อาชีวะไทยเตรียมโกอินเตอร์ดูงานการประมงทะเลที่ไนจีเรีย พร้อมเตรียมรับนักศึกษาไนจีเรียมาเรียนรู้ ปวส.ประมงไทย 6 เดือน
ดร.ศิริพรรณ ชุมนุม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ได้ส่งบุคลากร จำนวน 8 คน มาฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตรเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้ง ณ วิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร เห็นความก้าวหน้าของบุคลากร ทางสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สกอ.) มีแผนแลกเปลี่ยนนักศึกษา 2 ประเทศขึ้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 3 สาขาวิชา ได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้ง หลักสูตรเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาในกระชัง และหลักสูตรการแปรรูปสัตว์น้ำ การฝึกอบรมระยะสั้นในสาขาอุตสาหกรรมประมง ทุกหลักสูตรจะเรียนทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ รวมเวลาเรียนประมาณ 6 เดือน
ส่วนภาคปฏิบัติจะเน้นการฝึกทั้งกระบวนการ เริ่มสร้างโรงเรือน(บ่อเลี้ยง)การเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องมือจับ การเพาะพันธุ์ การป้อนอาหาร การตรวจวัดคุณภาพน้ำ ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถกลับไปปฏิบัติ และถ่ายทอดความรู้พื้นฐานได้
อย่างไรก็ตาม การจัดการศึกษาในหลักสูตรปวส. จะเริ่มในปีการศึกษา 2552 เบื้องต้นจะมีนักศึกษาจากสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย จำนวน 10 คน ซึ่งมหาวิทยาลัย อีโบยี สเตจ (Ebonyi State University) เป็นผู้กำกับดูแล โดยคัดเลือกนักศึกษา เข้ามาศึกษา ณ วิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาของไทย ที่จะไปศึกษา สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย จะศึกษาเกี่ยวกับด้านการประมงทะเล และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่แตกต่างซึ่งกันและกัน ทั้งนี้จะได้กำหนดกรอบคุณสมบัติของผู้เรียนอีกครั้งหนึ่ง
ดร.ศิริพรรณ ชุมนุม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ได้ส่งบุคลากร จำนวน 8 คน มาฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตรเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้ง ณ วิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร เห็นความก้าวหน้าของบุคลากร ทางสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สกอ.) มีแผนแลกเปลี่ยนนักศึกษา 2 ประเทศขึ้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 3 สาขาวิชา ได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้ง หลักสูตรเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาในกระชัง และหลักสูตรการแปรรูปสัตว์น้ำ การฝึกอบรมระยะสั้นในสาขาอุตสาหกรรมประมง ทุกหลักสูตรจะเรียนทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ รวมเวลาเรียนประมาณ 6 เดือน
ส่วนภาคปฏิบัติจะเน้นการฝึกทั้งกระบวนการ เริ่มสร้างโรงเรือน(บ่อเลี้ยง)การเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องมือจับ การเพาะพันธุ์ การป้อนอาหาร การตรวจวัดคุณภาพน้ำ ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถกลับไปปฏิบัติ และถ่ายทอดความรู้พื้นฐานได้
อย่างไรก็ตาม การจัดการศึกษาในหลักสูตรปวส. จะเริ่มในปีการศึกษา 2552 เบื้องต้นจะมีนักศึกษาจากสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย จำนวน 10 คน ซึ่งมหาวิทยาลัย อีโบยี สเตจ (Ebonyi State University) เป็นผู้กำกับดูแล โดยคัดเลือกนักศึกษา เข้ามาศึกษา ณ วิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาของไทย ที่จะไปศึกษา สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย จะศึกษาเกี่ยวกับด้านการประมงทะเล และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่แตกต่างซึ่งกันและกัน ทั้งนี้จะได้กำหนดกรอบคุณสมบัติของผู้เรียนอีกครั้งหนึ่ง