“คุณหญิงกษมา” เผย จัดทำคูปองเรียนฟรี 15 ปี ให้ยืดหยุ่น หากโรงเรียนไหนมีปัญหาในการใช้คูปองให้เสนอแนวทางอื่นเข้ามา โดยต้องได้รับความเห็นชอบจาก 4 ภาคีเครือข่าย “นักเรียน ครู ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษา” ชง ครม.ของบเพิ่มเติมให้โรงเรียนเล็กต่อหลังพบส่งผลพัฒนาผู้เรียนดีขึ้น
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการประชุม กพฐ.เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้หารือถึงนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ โดย กพฐ.ได้เน้นย้ำขอให้รัฐบาลทำความชัดเจนในรายละเอียดว่าเรียนฟรีนั้นฟรีอย่างไร เพราะจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติกับโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนจะไม่สามารถเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ และนอกจากจากเรียนฟรีแล้วจะต้องเน้นเรื่องคุณภาพการศึกษาให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโครงการเรียนฟรี 15 ปีนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รวบรวมความคิดเห็นจากการประชาพิจารณ์ทั้ง 2 ครั้ง พร้อมจัดทำแนวปฏิบัติเสนอต่อ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ เรียบร้อยแล้ว โดยแนวปฏิบัติที่เสนอ คือ ให้เน้นจัดทำในรูปของคูปอง แต่ได้มีการยืดหยุ่นว่า หากโรงเรียนใดมีปัญหาในทางปฏิบัติสามารถเสนอแนวทางอื่น เพื่อขอความเห็นชอบจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก 4 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาซึ่งมีตัวแทนชุมชนร่วมอยู่ด้วย
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กพฐ.ยังเห็นชอบรายงานผลการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คนลงมา ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มเติมในระดับก่อนประถมและประถมศึกษา 500 บาทต่อคน/ปี และระดับม.ต้นและม.ปลาย 1,000 บาทต่อคน/ปี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า งบประมาณที่ได้รับเพิ่มสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในทางบวกอย่างเห็นได้ชัด อาทิ ทำให้โรงเรียนมีสื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเสนอของบกลางเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในปีการศึกษา 2552 ส่วนจะเป็นการอนุมัติปีต่อปีหรืออนุมัติเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวเป็นการต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม.
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการประชุม กพฐ.เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้หารือถึงนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ โดย กพฐ.ได้เน้นย้ำขอให้รัฐบาลทำความชัดเจนในรายละเอียดว่าเรียนฟรีนั้นฟรีอย่างไร เพราะจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติกับโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนจะไม่สามารถเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ และนอกจากจากเรียนฟรีแล้วจะต้องเน้นเรื่องคุณภาพการศึกษาให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโครงการเรียนฟรี 15 ปีนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รวบรวมความคิดเห็นจากการประชาพิจารณ์ทั้ง 2 ครั้ง พร้อมจัดทำแนวปฏิบัติเสนอต่อ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ เรียบร้อยแล้ว โดยแนวปฏิบัติที่เสนอ คือ ให้เน้นจัดทำในรูปของคูปอง แต่ได้มีการยืดหยุ่นว่า หากโรงเรียนใดมีปัญหาในทางปฏิบัติสามารถเสนอแนวทางอื่น เพื่อขอความเห็นชอบจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก 4 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาซึ่งมีตัวแทนชุมชนร่วมอยู่ด้วย
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กพฐ.ยังเห็นชอบรายงานผลการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คนลงมา ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มเติมในระดับก่อนประถมและประถมศึกษา 500 บาทต่อคน/ปี และระดับม.ต้นและม.ปลาย 1,000 บาทต่อคน/ปี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า งบประมาณที่ได้รับเพิ่มสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในทางบวกอย่างเห็นได้ชัด อาทิ ทำให้โรงเรียนมีสื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเสนอของบกลางเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในปีการศึกษา 2552 ส่วนจะเป็นการอนุมัติปีต่อปีหรืออนุมัติเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวเป็นการต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม.