สบมท.เผยถกตั้งเขตมัธยมศึกษาชื่นมื่น หารือ 3 ประเด็นหลักทั้งโครงสร้าง จำนวนและข้อกฎหมาย มีมติให้ตั้งคณะทำงานขึ้น 2 ชุด พิจารณาด้านโครงสร้างและกฎหมาย ก่อนหารือร่วมกันอีกครั้ง 17 พ.ย.เพื่อหาข้อยุติ
นายวิทยา บริบูรณ์ทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพระโขนง ในฐานะนายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย(สบมท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานศึกษาข้อกฎหมายในการจัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา ที่มีนายสุวัฒน์ เงินฉ่ำ อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา เป็นประธาน ซึ่งเป็นการประชุมนัดแรกว่า ที่ประชุมได้วิเคราะห์ข้อมูลในการจัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมฯ โดยได้มีการหารือกันใน 3 ประเด็นหลักๆ คือ 1.อำนาจและโครงสร้างของเขตพื้นการมัธยมฯ ว่าจะมีรูปแบบอย่างไร ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้ใช้รูปแบบและระเบียบเดียวกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ในปัจจุบัน อาทิ ผู้อำนวยการ สพท. เป็นผู้บริหารระดับ 9 เป็นต้น
2.จำนวนเขตพื้นที่การมัธยมฯ ที่เหมาะสม ซึ่งในประเด็นนี้ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติที่ชัดเจน แต่คณะกรรมการส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับการที่จะให้ตั้งเขตพื้นที่การมัธยมฯ จังหวัดละ 1 เขต รวม 76 เขตพื้นที่ฯ เพื่อให้การบริหารงานดำเนินการได้อย่างสะดวก และคำนึงถึงจำนวนประชากรนักเรียน รวมทั้งการบริหารจัดการในแต่ละจังหวัด และ 3.ประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมฯ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้ตั้งคณะทำงานขึ้น 2 ชุด ได้แก่ คณะทำงานเพื่อศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมฯ ว่ามีประเด็นที่เกี่ยวข้องกฎหมายฉบับใดบ้าง ซึ่งมีนายดิเรก พรเสมา เป็นประธาน และคณะทำงานเพื่อพิจารณาโครงสร้างในการจัดตั้งเขตพื้นที่ฯ ซึ่งมีนายนพพร สุวรรณรุจิ รองเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) เป็นประธาน
นายวิทยา บริบูรณ์ทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพระโขนง ในฐานะนายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย(สบมท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานศึกษาข้อกฎหมายในการจัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา ที่มีนายสุวัฒน์ เงินฉ่ำ อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา เป็นประธาน ซึ่งเป็นการประชุมนัดแรกว่า ที่ประชุมได้วิเคราะห์ข้อมูลในการจัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมฯ โดยได้มีการหารือกันใน 3 ประเด็นหลักๆ คือ 1.อำนาจและโครงสร้างของเขตพื้นการมัธยมฯ ว่าจะมีรูปแบบอย่างไร ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้ใช้รูปแบบและระเบียบเดียวกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ในปัจจุบัน อาทิ ผู้อำนวยการ สพท. เป็นผู้บริหารระดับ 9 เป็นต้น
2.จำนวนเขตพื้นที่การมัธยมฯ ที่เหมาะสม ซึ่งในประเด็นนี้ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติที่ชัดเจน แต่คณะกรรมการส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับการที่จะให้ตั้งเขตพื้นที่การมัธยมฯ จังหวัดละ 1 เขต รวม 76 เขตพื้นที่ฯ เพื่อให้การบริหารงานดำเนินการได้อย่างสะดวก และคำนึงถึงจำนวนประชากรนักเรียน รวมทั้งการบริหารจัดการในแต่ละจังหวัด และ 3.ประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมฯ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้ตั้งคณะทำงานขึ้น 2 ชุด ได้แก่ คณะทำงานเพื่อศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมฯ ว่ามีประเด็นที่เกี่ยวข้องกฎหมายฉบับใดบ้าง ซึ่งมีนายดิเรก พรเสมา เป็นประธาน และคณะทำงานเพื่อพิจารณาโครงสร้างในการจัดตั้งเขตพื้นที่ฯ ซึ่งมีนายนพพร สุวรรณรุจิ รองเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) เป็นประธาน