นักวิชาการด้านการศึกษา ชี้ เหตุรับน้องโหด ล่าสุดเกิดจากการปรับเวลารับน้อง เพื่อให้ตายใจไม่ถูกจับตา และหนีไปจัดช่วงกลางหรือปลายเทอม ระบุถึงเวลาออกมาตรการเข้มกลุ่มเสี่ยงคือ เด็กอาชีวะ ทั้งคาดโทษและบทลงโทษที่ชัดเจน
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงกรณีรุ่นพี่โรงเรียนโพลีเทคนิคพารุ่นน้องไปจัดกิจกรรมรับน้องที่ จ.เพชรบุรี จนรุ่นน้อง คือ นายนิโรจน์ศักดิ์ อินทาโชติ นักศึกษาปี 1 ได้รับบาดเจ็บทางสมองอย่างรุนแรง ขณะนี้ยังรักษาตัว ว่าการรับน้องโหดเป็นปัญหาเรื้อรังทางการศึกษาที่เกิดซ้ำซากและมีการสูญเสีย ไม่เคยนำบทเรียนไปใช้ และขาดการระมัดระวังเรื่องนี้มาก ขณะที่มีกลุ่มเสี่ยงที่เกิดขึ้นเป็นขาประจำตลอด แม้จะมีมาตรการป้องกันแก้ไขเรื่องนี้มาก ทั้งปรามตั้งแต่ต้นเทอม จัดประชุมสัมมนา รณรงค์ การคาดโทษ แต่ไม่สามารถแก้ไขได้เลย ครั้งนี้เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่น่าคิดว่าไม่ได้เกิดขึ้นช่วงเปิดเทอม ทุกคนรู้สึกว่างานรับน้องผ่านไปแล้ว ดังนั้น ประเพณีรับน้องได้ปรับตัวเรื่องเวลาและบุคคลไปแล้ว รวมทั้งสิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก คือ มีการดื่มเหล้ากันหนัก เมามายขาดสติ และเป็นนักศึกษารุ่นพี่หญิงที่สั่งการ และหลังเกิดเหตุไม่มีใครดูแลหรือรับผิดชอบกับผลที่เกิดขึ้น
“ทั้งระบบโรงเรียน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) นักการเมือง คล้ายกับปฎิเสธกันหมด ทำให้เราเห็นว่าประเพณีรับน้อง ไม่ได้รับการใส่ใจแต่แรก ทุกคนก็เงียบ ไม่กล้าตัดสินใจจะแก้ปัญหาและทำให้ดีขึ้น กิจกรรมรับน้องมีแต่เรื่องขาดทุน คนไม่อยากเกี่ยวข้อง มีแต่การออกกฎระเบียบกฎเกณฑ์เข้มงวด เด็กก็ปรับตัวหนีไปจัดช่วงที่ทุกคนตายใจแล้ว คือ กลางเทอมหรือปลายเทอม ก็ปล่อยให้การรับน้องตอนช่วงเปิดเป็นพิธีการไป ส่วนการรับน้องรุนแรง วิตถาร ดื่มสุรา สุดยอดความแปลก ยิ่งจัดเป็นสวนตัว ออกต่างจังหวัด ไม่ให้ใครรับรู้จะเกิดมากขึ้น” อาจารย์คณะครุศาสตร์ กล่าว
รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวด้วยว่า กิจกรรมรับน้องที่เกิดความรุนแรง สร้างประเพณีวิตถารมีบ่อยในเด็กกลุ่มเสี่ยงคือ อาชีวะ เกือบร้อยละ 50 ของเหตุที่เกิด ดังนั้น สช.ควรจะต้องดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ ต้องมีมาตรการคาดโทษและบทลงโทษที่ชัดเจน เมื่อเกิดเหตุขึ้นอย่างน้อยสถาบันการศึกษานั้นๆ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการรักษา ช่วยเหลือเยียวยาครอบครัว และกระตือรือร้นช่วยเหลือหาผู้ที่กระทำผิด ไม่ใช่ปล่อยเรื่องเงียบกลัวเสียชื่อเสียง นอกจากนี้ ถึงเวลาที่ต้องจำแนกแยกแยะจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาใดที่มีกิจกรรมรับน้องนำไปสู่รุนแรงบ่อยครั้งแล้วมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ปกครองควรรับรู้เรื่องการรับน้องในสถาบันการศึกษาที่ลูกศึกษาว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ แล้วตระหนักรู้ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญ ควรมีหนังสือยินยอมจากสถาบันไม่เช่นนั้นอาจต้องเสียใจภายหลัง
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงกรณีรุ่นพี่โรงเรียนโพลีเทคนิคพารุ่นน้องไปจัดกิจกรรมรับน้องที่ จ.เพชรบุรี จนรุ่นน้อง คือ นายนิโรจน์ศักดิ์ อินทาโชติ นักศึกษาปี 1 ได้รับบาดเจ็บทางสมองอย่างรุนแรง ขณะนี้ยังรักษาตัว ว่าการรับน้องโหดเป็นปัญหาเรื้อรังทางการศึกษาที่เกิดซ้ำซากและมีการสูญเสีย ไม่เคยนำบทเรียนไปใช้ และขาดการระมัดระวังเรื่องนี้มาก ขณะที่มีกลุ่มเสี่ยงที่เกิดขึ้นเป็นขาประจำตลอด แม้จะมีมาตรการป้องกันแก้ไขเรื่องนี้มาก ทั้งปรามตั้งแต่ต้นเทอม จัดประชุมสัมมนา รณรงค์ การคาดโทษ แต่ไม่สามารถแก้ไขได้เลย ครั้งนี้เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่น่าคิดว่าไม่ได้เกิดขึ้นช่วงเปิดเทอม ทุกคนรู้สึกว่างานรับน้องผ่านไปแล้ว ดังนั้น ประเพณีรับน้องได้ปรับตัวเรื่องเวลาและบุคคลไปแล้ว รวมทั้งสิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก คือ มีการดื่มเหล้ากันหนัก เมามายขาดสติ และเป็นนักศึกษารุ่นพี่หญิงที่สั่งการ และหลังเกิดเหตุไม่มีใครดูแลหรือรับผิดชอบกับผลที่เกิดขึ้น
“ทั้งระบบโรงเรียน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) นักการเมือง คล้ายกับปฎิเสธกันหมด ทำให้เราเห็นว่าประเพณีรับน้อง ไม่ได้รับการใส่ใจแต่แรก ทุกคนก็เงียบ ไม่กล้าตัดสินใจจะแก้ปัญหาและทำให้ดีขึ้น กิจกรรมรับน้องมีแต่เรื่องขาดทุน คนไม่อยากเกี่ยวข้อง มีแต่การออกกฎระเบียบกฎเกณฑ์เข้มงวด เด็กก็ปรับตัวหนีไปจัดช่วงที่ทุกคนตายใจแล้ว คือ กลางเทอมหรือปลายเทอม ก็ปล่อยให้การรับน้องตอนช่วงเปิดเป็นพิธีการไป ส่วนการรับน้องรุนแรง วิตถาร ดื่มสุรา สุดยอดความแปลก ยิ่งจัดเป็นสวนตัว ออกต่างจังหวัด ไม่ให้ใครรับรู้จะเกิดมากขึ้น” อาจารย์คณะครุศาสตร์ กล่าว
รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวด้วยว่า กิจกรรมรับน้องที่เกิดความรุนแรง สร้างประเพณีวิตถารมีบ่อยในเด็กกลุ่มเสี่ยงคือ อาชีวะ เกือบร้อยละ 50 ของเหตุที่เกิด ดังนั้น สช.ควรจะต้องดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ ต้องมีมาตรการคาดโทษและบทลงโทษที่ชัดเจน เมื่อเกิดเหตุขึ้นอย่างน้อยสถาบันการศึกษานั้นๆ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการรักษา ช่วยเหลือเยียวยาครอบครัว และกระตือรือร้นช่วยเหลือหาผู้ที่กระทำผิด ไม่ใช่ปล่อยเรื่องเงียบกลัวเสียชื่อเสียง นอกจากนี้ ถึงเวลาที่ต้องจำแนกแยกแยะจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาใดที่มีกิจกรรมรับน้องนำไปสู่รุนแรงบ่อยครั้งแล้วมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ปกครองควรรับรู้เรื่องการรับน้องในสถาบันการศึกษาที่ลูกศึกษาว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ แล้วตระหนักรู้ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญ ควรมีหนังสือยินยอมจากสถาบันไม่เช่นนั้นอาจต้องเสียใจภายหลัง