“แซม” ชูปรับปรุงโรงขยะ กทม.เป็นระบบปิด หวังลดกลิ่น-กระจายเชื้อโรค ใหม่ รณรงค์สร้างจิตสำนึกประชาชนแยกขยะเป็นนิสัย
วันนี้ (22 ธ.ค.) นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) หมายเลข 10 พรรคเพื่อไทย (พท.) ลงพื้นที่หาเสียงที่โรงเก็บขยะของ กทม.แขวงท่าแร้ง เขตสายไหม และโรงงานรับซื้อขยะรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์ บริเวณถนนรามอินทรา กม.2 พร้อมแถลงนโยบายขยะรีไซเคิล ว่า ปัจจุบัน กทม.มีปริมาณขยะสูงถึง 10,000 ตันต่อวัน แบ่งเป็นขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ร้อยละ 30 และร้อยละ 70 เป็นขยะที่ต้องทิ้ง แต่ที่ผ่านมา ขยะทั้งหมดถูกทิ้งไว้ในโรงขยะโดยปราศจากการแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ อีกทั้งโรงขยะดังกล่าวยังเป็นระบบเปิด ซึ่งส่งกลิ่นเหม็นรบกวนไปทั่วบริเวณ
ดังนั้น ตนจึงมีนโยบายในการจัดการขยะอย่างครบวงจร คือ จัดทำโรงขยะเป็นระบบปิดทั้งหมด โดยขยะที่นำไปทิ้งจะต้องถูกจัดเก็บอย่างมิดชิด ปราศจากอากาศเข้าออก พร้อมทั้งจะย่อยสลายด้วยสารอีเอ็ม ซึ่งเป็นน้ำยาชีวภาพในการกำจัดกลิ่น และยังสามารถย่อยสลายขยะให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ และก๊าซหุงต้ม
นายยุรนันท์ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นจะนำร่องปรับปรุงโรงขยะของ กทม.ทั้ง 3 แห่ง คือ บริเวณท่าแร้ง อ่อนนุช และ หนองแขม ให้เป็นระบบปิดทั้งหมด ซึ่งจะช่วยลดปัญหากลิ่นเหม็นจากโรงขยะ และยังลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อโรคในชั้นบรรยากาศด้วย นอกจากนี้ จะรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนแยกขยะเป็นประเภทต่าง ๆ เปียก-แห้ง ขยะมีพิษ โดย กทม.จะจัดถุงแยกขยะให้ตามบ้าน พร้อมทั้งจะให้ความรู้ประชาชน ว่า ขยะมีมูลค่านำมาขายได้ โดย กทม.จะร่วมกับเอกชนจัดรถรับซื้อขยะรีไซเคิลถึงบ้าน ซึ่งจะแจ้งราคาขยะชนิดต่างๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แยกขยะ ส่วนขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลก็จะมีการเพิ่มรถเก็บขยะให้เพียงพอ จากเดิมมีเพียง 2,400 คัน ซึ่งยังไม่เพียงพอกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน
วันนี้ (22 ธ.ค.) นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) หมายเลข 10 พรรคเพื่อไทย (พท.) ลงพื้นที่หาเสียงที่โรงเก็บขยะของ กทม.แขวงท่าแร้ง เขตสายไหม และโรงงานรับซื้อขยะรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์ บริเวณถนนรามอินทรา กม.2 พร้อมแถลงนโยบายขยะรีไซเคิล ว่า ปัจจุบัน กทม.มีปริมาณขยะสูงถึง 10,000 ตันต่อวัน แบ่งเป็นขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ร้อยละ 30 และร้อยละ 70 เป็นขยะที่ต้องทิ้ง แต่ที่ผ่านมา ขยะทั้งหมดถูกทิ้งไว้ในโรงขยะโดยปราศจากการแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ อีกทั้งโรงขยะดังกล่าวยังเป็นระบบเปิด ซึ่งส่งกลิ่นเหม็นรบกวนไปทั่วบริเวณ
ดังนั้น ตนจึงมีนโยบายในการจัดการขยะอย่างครบวงจร คือ จัดทำโรงขยะเป็นระบบปิดทั้งหมด โดยขยะที่นำไปทิ้งจะต้องถูกจัดเก็บอย่างมิดชิด ปราศจากอากาศเข้าออก พร้อมทั้งจะย่อยสลายด้วยสารอีเอ็ม ซึ่งเป็นน้ำยาชีวภาพในการกำจัดกลิ่น และยังสามารถย่อยสลายขยะให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ และก๊าซหุงต้ม
นายยุรนันท์ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นจะนำร่องปรับปรุงโรงขยะของ กทม.ทั้ง 3 แห่ง คือ บริเวณท่าแร้ง อ่อนนุช และ หนองแขม ให้เป็นระบบปิดทั้งหมด ซึ่งจะช่วยลดปัญหากลิ่นเหม็นจากโรงขยะ และยังลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อโรคในชั้นบรรยากาศด้วย นอกจากนี้ จะรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนแยกขยะเป็นประเภทต่าง ๆ เปียก-แห้ง ขยะมีพิษ โดย กทม.จะจัดถุงแยกขยะให้ตามบ้าน พร้อมทั้งจะให้ความรู้ประชาชน ว่า ขยะมีมูลค่านำมาขายได้ โดย กทม.จะร่วมกับเอกชนจัดรถรับซื้อขยะรีไซเคิลถึงบ้าน ซึ่งจะแจ้งราคาขยะชนิดต่างๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แยกขยะ ส่วนขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลก็จะมีการเพิ่มรถเก็บขยะให้เพียงพอ จากเดิมมีเพียง 2,400 คัน ซึ่งยังไม่เพียงพอกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน