อภ.เตรียมส่งยาต้านไวรัสหวัดนก 1 ล้านเม็ด แจกผู้ป่วย เจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยง พร้อมสั่งสำรองยาต้านไวรัสไข้หวัดนก 1.7 แสนเม็ด และวัตถุดิบพร้อมผลิตอีก 1 ล้านเม็ด เผยโรงงานผลิตยาวัคซีนต้าน ที่ จ.สระบุรี คืบหน้า คาดใช้เวลาสร้าง 4 ปี กำลังผลิตอาจขยายได้ถึง 10 ล้านโด๊สต่อปี
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า อภ.ได้เตรียมความพร้อมรองรับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก โดยได้เตรียมยาต้านไวรัสไข้หวัดนก (Oseltamivir) หรือ จีพีโอเอฟลู จำนวน 1 ล้านเม็ด เพื่อจัดส่งให้กรมควบคุมโรค นำไปใช้ในผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้ ยังได้สำรองยาต้านไวรัสไข้หวัดนก อีกจำนวน 1.7 แสนเม็ด และสำรองวัตถุดิบเพื่อผลิตยาต้านไวรัสไข้หวัดนก อีก 1 ล้านเม็ด ซึ่งหากมีความจำเป็นต้องใช้ยาอย่างเร่งด่วนจะสามารถผลิตยาได้ภายใน 24 ชั่วโมง
นพ.วิทิต กล่าวว่า สำหรับโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก ระดับอุตสาหกรรม ที่ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ที่ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี นั้น ขณะนี้การก่อสร้างมีความคืบหน้าไปมาก โดยอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ระยะที่ 2 คือ การจัดทำเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) การก่อสร้างอาคารผลิตวัคซีน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จ และสามารถเปิดประกาศประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) ได้ภายในเดือนมกราคม 2552 จากนั้นใช้เวลาก่อสร้างนาน 2 ปี จึงจะแล้วเสร็จ ซึ่งโรงงานผลิตวัคซีนจะมีกำลังการผลิตได้ 2 ล้านโด๊สต่อปี และสามารถขยายได้ถึง 10 ล้านโด๊สต่อปี หากมีการระบาดใหญ่เกิดขึ้น
วันนี้ (13 พ.ย.) ที่โรงแรมอมรินทร์ ลากูน จังหวัดพิษณุโลก นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะ “มิสเตอร์ไข้หวัดนก” เปิดประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด เจ้าหน้าที่ห้องชันสูตรโรค เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ประจำหมู่บ้าน ใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างได้แก่ พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร และพิจิตร จำนวน 380 คน เพื่อเร่งรัดมาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนก
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง เป็นพื้นที่ควบคุมเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน หลังจากที่มีรายงานสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนกที่ อ.ทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศเริ่มหนาวเย็น ทำให้เชื้อไวรัสที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเจริญเติบโต มีชีวิตยืนยาวขึ้น และพื้นที่ดังกล่าวเคยมีสัตว์ปีกและคนติดเชื้อไข้หวัดนกมาก่อน จึงต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดทั้งระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรค ร่วมกับปศุสัตว์จังหวัด และระบบการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อ และได้มอบให้โรงพยาบาลทุกแห่งจัดช่องทางด่วนตรวจคัดกรองผู้ที่มีอาการไข้ ไอ และมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกหรืออยู่ในพื้นที่ที่มีสัตว์ปีกป่วยตาย แยกรักษาผู้ป่วยสงสัยในห้องแยกปลอดเชื้อ และให้ยาต้านไวรัส พร้อมตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ขณะนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 13 แห่งทั่วประเทศ สามารถรายงานผลการตรวจวิเคราะห์เชื้อภายใน 24 ชั่วโมง
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับการเฝ้าระวังในระดับหมู่บ้านนั้น ได้สั่งการให้ อสม.เฝ้าระวังโรคในพื้นที่ทั้งในคนและสัตว์ปีก รับผิดชอบคนละ 5-10 หลังคาเรือน และให้ความรู้แก่ชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการเดินทางไปติดตามระบบควบคุมป้องกันโรคที่หมู่บ้าน ที่ อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย จุดที่พบสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนก พบว่า มีระบบการป้องกันควบคุมโรคที่เข้มแข็งทั้งด้านปศุสัตว์และสาธารณสุขได้ผลดีมากขณะนี้ยังไม่พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก
ด้านนายแพทย์หม่อมหลวง สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ไข้หวัดนกในคนของ ไทยไม่พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกติดต่อกันเป็นเวลากว่า 2 ปี โดยพบครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ.2547 ถึง พ.ศ.2549 มีผู้ป่วยรวม 27 ราย เสียชีวิต 17 ราย หลังจากนั้น ไม่พบผู้ติดเชื้ออีกเลย ทั้งนี้ เนื่องจากมีมาตรการป้องกันควบคุมที่เข้มแข็งทั้งในสัตว์และคน โดยได้ใช้ 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ 1.การจัดการระบบการผลิตและเลี้ยงสัตว์ปีก 2.การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคทั้งในสัตว์และคน 3.ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ประชาชน ภาคธุรกิจและนานาประเทศ 4.การเตรียมความพร้อมรับมือการระบาดใหญ่ซึ่งอาจเกิดจากไข้หวัดนกกลายพันธุ์ โดยเน้นการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า อภ.ได้เตรียมความพร้อมรองรับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก โดยได้เตรียมยาต้านไวรัสไข้หวัดนก (Oseltamivir) หรือ จีพีโอเอฟลู จำนวน 1 ล้านเม็ด เพื่อจัดส่งให้กรมควบคุมโรค นำไปใช้ในผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้ ยังได้สำรองยาต้านไวรัสไข้หวัดนก อีกจำนวน 1.7 แสนเม็ด และสำรองวัตถุดิบเพื่อผลิตยาต้านไวรัสไข้หวัดนก อีก 1 ล้านเม็ด ซึ่งหากมีความจำเป็นต้องใช้ยาอย่างเร่งด่วนจะสามารถผลิตยาได้ภายใน 24 ชั่วโมง
นพ.วิทิต กล่าวว่า สำหรับโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก ระดับอุตสาหกรรม ที่ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ที่ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี นั้น ขณะนี้การก่อสร้างมีความคืบหน้าไปมาก โดยอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ระยะที่ 2 คือ การจัดทำเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) การก่อสร้างอาคารผลิตวัคซีน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จ และสามารถเปิดประกาศประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) ได้ภายในเดือนมกราคม 2552 จากนั้นใช้เวลาก่อสร้างนาน 2 ปี จึงจะแล้วเสร็จ ซึ่งโรงงานผลิตวัคซีนจะมีกำลังการผลิตได้ 2 ล้านโด๊สต่อปี และสามารถขยายได้ถึง 10 ล้านโด๊สต่อปี หากมีการระบาดใหญ่เกิดขึ้น
วันนี้ (13 พ.ย.) ที่โรงแรมอมรินทร์ ลากูน จังหวัดพิษณุโลก นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะ “มิสเตอร์ไข้หวัดนก” เปิดประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด เจ้าหน้าที่ห้องชันสูตรโรค เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ประจำหมู่บ้าน ใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างได้แก่ พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร และพิจิตร จำนวน 380 คน เพื่อเร่งรัดมาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนก
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง เป็นพื้นที่ควบคุมเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน หลังจากที่มีรายงานสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนกที่ อ.ทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศเริ่มหนาวเย็น ทำให้เชื้อไวรัสที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเจริญเติบโต มีชีวิตยืนยาวขึ้น และพื้นที่ดังกล่าวเคยมีสัตว์ปีกและคนติดเชื้อไข้หวัดนกมาก่อน จึงต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดทั้งระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรค ร่วมกับปศุสัตว์จังหวัด และระบบการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อ และได้มอบให้โรงพยาบาลทุกแห่งจัดช่องทางด่วนตรวจคัดกรองผู้ที่มีอาการไข้ ไอ และมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกหรืออยู่ในพื้นที่ที่มีสัตว์ปีกป่วยตาย แยกรักษาผู้ป่วยสงสัยในห้องแยกปลอดเชื้อ และให้ยาต้านไวรัส พร้อมตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ขณะนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 13 แห่งทั่วประเทศ สามารถรายงานผลการตรวจวิเคราะห์เชื้อภายใน 24 ชั่วโมง
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับการเฝ้าระวังในระดับหมู่บ้านนั้น ได้สั่งการให้ อสม.เฝ้าระวังโรคในพื้นที่ทั้งในคนและสัตว์ปีก รับผิดชอบคนละ 5-10 หลังคาเรือน และให้ความรู้แก่ชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการเดินทางไปติดตามระบบควบคุมป้องกันโรคที่หมู่บ้าน ที่ อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย จุดที่พบสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนก พบว่า มีระบบการป้องกันควบคุมโรคที่เข้มแข็งทั้งด้านปศุสัตว์และสาธารณสุขได้ผลดีมากขณะนี้ยังไม่พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก
ด้านนายแพทย์หม่อมหลวง สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ไข้หวัดนกในคนของ ไทยไม่พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกติดต่อกันเป็นเวลากว่า 2 ปี โดยพบครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ.2547 ถึง พ.ศ.2549 มีผู้ป่วยรวม 27 ราย เสียชีวิต 17 ราย หลังจากนั้น ไม่พบผู้ติดเชื้ออีกเลย ทั้งนี้ เนื่องจากมีมาตรการป้องกันควบคุมที่เข้มแข็งทั้งในสัตว์และคน โดยได้ใช้ 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ 1.การจัดการระบบการผลิตและเลี้ยงสัตว์ปีก 2.การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคทั้งในสัตว์และคน 3.ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ประชาชน ภาคธุรกิจและนานาประเทศ 4.การเตรียมความพร้อมรับมือการระบาดใหญ่ซึ่งอาจเกิดจากไข้หวัดนกกลายพันธุ์ โดยเน้นการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ