สกอ.ตกใจพบนักศึกษา ป.ตรี-เอก เรียนเอกประวัติศาสตร์แค่ 2,400 คน จากนักศึกษาเกือบล้านคน แถมพบมหาวิทยาลัยบางแห่งไม่บรรจุไว้ในหลักสูตร
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ได้ทำการสำรวจจำนวนนักศึกษาในระดับปริญญาตรี โท และ เอก ที่เรียนสาขาประวัติศาสตร์ เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงให้รื้อฟื้นวิชาประวัติศาสตร์นั้น ในเบื้องต้นได้รับรายงานผลการสำรวจมาบางส่วน พบว่า มีนักเรียนที่เรียนในสาขาประวัติศาสตร์โดยตรงตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท และ เอก เพียง 2,400 คน จำนวนดังกล่าวถือว่าน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนนักศึกษาทั้ง 3 ระดับ ซึ่งมีเกือบล้านคน
อีกทั้งการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.วิชาศึกษาทั่วไป เช่น วิชาสังคมศาสตร์ และวิชาด้านมนุษยศาสตร์ เป็นต้น 2.สาขาทางด้านประวัติศาสตร์โดยตรง และเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้สนใจเรียนน้อยกว่าที่คิด โดย สกอ.วางแนวทางการสำรวจไว้ ดังนี้ 1.สำรวจจำนวนผู้เรียนสาขาประวัติศาสตร์ ระดับปริญญาตรี โท และ เอก ว่า ปัจจุบันมีจำนวนมากน้อยแค่ไหน 2.สำรวจในรายวิชาศึกษาทั่วไปในระดับ ป.ตรี ซึ่งมีทั้งหมด 30 หน่วยกิต ว่า ใน 30 หน่วยกิตมีวิชาที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์มากน้อยแค่ไหน โดยจะตรวจสอบจากหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยส่งมาว่ามีวิชาเหล่านี้ปะปนอยู่บ้างหรือไม่ และหากพบว่ามีการเรียนการสอนอยู่บ้าง ก็จะไปดูว่าจะทำอย่างไร จึงจะสามารถทำให้วิชานี้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ทั้งเรื่องบุคลากรที่จะมาสอนที่ยังขาดแคลนจำนวนมาก
“อย่าเพิ่งตกใจ เพราะการสำรวจครั้งนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ทาง สกอ.กำลังตรวจสอบลงลึกไปถึงจำนวนหลักสูตร สาขา ของแต่ละมหาวิทยาลัย พบว่าบางแห่งไม่การบรรจุเนื้อหาของวิชาประวัติศาสตร์ไว้ในหลักสูตรเลยด้วยซ้ำ”
นายสุเมธ กล่าวต่อว่า จะให้นักวิชาการมาช่วยวิเคราะห์ว่าหากจะต้องมีการปรับหลักสูตรระดับอุดมศึกษา เพื่อเน้นด้านประวัติศาสตร์ให้มากขึ้น จะต้องปรับอะไรบ้าง ก่อนจะรวบรวมข้อมูลและนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ กกอ.ต่อไป
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ได้ทำการสำรวจจำนวนนักศึกษาในระดับปริญญาตรี โท และ เอก ที่เรียนสาขาประวัติศาสตร์ เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงให้รื้อฟื้นวิชาประวัติศาสตร์นั้น ในเบื้องต้นได้รับรายงานผลการสำรวจมาบางส่วน พบว่า มีนักเรียนที่เรียนในสาขาประวัติศาสตร์โดยตรงตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท และ เอก เพียง 2,400 คน จำนวนดังกล่าวถือว่าน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนนักศึกษาทั้ง 3 ระดับ ซึ่งมีเกือบล้านคน
อีกทั้งการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.วิชาศึกษาทั่วไป เช่น วิชาสังคมศาสตร์ และวิชาด้านมนุษยศาสตร์ เป็นต้น 2.สาขาทางด้านประวัติศาสตร์โดยตรง และเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้สนใจเรียนน้อยกว่าที่คิด โดย สกอ.วางแนวทางการสำรวจไว้ ดังนี้ 1.สำรวจจำนวนผู้เรียนสาขาประวัติศาสตร์ ระดับปริญญาตรี โท และ เอก ว่า ปัจจุบันมีจำนวนมากน้อยแค่ไหน 2.สำรวจในรายวิชาศึกษาทั่วไปในระดับ ป.ตรี ซึ่งมีทั้งหมด 30 หน่วยกิต ว่า ใน 30 หน่วยกิตมีวิชาที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์มากน้อยแค่ไหน โดยจะตรวจสอบจากหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยส่งมาว่ามีวิชาเหล่านี้ปะปนอยู่บ้างหรือไม่ และหากพบว่ามีการเรียนการสอนอยู่บ้าง ก็จะไปดูว่าจะทำอย่างไร จึงจะสามารถทำให้วิชานี้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ทั้งเรื่องบุคลากรที่จะมาสอนที่ยังขาดแคลนจำนวนมาก
“อย่าเพิ่งตกใจ เพราะการสำรวจครั้งนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ทาง สกอ.กำลังตรวจสอบลงลึกไปถึงจำนวนหลักสูตร สาขา ของแต่ละมหาวิทยาลัย พบว่าบางแห่งไม่การบรรจุเนื้อหาของวิชาประวัติศาสตร์ไว้ในหลักสูตรเลยด้วยซ้ำ”
นายสุเมธ กล่าวต่อว่า จะให้นักวิชาการมาช่วยวิเคราะห์ว่าหากจะต้องมีการปรับหลักสูตรระดับอุดมศึกษา เพื่อเน้นด้านประวัติศาสตร์ให้มากขึ้น จะต้องปรับอะไรบ้าง ก่อนจะรวบรวมข้อมูลและนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ กกอ.ต่อไป