รมว.ศึกษาสุดทนพฤติกรรมนักเรียน-นักเลง สั่งคณะกรรมการอุดมศึกษาเป็นแม่งานถกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อยุติศึกอุเทนถวาย-ช่างกลปทุมวัน คาดโทษวินัย อาญา ส่วนครูหนีไม่พ้นโดนเชือดวินัย เลวร้ายสุดถึงขั้นสั่งปิดสถานศึกษา
วันนี้ (28 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขปัญหาการยกพวกตีกันของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย กับช่างกลปทุมวัน ที่เรื้อรังมานานหลาย 10 ปีว่า วันนี้ (28 ม.ค.) ตนได้มอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)นัดสถาบันทั้ง 2 สถาบัน เจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ที่เกี่ยวข้องมาประชุมว่าจะหาทางแก้ปัญหาอย่างไร อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าไม่มีมาตรการใดเป็นสูตรสำเร็จว่ามีมาตรการอะไรออกมาแล้วปัญหาจะยุติไปครบถ้วน 100% เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
“ต้องใช้มาตรการทั้งสองอย่างควบคู่กันไป คือมาตรการในการป้องปรามและมาตรการที่จะลงโทษเด็ดขาดด้วยสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกระทำความผิด และก็คงต้องเริ่มต้นที่ตัวสถาบันด้วยแล้วก็ตัวอาจารย์ที่ต้องเข้ามาดำเนินการในการที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ถ้าสถาบันเอาจริงเข้าไปกวดขันดูแลจริงๆ และครูอาจารย์ต้องเข้าไปดำเนินการในลักษณะที่จะต้องชี้นำในทางที่ถูกต้องให้กับนักศึกษา ผมก็คิดว่าจะช่วยคลี่คลายไปในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเกิดมีการกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องขึ้นมาจริงๆ ก็ต้องมีการดำเนินจริงทั้งในทางวินัยและในทางกฎหมาย”รมว.ศึกษาฯ กล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวถึงการแก้ปัญหาอีกว่า ในส่วนของเยาวชนก็จะมีกระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวข้องเข้าไปร่วมดูแลด้วยแต่ในกระทรวงศึกษาคงเข้าไปดูในส่วนของสถาบันเป็นหลัก ที่มีมาตรการที่จะลงโทษหากมีการกระทำความผิดที่นอกเหนือจากกฎหมายบ้านเมืองที่ตำรวจมีหน้าที่อยู่แล้ว อาทิ สมมติมีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องถ้าหากว่าครูเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยหลักแล้วครูก็จะถูกลงโทษทางวินัยหรือว่าตามกฎหมาย ส่วนของนักเรียนก็ถูกลงโทษทางวินัย และกฎของสถาบัน รวมทั้งโทษทางอาญาหากทำอะไรที่ไม่ถูกกฎหมาย ดังนั้น สถาบันควรที่จะชี้นำในสิ่งที่ถูกต้องซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ เพราะการลงโทษเป็นเรื่องปลายเหตุเมื่อเกิดปัญหาแล้ว
“ส่วนมาตรการของกระทรวงศึกษาธิการก็มีมาตรการอยู่ ถ้าสถานศึกษาใดไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และพิสูจน์แล้วว่าในที่สุดปัญหามันยืดเยื้อเรื้อรัง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาก็สามารถที่จะเสนอมาตรการใดๆ ขึ้นมาลงโทษสถานศึกษานั้นๆ โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือว่าดำเนินการในลักษณะที่อาจจะต้องให้หยุดการเรียนการสอนในภาควิชานั้นๆ หรือในสาขานั้นๆ หรือว่าอาจจะถึงขั้นปิดสถาบันการศึกษาก็สามารถทำได้ ก็มีขั้นตอนของมันอยู่ แต่ผมคิดว่าต้องใช้มาตรการทั้งสองด้านควบคู่กันไป”รมว.ศธ.กล่าว
ส่วนที่มองว่ากฎหมายในการเอาผิดเยาวชนยังเบาไปนั้น รมว.ศธ.กล่าวว่า ก็ต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายภาพรวมทั้งหมด แต่ต้นเหตุจะต้องร่วมหาทางป้องกันก่อน อย่างไรก็ตามปัญหาของอุเทนถวาย และช่างกลปทุมวัน ทาง สกอ.ก็ได้เข้าไปดูแลแล้ว เพราะเรื้อรังมานานจนอธิการบดีลาออก ซึ่งวันนี้จะมีการประชุมและรอฟังผลว่าออกมาอย่างไร
วันนี้ (28 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขปัญหาการยกพวกตีกันของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย กับช่างกลปทุมวัน ที่เรื้อรังมานานหลาย 10 ปีว่า วันนี้ (28 ม.ค.) ตนได้มอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)นัดสถาบันทั้ง 2 สถาบัน เจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ที่เกี่ยวข้องมาประชุมว่าจะหาทางแก้ปัญหาอย่างไร อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าไม่มีมาตรการใดเป็นสูตรสำเร็จว่ามีมาตรการอะไรออกมาแล้วปัญหาจะยุติไปครบถ้วน 100% เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
“ต้องใช้มาตรการทั้งสองอย่างควบคู่กันไป คือมาตรการในการป้องปรามและมาตรการที่จะลงโทษเด็ดขาดด้วยสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกระทำความผิด และก็คงต้องเริ่มต้นที่ตัวสถาบันด้วยแล้วก็ตัวอาจารย์ที่ต้องเข้ามาดำเนินการในการที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ถ้าสถาบันเอาจริงเข้าไปกวดขันดูแลจริงๆ และครูอาจารย์ต้องเข้าไปดำเนินการในลักษณะที่จะต้องชี้นำในทางที่ถูกต้องให้กับนักศึกษา ผมก็คิดว่าจะช่วยคลี่คลายไปในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเกิดมีการกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องขึ้นมาจริงๆ ก็ต้องมีการดำเนินจริงทั้งในทางวินัยและในทางกฎหมาย”รมว.ศึกษาฯ กล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวถึงการแก้ปัญหาอีกว่า ในส่วนของเยาวชนก็จะมีกระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวข้องเข้าไปร่วมดูแลด้วยแต่ในกระทรวงศึกษาคงเข้าไปดูในส่วนของสถาบันเป็นหลัก ที่มีมาตรการที่จะลงโทษหากมีการกระทำความผิดที่นอกเหนือจากกฎหมายบ้านเมืองที่ตำรวจมีหน้าที่อยู่แล้ว อาทิ สมมติมีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องถ้าหากว่าครูเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยหลักแล้วครูก็จะถูกลงโทษทางวินัยหรือว่าตามกฎหมาย ส่วนของนักเรียนก็ถูกลงโทษทางวินัย และกฎของสถาบัน รวมทั้งโทษทางอาญาหากทำอะไรที่ไม่ถูกกฎหมาย ดังนั้น สถาบันควรที่จะชี้นำในสิ่งที่ถูกต้องซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ เพราะการลงโทษเป็นเรื่องปลายเหตุเมื่อเกิดปัญหาแล้ว
“ส่วนมาตรการของกระทรวงศึกษาธิการก็มีมาตรการอยู่ ถ้าสถานศึกษาใดไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และพิสูจน์แล้วว่าในที่สุดปัญหามันยืดเยื้อเรื้อรัง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาก็สามารถที่จะเสนอมาตรการใดๆ ขึ้นมาลงโทษสถานศึกษานั้นๆ โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือว่าดำเนินการในลักษณะที่อาจจะต้องให้หยุดการเรียนการสอนในภาควิชานั้นๆ หรือในสาขานั้นๆ หรือว่าอาจจะถึงขั้นปิดสถาบันการศึกษาก็สามารถทำได้ ก็มีขั้นตอนของมันอยู่ แต่ผมคิดว่าต้องใช้มาตรการทั้งสองด้านควบคู่กันไป”รมว.ศธ.กล่าว
ส่วนที่มองว่ากฎหมายในการเอาผิดเยาวชนยังเบาไปนั้น รมว.ศธ.กล่าวว่า ก็ต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายภาพรวมทั้งหมด แต่ต้นเหตุจะต้องร่วมหาทางป้องกันก่อน อย่างไรก็ตามปัญหาของอุเทนถวาย และช่างกลปทุมวัน ทาง สกอ.ก็ได้เข้าไปดูแลแล้ว เพราะเรื้อรังมานานจนอธิการบดีลาออก ซึ่งวันนี้จะมีการประชุมและรอฟังผลว่าออกมาอย่างไร