับผู้ที่นำภาพยนตร์ออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยนทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ มีความผิดตามมาตรา 78 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 2 แสนถึง 1 ล้านบาท หากไม่มีใบอนุญาตหรือถูกพักใบอนุญาต แต่ยังประกอบกิจการโรงภาพยนตร์และประกอบกิจการให้เช่า จะมีความผิด ตามมาตรา 79 ปรับตั้งแต่ 2 แสนบาทถึง 1 ล้านบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายมาตราที่จะลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน ดังนั้น ผู้ประกอบการควรที่ศึกษาข้อกฎหมายให้ชัดเจน เพราะหากกฎกระทรวงประกาศใช้อย่างเป็นทางก็จะดำเนินกับผู้ที่กระทำผิดอย่าง