xs
xsm
sm
md
lg

แพทย์เตือนไทยเสี่ยง 10 โรคอุบัติใหม่ระบาดซ้ำ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


แพทย์หวั่น 10 โรคอุบัติใหม่จ่อระบาดในไทย หลังพบเชื้อไข้หวัดนก ที่สุโขทัย อุทัยธานี แนะรัฐปรับระบบเฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อจากคนและสัตว์เพื่อรับมือการระบาดใหญ่ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ปี 2551 แล้วกว่า 9,557 ราย

หลังกรมปศุสัตว์ ออกมายืนยันผลตรวจสอบพบเชื้อไข้หวัดนกในไก่ในรอบปี 2551 ที่ สุโขทัย อุทัยธานี ทำให้ปัญหาการระบาดของเชื้อไข้หวัดนก กลับมาเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ พร้อมกับหวาดหวั่นว่าการบาดของเชื่อไข้หวัดนกในครั้งนี้จะรุนแรงเท่ากับปี 2547 หรือไม่

พ.อ.ผศ.นพ.ราม รังสินธุ ์ นักวิจัยโครงการระบบเฝ้าระวังโรค วิทยาลัยแพทยศาสตร์ รพ.พระมงกุฏเกล้า สนับสนนุโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงสถานการณ์ความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาดอุบัติใหม่ในประเทศไทยหลังพบเชื้อไข้หวัดนกที่ สุโขทัยและ อุทัยธานี ว่า ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ ที่จะพบเชื้อไข้หวัดนกที่ จ.สุโขทัย และอุทัยธานี เพราะพื้นที่ดังกล่าวยังมีการเลี้ยงสัตว์ปีกจำนวนมาก และโรคไข้หวัดนกกลายเป็นเชื้อประจำถิ่น แต่ ที่จะต้องชื่นชม คือ ระบบเฝ้าระวังโรคของไทยที่สามารถตรวจสอบและหยุดการระบาดในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคอุบัติใหม่อีกจำนวนมาก

ความเสี่ยงการเกิดโรคโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในประเทศไทย พบว่า โรคติด เชื้ออุบัติใหม่มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นปัญหาสำคัญในอนาคตเนื่องจาก หลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้หวัดนก ซึ่งเคยระบาดในประเทศไทย หรือแม้ว่าบางโรคไม่เคยมีผู้ป่วยแต่ก็จำเป็นจะต้องติดตามสถานการณ์การเกิดโรคอย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการระบาดที่จะอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

พ.อ.ผศ.นพ.ราม กล่าวว่า หากประเมินความเสี่ยงการเกิด โรคอุบัติใหม่ ตามความหมาย ขององค์การอนามัยโลก พบว่า ประเทศไทยมี โรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่พบการระบาดที่รุนแรง เช่น เชื้อไข้หวัดนก โรคมือเท้าปาก นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาสำคัญของประเทศในอนาคต แม้จะยังไม่มีผู้ป่วยในประเทศไทย แต่จำเป็นจะต้องเฝ้าระวัง อย่างใกล้ชิด 10 โรค ซึ่งถือว่าไทยมีความเสี่ยงต่อการระบาดคือ 1. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน หรือโรคซาร์ส, โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดใหญ่, โรค Japanese B encephalitis, โรค Nipah Virus, โรค Hanta Virus, โรค West Nile Virus, โรคไข้กาฬหลังแอ่น, โรคมือเท้า ปาก, โรค Brucellosis, โรค Leishmania


ทั้งนี้ หากประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมีความพร้อมที่จะรับมือการระบาดซ้ำของโรคระบาดใหญ่หรือไม่ เพราะหากประเมินสถานการณ์ของการระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติไม่เพียงแค่โรคไข้หวัดนกเท่านั้นที่ทั่วโลกเฝ้าระวังเป็นพิเศษ หากรวมไปถึงโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ที่อาจจะระบาดใหม่ และรุนแรงมากขึ้น

“นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า อนาคตอาจจะเกิดโรคอุบัติใหม่ระบาดขึ้นมาได้อีก โดยส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน ซึ่งโรคติดเชื้ออุบัติใหม่มีธรรมชาติที่ซับซ้อนยากต่อการจัดการ เป็นภัยที่บั่นทอนทั้งชีวิตและสุขภาพของประชาชน ทำให้มี ความจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรค” พ.อ.ผศ.นพ.ราม กล่าว

พ.อ.ผศ.นพ.ราม กล่าวอีกว่า ไม่เพียง10 โรคเท่านั้นที่ประเทศไทยจำเป็นจะต้อง เตรียมความพร้อมเพื่อเฝ้าระวัง โรค เพื่อไม่ให้ระดับการระบาดของโรคแต่ยังรวมไปถึงโรคอุบัติซ้ำที่เรายังไม่เคยรู้จักมาก่อนหรือ Unknown agent ซึ่งในภาวะอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป โอกาสที่จะเกิดโรคอุบัติใหม่ที่เราไม่เคยรู้จักมีมาก ดังนั้นระบบเฝ้าระวังโรคของไทยต้องมีความพร้อมในการควบคุมโรคให้ได้ อย่างรวดเร็วและมีการประสานงานที่ดีเพียงพอ

“ระบบควบคุมโรคในปัจจุบันต้องบอกว่าเป็นระบบที่ดีมากเพราะสามารถควบคุมโรคไม่ให้ระบาดในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว แต่อาจจะยังมีจุดอ่อนที่จะต้องเสริมให้เข้มแข็งมากขึ้นเพราะหากเกิดการระบาดใหญ่ระบบที่ดีอยู่แล้วแต่ยังไม่สามารถประสานเป็นเนื้อเดียวกัน อาจจะไม่สามารถรองรับการระบาดใหญ่ได้ โดยเฉพาะการระบาดของไข้หวัดใหญ่”

จากการเฝ้าระวังสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ ของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กระทรวงสาธารณสุขในปี 2550 มีรายงานผู้ป่วย 18,368 ราย เสียชีวิต 15 ราย ในปี 2551 นี้ ตั้งแต่มกราคม-สิงหาคม ได้รับรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 9,557 ราย เสียชีวิต 2 ราย ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบในภาคกลางมากที่สุด รองลงมาคือภาคอีสาน ภาคใต้และภาคเหนือ โดยมีรายงานมากที่สุดในเดือนมิถุนายน จำนวน 2,081 ราย แต่คาดว่าจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับโรคไข้หวัดใหญ่ในสถานการณ์ที่แท้จริง มีมากกว่าจำนวนที่รายงานหลายเท่าตัว

พ.อ.ผศ.นพ.ราม กล่าวว่า การดำเนินการเฝ้าระวังโรคที่ผ่านมา ยังไม่ครอบคลุมถึงโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ทุกโรคทั้งที่เกิดในคน และโรคที่เกิดในสัตว์ และโรคติดต่อจากสัตว์มาสู่คน ทำให้ระบบเฝ้าระวังและป้องกันโรคในภาพรวม มีอุปสรรคในการดำเนินการที่จะควบคุมโรคให้มีความสมบูรณ์มากที่สุดดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องเร่งปรับปรุง
กำลังโหลดความคิดเห็น