เคยมีกลอนเกี่ยวกับ “คุณค่าของเวลา” เมื่ออ่านแล้วทำให้ต้องคิดตามที่ว่า “ถ้าอยากรู้ว่าเวลา 10 ปีมีค่าแค่ไหน ถามคู่แต่งงานที่หย่าร้างกัน ถ้าอยากรู้ว่าเวลา 4 ปีมีค่าแค่ไหน ถามนิสิตนักศึกษาที่เพิ่งรับปริญญา ถ้าอยากรู้ว่าเวลา 1 ปีมีค่าแค่ไหน ถามนักเรียนที่สอบไล่ตก ถ้าอยากรู้ว่าเวลา 9 เดือนมีค่าแค่ไหน ถามแม่ที่เพิ่งคลอดลูก ถ้าอยากรู้ว่า 1 เดือนมีค่ามากแค่ไหนให้ไปถามแม่ที่คลอดลูกไม่ครบกำหนด”
และถ้าย้อนถามเวลา 3 เดือนมีค่าขนาดไหนก็คงต้องไปถามนักศึกษาที่กำลังฝึกงาน
ใช่แล้ว... 3 เดือนเป็นช่วงที่มีค่ากับนักศึกษาฝึกงาน ช่วงนี้คือฤดูกาลแห่งการฝึกงานของเหล่านักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในหลากหลายสถาบันที่ต่างก็กำลังคร่ำเคร่งกับการฝึกงานในบริษัท องค์กร สถานประกอบการต่างๆ และพร้อมที่จะแสดงฝีมือจากประสบการณ์การเรียนในห้องมาใช้ในการฝึกงานครั้งนี้ เพราะนี่อาจจะเป็นใบเบิกทางให้พวกเขาและพวกเธอก้าวเข้าไปสู่การประกอบอาชีพจริง
แต่กระนั้นใช่ว่าชีวิตนักศึกษาฝึกงานจะโรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป เนื่องจากไหนจะยุ่งวุ่นวายเรื่องฝึกงาน ไหนจะเรื่องชีวิตส่วนตัว ไหนจะคิดว่าเมื่อฝึกงานจบจะไปสมัครงานที่ไหน ซ้ำร้ายขณะนี้ยังต้องเจอกับข่าว “โอ๋-เพชรคัมภรณ์” นักศึกษาฝึกงานที่เข้าแจ้งความตำรวจให้ดำเนินคดีกับ “ต้อย แอ็คเนอร์” ในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ
ซึ่งไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไร แต่ก็เชื่อว่าน่าจะทำให้บรรดานักศึกษาฝึกงานใจตุ๊มๆ ต่อมๆ อยู่ไม่น้อย
เริ่มจาก “ดาว” พรนัชชา สีระมัด นักศึกษาจากรั้ว ม.ราชภัฏจันทรเกษมที่ตอนนี้กำลังฝึกงานอยู่ที่หนังสือพิมพ์บ้านเมืองเล่าให้ฟังว่า มีกำหนดฝึกงานตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย.51 – 27 ก.พ.52 โดยเลือกที่จะฝึกโต๊ะกทม., สาธารณสุข, สิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นโต๊ะที่อยากฝึกและได้รับมอบหมายให้ไปประจำที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) แต่บางครั้งก็มีโอกาสออกไปทำข่าวเกี่ยวสาธารณสุข สิ่งแวดล้อมบ้าง
“พี่ๆ ที่โต๊ะรวมทั้งพี่เลี้ยงใจดีคอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือชี้แนะ แต่สิ่งที่คิดว่าเป็นอุปสรรคและเป็นปัญหาสำหรับตัวเองในการฝึกงานครั้งนี้คือ การคิดประเด็นข่าวการจับประเด็นและการเดินทางไกล”
สำหรับที่มีข่าวออกมาเกี่ยวกับมีผู้บริหารลวนลามนักศึกษาฝึกงาน “ดาว” แสดงความคิดเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะระดับผู้บริหารทำกับนักศึกษาฝึกงาน
“เราเป็นแค่นักศึกษาฝึกงาน เขาไม่ควรทำอย่างนี้ สำหรับการแก้ไขคิดว่าต้องขึ้นอยู่กับตัวเองและสถานการณ์ เวลาจะทำอะไรก็แล้วแต่ก็ควรมีความระมัดระวัง ควรรู้จักวางตัวและอย่าประมาท” พรนัชชาให้ความเห็น
ด้าน เดือน หงษาวดี นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ เอกเทคโนโลยีการศึกษา ม.ทักษิณ เล่าว่าว่า ตอนนี้ฝึกงานเป็นผู้ช่างภาพอยู่ที่นิตยสารReal Parenting ของบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งโดยสายการเรียนแล้วน่าจะประกอบอาชีพเป็นครู แต่ด้วยความชอบและเอกที่เรียนต้องศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายภาพ จึงได้มาฝึกเป็นช่างภาพ
“พี่ๆ แนะนำหลายอย่าง เช่น การทำงาน การถ่ายภาพ การวัดแสง การสร้างความเชื่อมั่นต่อแบบหรือสินค้าที่จะถ่าย รวมทั้งแนะนำการทำแฟ้มสะสมผลงานเพื่อนำไปสมัครงาน สำหรับอุปสรรคในการทำงานนั้นก็มีบ้างแต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการนัดแบบ แบบมาไม่ตรงเวลา หรือไม่ก็เรื่องสถานที่”
เมื่อถามว่าคิดยังไงกับข่าวที่เกิดขึ้น “เดือน”ก็บอกว่าในการมาฝึกงานนั้นส่วนตัวก็มีความระวัดระวังตัวเองอยู่แล้ว ส่วนข่าวที่ออกมานั้นคิดว่าไม่ยุติธรรมกับนักศึกษาโดยเฉพาะผู้กระทำเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงคนในสังคมรู้จัก
ขณะที่ “อรรถพล ซื่อตรงเกียรติ” หรือ “ตั้ม” นักศึกษา ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งตอนนี้ฝึกงานที่บริษัทอนิเมท กรุ๊ป จำกัด ให้ข้อมูลว่า งานที่ฝึกนั้นส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ บันเทิง คอมพิวเตอร์กราฟิกของหนังสือ เช่น การจัดหน้า ตกแต่งภาพ ทำโลโก้ประกอบลงหนังสือ พ็อกเกตบุ๊ค โดยใช้โปรแกรม Page Maker
“ส่วนข่าวนักศึกษาฝึกงานถูกลวนลาม คงต้องพิจารณาจากทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ดังนั้นต้องติดตามกันว่าแท้จริงแล้วฝ่ายใดกล่าวความจริงหรือความเท็จกันแน่ แต่สำหรับตัวนักศึกษาเองก็ควรระวังรู้จักป้องกันตัวเอง รักษาระยะห่างกับคนที่เราไม่ค่อยไว้ใจเค้า อย่าไว้ใจใครแม้เขาจะเป็นหัวหน้าของเรา” ตั้มให้แง่คิด
ส่วน “ภัทรวดี ภราดรบัญชา” หรือ “ปอแก้ว” นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ม.นเรศวร ที่เคยฝึกงานที่กองบรรณาธิการ โต๊ะการศึกษา-CSR หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ กล่าวว่า ฝึกงานจบแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งการฝึกงานกับการเรียนในห้องเรียนแตกต่างกันมาก เพราะตอนที่เรียนเราเรียนเพื่อเอาคะแนน ทำงานส่งอาจารย์ แต่เมื่อมาฝึกงานจริง ต้องทำจริงๆ แบบมืออาชีพ ทำเพื่อเพิ่มประสบการณ์และเก็บผลงานโดยมีพี่นักข่าวคอยดูแลให้คำแนะนำปรึกษา
สำหรับข่าวที่เกิดขึ้น นี้ก็ทำให้วิตกเหมือนกันว่าชีวิตทุกวันนี้ไม่ปลอดภัยต้องระวังตัวเองตลอดเวลา ที่สำคัญคือเมื่อเกิดเรื่องก็ควรปรึกษา แจ้งมหาวิทยาลัยหรือแจ้งตำรวจและย้ายที่ฝึกงานไปแผนกอื่นหรือย้ายบริษัทเลย
นอกจากนี้ “ปอแก้ว”ยังเล่าเกี่ยวกรณีที่เพื่อนของเพื่อนโดนผู้จัดการที่ไปฝึกงานด้วยคิดมิดีมิร้ายให้ฟังว่า “เพื่อนเล่าว่ามีเพื่อนของเขาคนหนึ่งไปฝึกงานเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน และเพื่อนคนนี้ก็หน้าตาดี อยู่ในเกณฑ์สวยก็ว่าได้ แต่เขาเป็นคนที่ไม่แต่งตัวโป๊ ออกจะเรียบร้อยด้วยซ้ำ เขาก็ฝึกงานไปตามปกติ ต่อมาผู้จัดการที่เขาไปฝึกงานด้วยหมายตาเพื่อที่จะคิดมิดีมิร้าย ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่คิดไปเองคือ ผู้จัดการให้เลขาฯบอกให้ย้ายมาทำงานหน้าห้อง แต่ต่อมาเราไม่รู้ว่านักศึกษาคนนั้นโดนอะไรหรือเปล่า”
เช่นเดียวกับ “จุ๊บแจง” ธัญญามาศ แซ่แต้ นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา นักศึกษาฝึกงานคลื่นวิทยุ FM100.5 อ.ส.ม.ท. กล่าวว่า จากการเรียนและการฝึกงานทำให้เห็นถึงความแตกต่าง คือ การเรียนในห้องทำให้ไม่กระจ่างในด้านความคิดและการทำงาน แต่เมื่อมาฝึกงานจากประสบการณ์จริง จากสถานที่จริงทำให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น
“จริงๆ เรียนมาทางด้านวารสารศาสตร์แต่มาฝึกงานด้านวิทยุทำให้เห็นถึงความแตกต่างด้านการทำข่าว เช่น ข่าวหนังสือพิมพ์จะมีรายละเอียดเยอะ ต้องมีเนื้อหาที่ละเอียด แต่ข่าววิทยุต้อง สั้น ง่ายๆ กระชับทั้งคำพูดและเนื้อหา” จุ๊บแจงเล่าพร้อมแสดงความคิดเห็นต่อข่าวนักศึกษาถูกล่วงละเมิดว่า วิธีที่ดีที่สุดคือต้องไม่พยายามสนิทสนม ไม่ไปไหนสองต่อสอง และถ้าตัวเองก็คงไปแจ้งความเพื่อให้เป็นคดีตัวอย่าง
และถ้าย้อนถามเวลา 3 เดือนมีค่าขนาดไหนก็คงต้องไปถามนักศึกษาที่กำลังฝึกงาน
ใช่แล้ว... 3 เดือนเป็นช่วงที่มีค่ากับนักศึกษาฝึกงาน ช่วงนี้คือฤดูกาลแห่งการฝึกงานของเหล่านักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในหลากหลายสถาบันที่ต่างก็กำลังคร่ำเคร่งกับการฝึกงานในบริษัท องค์กร สถานประกอบการต่างๆ และพร้อมที่จะแสดงฝีมือจากประสบการณ์การเรียนในห้องมาใช้ในการฝึกงานครั้งนี้ เพราะนี่อาจจะเป็นใบเบิกทางให้พวกเขาและพวกเธอก้าวเข้าไปสู่การประกอบอาชีพจริง
แต่กระนั้นใช่ว่าชีวิตนักศึกษาฝึกงานจะโรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป เนื่องจากไหนจะยุ่งวุ่นวายเรื่องฝึกงาน ไหนจะเรื่องชีวิตส่วนตัว ไหนจะคิดว่าเมื่อฝึกงานจบจะไปสมัครงานที่ไหน ซ้ำร้ายขณะนี้ยังต้องเจอกับข่าว “โอ๋-เพชรคัมภรณ์” นักศึกษาฝึกงานที่เข้าแจ้งความตำรวจให้ดำเนินคดีกับ “ต้อย แอ็คเนอร์” ในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ
ซึ่งไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไร แต่ก็เชื่อว่าน่าจะทำให้บรรดานักศึกษาฝึกงานใจตุ๊มๆ ต่อมๆ อยู่ไม่น้อย
เริ่มจาก “ดาว” พรนัชชา สีระมัด นักศึกษาจากรั้ว ม.ราชภัฏจันทรเกษมที่ตอนนี้กำลังฝึกงานอยู่ที่หนังสือพิมพ์บ้านเมืองเล่าให้ฟังว่า มีกำหนดฝึกงานตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย.51 – 27 ก.พ.52 โดยเลือกที่จะฝึกโต๊ะกทม., สาธารณสุข, สิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นโต๊ะที่อยากฝึกและได้รับมอบหมายให้ไปประจำที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) แต่บางครั้งก็มีโอกาสออกไปทำข่าวเกี่ยวสาธารณสุข สิ่งแวดล้อมบ้าง
“พี่ๆ ที่โต๊ะรวมทั้งพี่เลี้ยงใจดีคอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือชี้แนะ แต่สิ่งที่คิดว่าเป็นอุปสรรคและเป็นปัญหาสำหรับตัวเองในการฝึกงานครั้งนี้คือ การคิดประเด็นข่าวการจับประเด็นและการเดินทางไกล”
สำหรับที่มีข่าวออกมาเกี่ยวกับมีผู้บริหารลวนลามนักศึกษาฝึกงาน “ดาว” แสดงความคิดเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะระดับผู้บริหารทำกับนักศึกษาฝึกงาน
“เราเป็นแค่นักศึกษาฝึกงาน เขาไม่ควรทำอย่างนี้ สำหรับการแก้ไขคิดว่าต้องขึ้นอยู่กับตัวเองและสถานการณ์ เวลาจะทำอะไรก็แล้วแต่ก็ควรมีความระมัดระวัง ควรรู้จักวางตัวและอย่าประมาท” พรนัชชาให้ความเห็น
ด้าน เดือน หงษาวดี นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ เอกเทคโนโลยีการศึกษา ม.ทักษิณ เล่าว่าว่า ตอนนี้ฝึกงานเป็นผู้ช่างภาพอยู่ที่นิตยสารReal Parenting ของบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งโดยสายการเรียนแล้วน่าจะประกอบอาชีพเป็นครู แต่ด้วยความชอบและเอกที่เรียนต้องศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายภาพ จึงได้มาฝึกเป็นช่างภาพ
“พี่ๆ แนะนำหลายอย่าง เช่น การทำงาน การถ่ายภาพ การวัดแสง การสร้างความเชื่อมั่นต่อแบบหรือสินค้าที่จะถ่าย รวมทั้งแนะนำการทำแฟ้มสะสมผลงานเพื่อนำไปสมัครงาน สำหรับอุปสรรคในการทำงานนั้นก็มีบ้างแต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการนัดแบบ แบบมาไม่ตรงเวลา หรือไม่ก็เรื่องสถานที่”
เมื่อถามว่าคิดยังไงกับข่าวที่เกิดขึ้น “เดือน”ก็บอกว่าในการมาฝึกงานนั้นส่วนตัวก็มีความระวัดระวังตัวเองอยู่แล้ว ส่วนข่าวที่ออกมานั้นคิดว่าไม่ยุติธรรมกับนักศึกษาโดยเฉพาะผู้กระทำเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงคนในสังคมรู้จัก
ขณะที่ “อรรถพล ซื่อตรงเกียรติ” หรือ “ตั้ม” นักศึกษา ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งตอนนี้ฝึกงานที่บริษัทอนิเมท กรุ๊ป จำกัด ให้ข้อมูลว่า งานที่ฝึกนั้นส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ บันเทิง คอมพิวเตอร์กราฟิกของหนังสือ เช่น การจัดหน้า ตกแต่งภาพ ทำโลโก้ประกอบลงหนังสือ พ็อกเกตบุ๊ค โดยใช้โปรแกรม Page Maker
“ส่วนข่าวนักศึกษาฝึกงานถูกลวนลาม คงต้องพิจารณาจากทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ดังนั้นต้องติดตามกันว่าแท้จริงแล้วฝ่ายใดกล่าวความจริงหรือความเท็จกันแน่ แต่สำหรับตัวนักศึกษาเองก็ควรระวังรู้จักป้องกันตัวเอง รักษาระยะห่างกับคนที่เราไม่ค่อยไว้ใจเค้า อย่าไว้ใจใครแม้เขาจะเป็นหัวหน้าของเรา” ตั้มให้แง่คิด
ส่วน “ภัทรวดี ภราดรบัญชา” หรือ “ปอแก้ว” นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ม.นเรศวร ที่เคยฝึกงานที่กองบรรณาธิการ โต๊ะการศึกษา-CSR หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ กล่าวว่า ฝึกงานจบแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งการฝึกงานกับการเรียนในห้องเรียนแตกต่างกันมาก เพราะตอนที่เรียนเราเรียนเพื่อเอาคะแนน ทำงานส่งอาจารย์ แต่เมื่อมาฝึกงานจริง ต้องทำจริงๆ แบบมืออาชีพ ทำเพื่อเพิ่มประสบการณ์และเก็บผลงานโดยมีพี่นักข่าวคอยดูแลให้คำแนะนำปรึกษา
สำหรับข่าวที่เกิดขึ้น นี้ก็ทำให้วิตกเหมือนกันว่าชีวิตทุกวันนี้ไม่ปลอดภัยต้องระวังตัวเองตลอดเวลา ที่สำคัญคือเมื่อเกิดเรื่องก็ควรปรึกษา แจ้งมหาวิทยาลัยหรือแจ้งตำรวจและย้ายที่ฝึกงานไปแผนกอื่นหรือย้ายบริษัทเลย
นอกจากนี้ “ปอแก้ว”ยังเล่าเกี่ยวกรณีที่เพื่อนของเพื่อนโดนผู้จัดการที่ไปฝึกงานด้วยคิดมิดีมิร้ายให้ฟังว่า “เพื่อนเล่าว่ามีเพื่อนของเขาคนหนึ่งไปฝึกงานเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน และเพื่อนคนนี้ก็หน้าตาดี อยู่ในเกณฑ์สวยก็ว่าได้ แต่เขาเป็นคนที่ไม่แต่งตัวโป๊ ออกจะเรียบร้อยด้วยซ้ำ เขาก็ฝึกงานไปตามปกติ ต่อมาผู้จัดการที่เขาไปฝึกงานด้วยหมายตาเพื่อที่จะคิดมิดีมิร้าย ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่คิดไปเองคือ ผู้จัดการให้เลขาฯบอกให้ย้ายมาทำงานหน้าห้อง แต่ต่อมาเราไม่รู้ว่านักศึกษาคนนั้นโดนอะไรหรือเปล่า”
เช่นเดียวกับ “จุ๊บแจง” ธัญญามาศ แซ่แต้ นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา นักศึกษาฝึกงานคลื่นวิทยุ FM100.5 อ.ส.ม.ท. กล่าวว่า จากการเรียนและการฝึกงานทำให้เห็นถึงความแตกต่าง คือ การเรียนในห้องทำให้ไม่กระจ่างในด้านความคิดและการทำงาน แต่เมื่อมาฝึกงานจากประสบการณ์จริง จากสถานที่จริงทำให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น
“จริงๆ เรียนมาทางด้านวารสารศาสตร์แต่มาฝึกงานด้านวิทยุทำให้เห็นถึงความแตกต่างด้านการทำข่าว เช่น ข่าวหนังสือพิมพ์จะมีรายละเอียดเยอะ ต้องมีเนื้อหาที่ละเอียด แต่ข่าววิทยุต้อง สั้น ง่ายๆ กระชับทั้งคำพูดและเนื้อหา” จุ๊บแจงเล่าพร้อมแสดงความคิดเห็นต่อข่าวนักศึกษาถูกล่วงละเมิดว่า วิธีที่ดีที่สุดคือต้องไม่พยายามสนิทสนม ไม่ไปไหนสองต่อสอง และถ้าตัวเองก็คงไปแจ้งความเพื่อให้เป็นคดีตัวอย่าง