สธ.สั่งจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการผู้โดยสาร-เจ้าหน้าที่สนามบิน ที่เจ็บป่วย ทั้งที่จุดบริการตรวจเช็กผู้โดยสาร ไบเทค บางนา และสนามบินอู่ตะเภา พร้อมจัดรถสุขาเคลื่อนที่ที่สนามบินอู่ตะเภาเพิ่ม เพื่อให้เพียงพอกับผู้โดยสารที่มีวันละกว่า 5,000 คน พร้อมส่งหนังสือแจ้งโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ดูแลรักษาพยาบาลนักท่องเที่ยว นักธุรกิจต่างชาติ ที่ติดค้างในประเทศไทย หากเกิดการเจ็บป่วยรักษาเต็มที่ฟรี! เผย ขณะนี้มีป่วยเกือบ 300 ราย เป็นโรคหอบหืดส่งเข้ารับรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลกรุงเทพ-พัทยา 1 ราย
วันนี้ (1 ธ.ค.) นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เปิดจุดบริการตรวจเช็กผู้โดยสารที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการไบเทค บางนา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารที่จะเดินทางออกนอกประเทศนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร รวมทั้งเจ้าหน้าที่สนามบิน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการ โดยมีทีมแพทย์ พยาบาล จากโรงพยาบาลนพรัตน์ โรงพยาบาลราชวิถี และ โรงพยาบาลเลิดสิน มาให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ฟรี
สำหรับที่สนามบินอู่ตะเภา จังหวัดชลบุรี ซึ่งการท่าอากาศยานได้ใช้เป็นสนามบินชั่วคราวนั้น สธ.ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ จากสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี กับเมืองพัทยา ให้บริการบริเวณสนามบิน 2 จุดเช่นกัน ทั้งนี้ ที่สนามบินอู่ตะเภามีนักท่องเที่ยวต่างชาติรอขึ้นเครื่องบินเพื่อกลับประเทศ มากถึงวันละกว่า 5,000 คน ทำให้ห้องน้ำ-ห้องส้วมไม่เพียงพอ ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรีประสานกับเมืองพัทยา จัดรถสุขาเคลื่อนที่มาให้บริการ 4-5 คัน ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้น ได้จัดระบบการกำจัดขยะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรค และเพิ่มถังขยะ 20 จุดด้วย
วันเดียวกัน นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ และ นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ตรวจเยี่ยมหน่วยแพทย์ที่ให้บริการนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่ สนามบินอู่ตะเภา จังหวัดชลบุรี เนื่องจากมีผู้มารับบริการอย่างคับคั่ง
นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ขอความร่วมมือดูแลนักท่องเที่ยว นักธุรกิจต่างชาติ ที่ติดค้างในประเทศไทย กรณีที่เกิดการเจ็บป่วย ในระหว่างที่สนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ ยังไม่เปิดบริการ จนกว่าจะเดินทางกลับประเทศ โดยให้โรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลเอกชน ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก อย่างดีที่สุด ซึ่งค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้รับผิดชอบ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม 2551 มีผู้เข้ารับบริการที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในสนามบินอู่ตะเภา 282 ราย ส่งตัวไปรักษาต่อ 1 ราย ด้วยโรคหอบหืด ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ-พัทยา แยกเป็นผู้โดยสารรอขึ้นเครื่อง 243 ราย ที่เหลือเป็นเจ้าหน้าที่สนามบิน 39 ราย โดยผู้มารับบริการเป็นชาย 174 ราย หญิง 108 ราย เป็นชาวไทย 100 ราย ชาวต่างชาติ 182 ราย โดยเป็นชาติเกาหลีมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 26-50 ปี จำนวน 167 ราย อายุ 50 ปีขึ้นไปจำนวน 71 ราย โรคที่ป่วยอันดับ 1 คือ ปวดศีรษะ อาเจียน เป็นลม 137 ราย รองลงมา ไข้หวัด 65 ราย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 29 ราย ผิวหนังอักเสบ 6 ราย อาหารเป็นพิษ 4 ราย ที่เหลือเจ็บป่วยอื่นๆ โดยหน่วยแพทย์ทั้ง 2 แห่งจะให้บริการจนกว่าผู้โดยสารจะเดินทางกลับประเทศหมด
วันนี้ (1 ธ.ค.) นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เปิดจุดบริการตรวจเช็กผู้โดยสารที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการไบเทค บางนา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารที่จะเดินทางออกนอกประเทศนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร รวมทั้งเจ้าหน้าที่สนามบิน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการ โดยมีทีมแพทย์ พยาบาล จากโรงพยาบาลนพรัตน์ โรงพยาบาลราชวิถี และ โรงพยาบาลเลิดสิน มาให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ฟรี
สำหรับที่สนามบินอู่ตะเภา จังหวัดชลบุรี ซึ่งการท่าอากาศยานได้ใช้เป็นสนามบินชั่วคราวนั้น สธ.ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ จากสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี กับเมืองพัทยา ให้บริการบริเวณสนามบิน 2 จุดเช่นกัน ทั้งนี้ ที่สนามบินอู่ตะเภามีนักท่องเที่ยวต่างชาติรอขึ้นเครื่องบินเพื่อกลับประเทศ มากถึงวันละกว่า 5,000 คน ทำให้ห้องน้ำ-ห้องส้วมไม่เพียงพอ ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรีประสานกับเมืองพัทยา จัดรถสุขาเคลื่อนที่มาให้บริการ 4-5 คัน ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้น ได้จัดระบบการกำจัดขยะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรค และเพิ่มถังขยะ 20 จุดด้วย
วันเดียวกัน นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ และ นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ตรวจเยี่ยมหน่วยแพทย์ที่ให้บริการนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่ สนามบินอู่ตะเภา จังหวัดชลบุรี เนื่องจากมีผู้มารับบริการอย่างคับคั่ง
นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ขอความร่วมมือดูแลนักท่องเที่ยว นักธุรกิจต่างชาติ ที่ติดค้างในประเทศไทย กรณีที่เกิดการเจ็บป่วย ในระหว่างที่สนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ ยังไม่เปิดบริการ จนกว่าจะเดินทางกลับประเทศ โดยให้โรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลเอกชน ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก อย่างดีที่สุด ซึ่งค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้รับผิดชอบ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม 2551 มีผู้เข้ารับบริการที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในสนามบินอู่ตะเภา 282 ราย ส่งตัวไปรักษาต่อ 1 ราย ด้วยโรคหอบหืด ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ-พัทยา แยกเป็นผู้โดยสารรอขึ้นเครื่อง 243 ราย ที่เหลือเป็นเจ้าหน้าที่สนามบิน 39 ราย โดยผู้มารับบริการเป็นชาย 174 ราย หญิง 108 ราย เป็นชาวไทย 100 ราย ชาวต่างชาติ 182 ราย โดยเป็นชาติเกาหลีมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 26-50 ปี จำนวน 167 ราย อายุ 50 ปีขึ้นไปจำนวน 71 ราย โรคที่ป่วยอันดับ 1 คือ ปวดศีรษะ อาเจียน เป็นลม 137 ราย รองลงมา ไข้หวัด 65 ราย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 29 ราย ผิวหนังอักเสบ 6 ราย อาหารเป็นพิษ 4 ราย ที่เหลือเจ็บป่วยอื่นๆ โดยหน่วยแพทย์ทั้ง 2 แห่งจะให้บริการจนกว่าผู้โดยสารจะเดินทางกลับประเทศหมด