ศูนย์ภูมิอากาศแห่งชาติ รายงานอุณหภูมิปีนี้หนาวถึงใจ อุณหภูมิลดต่ำทำลายสถิติเดิมหลายจุด ส่วน กทม.ยังไม่ทุบสถิติเดิมที่ 9.9 องศาฯ โดยวัดได้ 14.7 องศาฯ ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา
ศูนย์ภูมิอากาศแห่งชาติ กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เดือนมกราคม 2552 ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้ปกคลุมบริเวณประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีกำลังแรงตั้งแต่วันที่ 9 มกราคมเป็นต้นมา ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนมีอากาศหนาว โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวจัด และมีรายงานน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อากาศหนาวระลอกนี้ทำให้อุณหภูมิของประเทศไทยในช่วงวันที่ 11-12 ลดลงจนทำลายสถิติเดิมของเดือนมกราคม
ทั้งนี้ อุณหภูมิต่ำสุดทำลายสถิติเดิม จากการตรวจวัดอุณหภูมิในเดือนมกราคมปี 2552 นี้ ที่สถานีอุตุนิยมวิทยา นครพนม (กลุ่มงานเกษตร) อุณหภูมิต่ำสุดอยุ่ที่ 4.2 องศาเซลเซียส ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 4.5 องศาฯ เมื่อปี 2536 ส่วนที่สถานีอุตุนิยมวิทยา สุพรรณบุรี (กลุ่มงานเกษตร) อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 8.5 องศาฯ ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 8.7 องศาฯ เมื่อปี 2519
สถานีอุตุนิยมวิทยา ปทุมธานี (กลุ่มงานเกษตร) อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 14.5 องศาฯ ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 15.6 องศาฯ เมื่อปี 2548 สถานีอุตุนิยมวิทยา สระแก้ว อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 11.4 องศาฯ ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 12.5 องศาฯ เมื่อปี 2548
สถานีอุตุนิยมวิทยา ฉะเชิงเทรา (กลุ่มงานเกษตร) อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 11.3 องศาฯ ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 11.5 องศาฯเมื่อปี 2538 สถานีอุตุนิยมวิทยา แหลมฉบัง อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 14.9 องศาฯ ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 15.9 องศาฯ เมื่อปี 2536 และ สถานีอุตุนิยมวิทยา กระบี่ อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 15.3 องศาฯ ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 17.9 องศาฯ เมื่อปี 2542
สำหรับชาวกรุงเทพมหานคร จะรู้สึกว่าช่วงนี้สัมผัสได้ถึงอากาศหนาวจริงๆ แต่ก็ยังไม่ได้ทำลายสถิติเดิม โดยอุณหภูมิต่ำที่สุดของกรุงเทพมหานครในช่วงนี้วัดได้ 14.7 องศาฯ ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 11 มกราคม ซึ่งสถิติอุณหภูมิต่ำที่สุดที่เคยตรวจวัดได้ คือ 9.9 องศาเซลเซียส ที่กรมอุตุนิยมวิทยาเดิม (สวนเบญจสิริ) เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2498
ส่วนพื้นที่ภาคเหนือ พบว่าอุณหภูมิ(ในระดับภาคพื้นดิน)ในปีนี้ วัดได้ต่ำสุดที่ 4.3 องศาฯ เมื่อเช้าวันนี้(14 ม.ค.) ที่สถานีอุ้มผาง จ.ตาก ทั้งนี้ สถิติอุณหภูมิต่ำสุดของไทยตามภาคที่เคยวัดได้ มีดังนี้
ภาคเหนือ อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 1 องศาฯ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2517 ที่สถานีน่าน(กลุ่มงานเกษตร)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ -1.4 องศาฯ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2517 ที่สถานีสกลนคร อ.เมือง
ภาคกลาง อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 5.4 องศาฯ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2517 ที่สถานีทางผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
ภาคตะวันออก อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 7.6 องศาฯ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2506 ที่สถานีอรัญประเทศ จ.สระแก้ว
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 8.3 องศาฯ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2519 ที่สถานีหนองพลับ(กลุ่มงานเกษตร) จ.ประจวบคีรีขันธ์
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้13.7 องศาฯ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2499 ที่สถานี อ.เมือง จ.ระนอง
ขณะที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ได้ออกประกาศเตือนภัยฉบับที่ 2 (2/2552)เรื่อง อากาศหนาวถึงหนาวจัดในภาคเหนือ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2552 ความว่า ด้วยมวลอากาศเย็นกำลังแรงมาก จะเสริมเข้าปกคลุมภาคเหนือตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม ทำให้ภาคเหนือมีอากาศหนาวและหนาวจัดโดยทั่วไป ตอนเช้า อุณหภูมิลดลงอีก 3-5 องศาเซลเซียส ระหว่างวันที่ 13-14 มกราคม โดยเฉพาะด้านตะวันออกและตอนบนภาค
สำหรับบริเวณเทือกเขา และยอดดอย มีอากาศหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งหลายพื้นที่ และเมื่อมวลอากาศเย็นนี้มีกำลังอ่อนลงในวันที่ 15 มกราคม จะทำให้อากาศอุ่นขึ้นทั่วไป กับมีหมอกหนาหลายพื้นที่ในตอนเช้า ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2552
ภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะดังกล่าว คืออากาศหนาวถึงหนาวจัดในภาคเหนือ และมีน้ำค้างแข็งหลายพื้นที่บนเทือกเขา ยอดดอย ทำให้ผลผลิตทางเกษตรกรรมโดยเฉพาะบนที่สูงเสียหายได้ สำหรับหมอกหนาเป็นอุปสรรคในการคมนาคมในตอนเช้า ส่วนพื้นที่ที่มีฝนสะสมน้อยและอยู่นอกเขตชลประทาน ควรใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
จึงขอให้ประชาชนในภาคเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติดังกล่าว เพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย และสัตว์เลี้ยง เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ตลอดจนวางแผนป้องกัน และระวังภัยธรรมชาติที่อาจเกิดได้ช่วงระยะเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
ศูนย์ภูมิอากาศแห่งชาติ กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เดือนมกราคม 2552 ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้ปกคลุมบริเวณประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีกำลังแรงตั้งแต่วันที่ 9 มกราคมเป็นต้นมา ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนมีอากาศหนาว โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวจัด และมีรายงานน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อากาศหนาวระลอกนี้ทำให้อุณหภูมิของประเทศไทยในช่วงวันที่ 11-12 ลดลงจนทำลายสถิติเดิมของเดือนมกราคม
ทั้งนี้ อุณหภูมิต่ำสุดทำลายสถิติเดิม จากการตรวจวัดอุณหภูมิในเดือนมกราคมปี 2552 นี้ ที่สถานีอุตุนิยมวิทยา นครพนม (กลุ่มงานเกษตร) อุณหภูมิต่ำสุดอยุ่ที่ 4.2 องศาเซลเซียส ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 4.5 องศาฯ เมื่อปี 2536 ส่วนที่สถานีอุตุนิยมวิทยา สุพรรณบุรี (กลุ่มงานเกษตร) อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 8.5 องศาฯ ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 8.7 องศาฯ เมื่อปี 2519
สถานีอุตุนิยมวิทยา ปทุมธานี (กลุ่มงานเกษตร) อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 14.5 องศาฯ ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 15.6 องศาฯ เมื่อปี 2548 สถานีอุตุนิยมวิทยา สระแก้ว อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 11.4 องศาฯ ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 12.5 องศาฯ เมื่อปี 2548
สถานีอุตุนิยมวิทยา ฉะเชิงเทรา (กลุ่มงานเกษตร) อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 11.3 องศาฯ ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 11.5 องศาฯเมื่อปี 2538 สถานีอุตุนิยมวิทยา แหลมฉบัง อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 14.9 องศาฯ ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 15.9 องศาฯ เมื่อปี 2536 และ สถานีอุตุนิยมวิทยา กระบี่ อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 15.3 องศาฯ ซึ่งต่ำกว่าสถิติอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 17.9 องศาฯ เมื่อปี 2542
สำหรับชาวกรุงเทพมหานคร จะรู้สึกว่าช่วงนี้สัมผัสได้ถึงอากาศหนาวจริงๆ แต่ก็ยังไม่ได้ทำลายสถิติเดิม โดยอุณหภูมิต่ำที่สุดของกรุงเทพมหานครในช่วงนี้วัดได้ 14.7 องศาฯ ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 11 มกราคม ซึ่งสถิติอุณหภูมิต่ำที่สุดที่เคยตรวจวัดได้ คือ 9.9 องศาเซลเซียส ที่กรมอุตุนิยมวิทยาเดิม (สวนเบญจสิริ) เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2498
ส่วนพื้นที่ภาคเหนือ พบว่าอุณหภูมิ(ในระดับภาคพื้นดิน)ในปีนี้ วัดได้ต่ำสุดที่ 4.3 องศาฯ เมื่อเช้าวันนี้(14 ม.ค.) ที่สถานีอุ้มผาง จ.ตาก ทั้งนี้ สถิติอุณหภูมิต่ำสุดของไทยตามภาคที่เคยวัดได้ มีดังนี้
ภาคเหนือ อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 1 องศาฯ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2517 ที่สถานีน่าน(กลุ่มงานเกษตร)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ -1.4 องศาฯ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2517 ที่สถานีสกลนคร อ.เมือง
ภาคกลาง อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 5.4 องศาฯ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2517 ที่สถานีทางผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
ภาคตะวันออก อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 7.6 องศาฯ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2506 ที่สถานีอรัญประเทศ จ.สระแก้ว
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 8.3 องศาฯ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2519 ที่สถานีหนองพลับ(กลุ่มงานเกษตร) จ.ประจวบคีรีขันธ์
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้13.7 องศาฯ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2499 ที่สถานี อ.เมือง จ.ระนอง
ขณะที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ได้ออกประกาศเตือนภัยฉบับที่ 2 (2/2552)เรื่อง อากาศหนาวถึงหนาวจัดในภาคเหนือ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2552 ความว่า ด้วยมวลอากาศเย็นกำลังแรงมาก จะเสริมเข้าปกคลุมภาคเหนือตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม ทำให้ภาคเหนือมีอากาศหนาวและหนาวจัดโดยทั่วไป ตอนเช้า อุณหภูมิลดลงอีก 3-5 องศาเซลเซียส ระหว่างวันที่ 13-14 มกราคม โดยเฉพาะด้านตะวันออกและตอนบนภาค
สำหรับบริเวณเทือกเขา และยอดดอย มีอากาศหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งหลายพื้นที่ และเมื่อมวลอากาศเย็นนี้มีกำลังอ่อนลงในวันที่ 15 มกราคม จะทำให้อากาศอุ่นขึ้นทั่วไป กับมีหมอกหนาหลายพื้นที่ในตอนเช้า ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2552
ภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะดังกล่าว คืออากาศหนาวถึงหนาวจัดในภาคเหนือ และมีน้ำค้างแข็งหลายพื้นที่บนเทือกเขา ยอดดอย ทำให้ผลผลิตทางเกษตรกรรมโดยเฉพาะบนที่สูงเสียหายได้ สำหรับหมอกหนาเป็นอุปสรรคในการคมนาคมในตอนเช้า ส่วนพื้นที่ที่มีฝนสะสมน้อยและอยู่นอกเขตชลประทาน ควรใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
จึงขอให้ประชาชนในภาคเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติดังกล่าว เพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย และสัตว์เลี้ยง เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ตลอดจนวางแผนป้องกัน และระวังภัยธรรมชาติที่อาจเกิดได้ช่วงระยะเวลาดังกล่าวไว้ด้วย