สธ.ยึกยักไม่กล้าห้ามขายเหล้าช่วงสงกรานต์ เล็งห้ามขายเฉพาะช่วงเวลา ส่วนภาพเตือนติดขวดเหล้าเริ่มจากเหล้าไทยก่อนยังไม่แตะเหล้านอก
นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การจำหน่ายเหล้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่จะถึงนี้ ระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน อาจจะเป็นการห้ามจำหน่ายแอลกอฮอล์ตามช่วงเวลาที่มีการระบุไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมายตั้งแต่สมัยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แต่ไม่ได้ห้ามตลอด 24 ชั่วโมง โดยอาจจะอนุญาตให้มีการจำหน่ายตั้งแต่เวลา 11.00-14.00 น.และ 17.00-00.00 น.เท่านั้น ตามข้อกำหนดเดิมแต่จะต้องนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พิจารณาก่อน
“ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม คงไม่ได้ห้ามตลอด 24 ชั่วโมง แต่ห้ามแค่บางช่วงเวลา เพื่อไม่ให้สะดวกในการซื้อขาย แต่หากจะดื่มก็สามารถดื่มที่บ้านได้ไม่ได้ห้ามเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังให้คณะกรรมการควบคุมฯ ดำเนินการศึกษาเรื่องการติดภาพคำเตือน โรคพิษสุราเรื้อรังไว้บนขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะทำไปพร้อมๆ กัน ซึ่งเริ่มแรกอาจจะเริ่มที่เครื่องดื่มแอลกฮอล์ของไทยก่อนของต่างชาติ นอกจากนี้ อนาคตอาจจะมีการสร้างภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์เกี่ยวกับพิษภัยของสุราผ่านทางโทรทัศน์เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นด้วย” นายมานิต กล่าว
นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การจำหน่ายเหล้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่จะถึงนี้ ระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน อาจจะเป็นการห้ามจำหน่ายแอลกอฮอล์ตามช่วงเวลาที่มีการระบุไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมายตั้งแต่สมัยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แต่ไม่ได้ห้ามตลอด 24 ชั่วโมง โดยอาจจะอนุญาตให้มีการจำหน่ายตั้งแต่เวลา 11.00-14.00 น.และ 17.00-00.00 น.เท่านั้น ตามข้อกำหนดเดิมแต่จะต้องนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พิจารณาก่อน
“ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม คงไม่ได้ห้ามตลอด 24 ชั่วโมง แต่ห้ามแค่บางช่วงเวลา เพื่อไม่ให้สะดวกในการซื้อขาย แต่หากจะดื่มก็สามารถดื่มที่บ้านได้ไม่ได้ห้ามเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังให้คณะกรรมการควบคุมฯ ดำเนินการศึกษาเรื่องการติดภาพคำเตือน โรคพิษสุราเรื้อรังไว้บนขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะทำไปพร้อมๆ กัน ซึ่งเริ่มแรกอาจจะเริ่มที่เครื่องดื่มแอลกฮอล์ของไทยก่อนของต่างชาติ นอกจากนี้ อนาคตอาจจะมีการสร้างภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์เกี่ยวกับพิษภัยของสุราผ่านทางโทรทัศน์เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นด้วย” นายมานิต กล่าว