“อภินันท์ โปษยานนท์” ผอ.สศร.รับเครื่องราชฯ ชั้นอัศวินจากรัฐบาลอิตาลี เผยเป็นคนไทยคนแรก ที่หนุนศิลปินไทยกระฉ่อนเวที “เวนิส เบียนนาเล่” สานสัมพันธ์ไทยอิตาลี เตรียมเข้ารับเครื่องราชฯ 11 ก.พ.นี้
เมื่อวันที่ 28 ม.ค. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) แจ้งว่า รัฐบาลสาธารณรัฐอิตาลีได้มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นอัศวิน (Stella Della Solidarieta’ Italiana-Cavaliere/ Order of the Star of Italian Solidality-Knight) ให้แก่ ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะบุคคลที่มีส่วนในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐอิตาลี ด้วยการผลักด้านศิลปวัฒนธรรมและผสานความร่วมมือระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐอิตาลีจนเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน ทั้งในด้านงานค้นคว้าวิจัยศิลปินชาวอิตาลีที่มีบทบาทสำคัญในสยามสมัยรัชกาลที่ 5 การสนับสนุนศิลปินชาวอิตาลีในการแสดงงานในประเทศไทยและต่างประเทศ
ที่สำคัญ ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้นำศิลปินไทยร่วมแสดงผลงานในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล (International Art Exhibition la Biennale di Venezia) อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 50 ปี พ.ศ.2546, ครั้งที่ 51 พ.ศ.2548, ครั้งที่ 52 พ.ศ.2550 และครั้งที่ 53 ซึ่งจะจัดในระหว่างวันที่ 7 มิถุนายน - 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2552
ศ.ดร.อภินันท์ กล่าวว่า วันที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตอิตาลี ประจำประเทศไทยแจ้งมาให้ตนทราบเรื่องดังกล่าว ตนยังพักฟื้นร่างกายจากแผลผ่าตัดไส้ติ่งอยู่ที่โรงพยาบาล จึงรู้สึกตื่นเต้นมาก ไม่ได้คิดว่าจะได้รับเกียรติขั้นสูงเช่นนี้ ที่ผ่านมาตนทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ไม่คิดว่าทางทำเนียบเอกอัครราชทูตอิตาลีจะติดตามงานและพิจารณาเห็นคุณค่า อย่างไรก็ตาม ภายหลังทราบข่าวดีจึงลองถามกลับไปทางทำเนียบเอกอัครราชทูตอิตาลีว่าเหตุใด ตนถึงได้รับเครื่องราชฯ นี้ ได้รับคำตอบว่า เพราะตนทำงานวิจัยเรื่องศิลปินอิตาลีที่เข้ามาทำงานสมัยรัชกาลที่ 5 และนำศิลปินอิตาลีมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศิลปินไทย และนำศิลปินไทยไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศิลปินอิตาลีในงานเวนิส เบียนนาเล่ เป็นครั้งที่ 4 แล้ว
“การทำงานดังกล่าวถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ หลายครั้งเกิดเหตุการณ์ปฎิวัติ เศรษฐกิจย่ำแย่ในประเทศไทย แต่เรายังส่งศิลปินไปร่วมงาน ทางทำเนียบเอกอัครราชทูตอิตาลีจึงมองว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ทีดีแก่ไทย เป็นงานสร้างสรรค์ที่ไม่มีผลกระทบกับใคร ผมจึงรู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อชาวต่างประเทศในภาวะวิกฤติถดถอยที่ผ่านมา และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเครื่องราชฯ ในสาขาศิลปะร่วมสมัย นับเป็นแรงบันดาลใจ และหายเหนื่อยจากการทำงานอย่างหนักในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา มีทั้งดี มีทั้งมรสุม หลายเรื่องหลายราว แม้บางครั้งต้องทำงานในสองหน้าที่ตามผู้บังคับบัญชาสั่ง ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง แต่เราอดทน เครื่องราชฯนี้ทำให้หายเหนื่อยเลยครับ” ศ.ดร.อภินันท์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Stella Della Solidarieta’ Italiana-Cavaliere กำหนดจัด ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 นี้ โดยมีศิลปินชื่อดัง เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ถวัลย์ ดัชนี นำทีมศิลปินทั่วประเทศเข้าร่วมแสดงความยินดี
เมื่อวันที่ 28 ม.ค. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) แจ้งว่า รัฐบาลสาธารณรัฐอิตาลีได้มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นอัศวิน (Stella Della Solidarieta’ Italiana-Cavaliere/ Order of the Star of Italian Solidality-Knight) ให้แก่ ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะบุคคลที่มีส่วนในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐอิตาลี ด้วยการผลักด้านศิลปวัฒนธรรมและผสานความร่วมมือระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐอิตาลีจนเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน ทั้งในด้านงานค้นคว้าวิจัยศิลปินชาวอิตาลีที่มีบทบาทสำคัญในสยามสมัยรัชกาลที่ 5 การสนับสนุนศิลปินชาวอิตาลีในการแสดงงานในประเทศไทยและต่างประเทศ
ที่สำคัญ ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้นำศิลปินไทยร่วมแสดงผลงานในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล (International Art Exhibition la Biennale di Venezia) อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 50 ปี พ.ศ.2546, ครั้งที่ 51 พ.ศ.2548, ครั้งที่ 52 พ.ศ.2550 และครั้งที่ 53 ซึ่งจะจัดในระหว่างวันที่ 7 มิถุนายน - 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2552
ศ.ดร.อภินันท์ กล่าวว่า วันที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตอิตาลี ประจำประเทศไทยแจ้งมาให้ตนทราบเรื่องดังกล่าว ตนยังพักฟื้นร่างกายจากแผลผ่าตัดไส้ติ่งอยู่ที่โรงพยาบาล จึงรู้สึกตื่นเต้นมาก ไม่ได้คิดว่าจะได้รับเกียรติขั้นสูงเช่นนี้ ที่ผ่านมาตนทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ไม่คิดว่าทางทำเนียบเอกอัครราชทูตอิตาลีจะติดตามงานและพิจารณาเห็นคุณค่า อย่างไรก็ตาม ภายหลังทราบข่าวดีจึงลองถามกลับไปทางทำเนียบเอกอัครราชทูตอิตาลีว่าเหตุใด ตนถึงได้รับเครื่องราชฯ นี้ ได้รับคำตอบว่า เพราะตนทำงานวิจัยเรื่องศิลปินอิตาลีที่เข้ามาทำงานสมัยรัชกาลที่ 5 และนำศิลปินอิตาลีมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศิลปินไทย และนำศิลปินไทยไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศิลปินอิตาลีในงานเวนิส เบียนนาเล่ เป็นครั้งที่ 4 แล้ว
“การทำงานดังกล่าวถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ หลายครั้งเกิดเหตุการณ์ปฎิวัติ เศรษฐกิจย่ำแย่ในประเทศไทย แต่เรายังส่งศิลปินไปร่วมงาน ทางทำเนียบเอกอัครราชทูตอิตาลีจึงมองว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ทีดีแก่ไทย เป็นงานสร้างสรรค์ที่ไม่มีผลกระทบกับใคร ผมจึงรู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อชาวต่างประเทศในภาวะวิกฤติถดถอยที่ผ่านมา และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเครื่องราชฯ ในสาขาศิลปะร่วมสมัย นับเป็นแรงบันดาลใจ และหายเหนื่อยจากการทำงานอย่างหนักในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา มีทั้งดี มีทั้งมรสุม หลายเรื่องหลายราว แม้บางครั้งต้องทำงานในสองหน้าที่ตามผู้บังคับบัญชาสั่ง ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง แต่เราอดทน เครื่องราชฯนี้ทำให้หายเหนื่อยเลยครับ” ศ.ดร.อภินันท์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Stella Della Solidarieta’ Italiana-Cavaliere กำหนดจัด ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 นี้ โดยมีศิลปินชื่อดัง เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ถวัลย์ ดัชนี นำทีมศิลปินทั่วประเทศเข้าร่วมแสดงความยินดี