สธ.ชี้วัยรุ่นใน กทม.มองข้ามสุขภาพ ขี้เกียจออกกำลังกาย เพราะคิดว่าตัวเองแข็งแรง จับมือ ศธ.จัดแข่ง “ฟุตซอล” กระตุ้นเด็กชาย “แอโรบิกแดนซ์” กระตุ้นหญิงกีฬาทำให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี ช่วยห่างอบายมุข หวังค้นพบดาวดวงใหม่ในวงการกีฬาที่สร้างชื่อเสียงแก่ประเทศในอนาคต
วันนี้ (12 ก.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แถลงข่าว ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในการจัดการแข่งขันฟุตซอล (Futsal) ในโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ประจำปี 2551 ว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในเขตกทม. ของชีวจิตโพล เปรียบเทียบระหว่างปี 2548 และ 2549 พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และใช้เวลาครั้งละ 2.44 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ถึง 2 เท่า โดยกลุ่มวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี ขี้เกียจออกกำลังกายมากที่สุด เพราะมองข้ามสุขภาพ เพราะคิดว่าตนเองแข็งแรงอยู่แล้ว โดยมีการออกกำลังกายเพียงร้อยละ 59 เท่านั้น และมีอัตราเพิ่มเพียงร้อยละ 2 นับว่าต่ำที่สุดในทุกกลุ่มอายุ ในขณะที่กลุ่มอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปใส่ใจสุขภาพเป็นพิเศษ ออกกำลังกายมากถึงร้อยละ 84
“ในการกระตุ้นปลูกฝังให้วัยรุ่นในกทม.ออกกำลังกายมากขึ้น สธ.จึงร่วมมือกับ ศธ.จัดโครงการขยับกาย ก่อนเข้าเรียน ให้นักเรียนออกกำลังกายหน้าเสาธงทุกเช้าก่อนเข้าเรียน จัดประกวดแอโรบิกแดนซ์ ซึ่งเป็นกีฬาที่ชื่นชอบในกลุ่มเยาวชนหญิง ส่วนนักเรียนชายจะจัดแข่งขันฟุตซอล ในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครทั้งรัฐและเอกชน เริ่มดำเนินการในเขต 1-3 เนื่องจากกีฬาชนิดนี้ กำลังเป็นที่นิยมทั้งในและต่างประเทศ เพราะสนุก เล่นง่าย ใช้พื้นที่และจำนวนผู้เล่นไม่มากเหมือนฟุตบอลใหญ่ การเล่นใช้ความรวดเร็ว คล่องตัว เคลื่อนไหวตลอดเวลา” นพ.ปราชญ์กล่าว
นพ.ปราชญ์ กล่าวด้วยว่า กีฬาทำให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี ที่สำคัญยังช่วยให้เยาวชนชาย ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญต่ออบายมุข ยาเสพติด พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หันมาใช้เวลาว่างที่สร้างสรรค์ และอาจพบดาวดวงใหม่ในวงการกีฬาที่สร้างชื่อเสียงแก่ประเทศไทยในอนาคต
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ประมาณ 1 ใน 4 เยาวชนไทยโดยเฉพาะในเขตเมืองมีความเสี่ยงน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรืออ้วนมากขึ้น เนื่องจากมีสิ่งแวดล้อมที่สามารถเข้าถึงอาหารที่มีไขมันและพลังงานสูง การส่งเสริมการขายด้วยการเพิ่มปริมาณอาหาร อาหารที่มีรสชาติถูกปาก หาซื้อง่าย นอกจากนี้ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันยังใช้พลังงานน้อยกว่าอดีต เช่น ทำงานใช้สมองแทนการใช้แรงงาน การใช้เวลาว่างดูโทรทัศน์ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ เล่นอินเตอร์เน็ต โดยมีผลงานวิจัยยืนยันแน่ชัดว่า การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย สามารถควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น และรักษาโรคอ้วนได้
ด้านนพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การจัดแข่งขันฟุตซอลเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ประจำปี 2551 จะเปิดรับเยาวชนชายอายุ 16-18 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1-3 และเอกชน รวม 48 โรงเรียน เริ่มเปิดรับสมัครในวันที่ 20-31 ตุลาคม 2551 ที่กองออกกำลังกาย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จับสลากแบ่งสายการแข่งขันประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2551 โดยแบ่งเป็น 3 สาย สายละ 16 ทีม และแข่งขันรอบคัดเลือกแบบพบกันหมดในสาย คัดเหลือ 16 ทีมเพื่อแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในเดือนธันวาคม 2551
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า ทีมชนะเลิศจะได้รับถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมทุนการศึกษา 15,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทุนการศึกษา 10,000 บาท และรองชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจากอธิบดีกรมอนามัย พร้อมทุนการศึกษา 5,000 บาท นอกจากนี้ยังมีรางวัลทุนการศึกษาสำหรับนักกีฬายอดเยี่ยม ดาวซัลโว และผู้จัดการทีมยอดเยี่ยม รางวัลละ 2,000 บาท และเงินบำรุงทีมรอบคัดเลือกทั้ง 48 ทีม ทีมละ 1,500 บาท และทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้ง 16 ทีม ทีมละ 2,000 บาท
“มั่นใจว่าการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นให้เยาวชนไทยตื่นตัวหันมาออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างให้เยาวชนมีวินัยในตนเอง มีความอดทน เรียนรู้การทำงานเป็นทีม มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป”นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
วันนี้ (12 ก.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แถลงข่าว ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในการจัดการแข่งขันฟุตซอล (Futsal) ในโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ประจำปี 2551 ว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในเขตกทม. ของชีวจิตโพล เปรียบเทียบระหว่างปี 2548 และ 2549 พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และใช้เวลาครั้งละ 2.44 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ถึง 2 เท่า โดยกลุ่มวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี ขี้เกียจออกกำลังกายมากที่สุด เพราะมองข้ามสุขภาพ เพราะคิดว่าตนเองแข็งแรงอยู่แล้ว โดยมีการออกกำลังกายเพียงร้อยละ 59 เท่านั้น และมีอัตราเพิ่มเพียงร้อยละ 2 นับว่าต่ำที่สุดในทุกกลุ่มอายุ ในขณะที่กลุ่มอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปใส่ใจสุขภาพเป็นพิเศษ ออกกำลังกายมากถึงร้อยละ 84
“ในการกระตุ้นปลูกฝังให้วัยรุ่นในกทม.ออกกำลังกายมากขึ้น สธ.จึงร่วมมือกับ ศธ.จัดโครงการขยับกาย ก่อนเข้าเรียน ให้นักเรียนออกกำลังกายหน้าเสาธงทุกเช้าก่อนเข้าเรียน จัดประกวดแอโรบิกแดนซ์ ซึ่งเป็นกีฬาที่ชื่นชอบในกลุ่มเยาวชนหญิง ส่วนนักเรียนชายจะจัดแข่งขันฟุตซอล ในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครทั้งรัฐและเอกชน เริ่มดำเนินการในเขต 1-3 เนื่องจากกีฬาชนิดนี้ กำลังเป็นที่นิยมทั้งในและต่างประเทศ เพราะสนุก เล่นง่าย ใช้พื้นที่และจำนวนผู้เล่นไม่มากเหมือนฟุตบอลใหญ่ การเล่นใช้ความรวดเร็ว คล่องตัว เคลื่อนไหวตลอดเวลา” นพ.ปราชญ์กล่าว
นพ.ปราชญ์ กล่าวด้วยว่า กีฬาทำให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี ที่สำคัญยังช่วยให้เยาวชนชาย ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญต่ออบายมุข ยาเสพติด พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หันมาใช้เวลาว่างที่สร้างสรรค์ และอาจพบดาวดวงใหม่ในวงการกีฬาที่สร้างชื่อเสียงแก่ประเทศไทยในอนาคต
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ประมาณ 1 ใน 4 เยาวชนไทยโดยเฉพาะในเขตเมืองมีความเสี่ยงน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรืออ้วนมากขึ้น เนื่องจากมีสิ่งแวดล้อมที่สามารถเข้าถึงอาหารที่มีไขมันและพลังงานสูง การส่งเสริมการขายด้วยการเพิ่มปริมาณอาหาร อาหารที่มีรสชาติถูกปาก หาซื้อง่าย นอกจากนี้ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันยังใช้พลังงานน้อยกว่าอดีต เช่น ทำงานใช้สมองแทนการใช้แรงงาน การใช้เวลาว่างดูโทรทัศน์ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ เล่นอินเตอร์เน็ต โดยมีผลงานวิจัยยืนยันแน่ชัดว่า การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย สามารถควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น และรักษาโรคอ้วนได้
ด้านนพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การจัดแข่งขันฟุตซอลเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ประจำปี 2551 จะเปิดรับเยาวชนชายอายุ 16-18 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1-3 และเอกชน รวม 48 โรงเรียน เริ่มเปิดรับสมัครในวันที่ 20-31 ตุลาคม 2551 ที่กองออกกำลังกาย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จับสลากแบ่งสายการแข่งขันประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2551 โดยแบ่งเป็น 3 สาย สายละ 16 ทีม และแข่งขันรอบคัดเลือกแบบพบกันหมดในสาย คัดเหลือ 16 ทีมเพื่อแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในเดือนธันวาคม 2551
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า ทีมชนะเลิศจะได้รับถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมทุนการศึกษา 15,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทุนการศึกษา 10,000 บาท และรองชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจากอธิบดีกรมอนามัย พร้อมทุนการศึกษา 5,000 บาท นอกจากนี้ยังมีรางวัลทุนการศึกษาสำหรับนักกีฬายอดเยี่ยม ดาวซัลโว และผู้จัดการทีมยอดเยี่ยม รางวัลละ 2,000 บาท และเงินบำรุงทีมรอบคัดเลือกทั้ง 48 ทีม ทีมละ 1,500 บาท และทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้ง 16 ทีม ทีมละ 2,000 บาท
“มั่นใจว่าการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นให้เยาวชนไทยตื่นตัวหันมาออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างให้เยาวชนมีวินัยในตนเอง มีความอดทน เรียนรู้การทำงานเป็นทีม มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป”นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว