สธ.เผยปี 50 อายัดผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย 217 รายการ มูลค่า 225 ล้านบาท พบเป็นยา 26 รายการไม่มีใบอนุญาต ฉลากไม่ถูกต้อง อาหาร 177 รายการ มูลค่า ไม่มีใบอนุญาตและไม่มีใบรับรองมาตรฐานการผลิตจีเอ็มพี เครื่องสำอาง ไม่มีหลักฐานวิเคราะห์ และจับกุมอาหารและยาลักลอบนำเข้าอีก 40 รายมูลค่าเกือบ 52 ล้านบาท
วันที่ 8 กันยายน นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของด่านอาหารและยา (อย.) และด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศไทย-ลาว ที่สะพานมิตรภาพแม่น้ำเหืองไทย-ลาว อ.ท่าลี่ จ.เลย และตรวจเยี่ยม รพ.ท่าลี่ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียงอยู่ติดชายแดน เพื่อติดตามระบบการให้บริการประชาชน
นายวิชาญ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายควบคุมมาตรฐานการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้ได้มาตรฐานเพื่อคุ้มครองความปลอดภัย สุขภาพของผู้บริโภค ขณะนี้มีด่านอาหารและยาจำนวน 35 ด่าน เป็นด่านอาหารและยาส่วนกลาง 11 ด่าน ที่เหลืออีก 24 ด่านประจำตามภูมิภาคแนวชายแดน ทุกด่านจะมีเจ้าหน้าที่ประจำเพื่อตรวจสอบควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเฝ้าระวัง อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งขจัดการลักลอบนำเข้า ส่งออกสารเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า ผลการตรวจสอบการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ยา อาหาร เครื่องมือแพทย์ วัตถุออกฤทธิ์ ยาเสพติด เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย ที่ด่านอาหารและยาทั่วประเทศ ตั้งแต่ตุลาคม 2549-กันยายน 2550 มีการตรวจสอบทั้งสิ้น 535,340 รายการ มูลค่า 116,495 ล้านบาท ในจำนวนนี้เจ้าหน้าที่ได้อายัดไว้ 217 รายการ เนื่องจากตกมาตรฐานมูลค่ารวม 225 ล้านบาท แยกเป็นยา 26 รายการมูลค่า 136 ล้านบาท ไม่มีใบอนุญาต ฉลากไม่ถูกต้อง ไม่มีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนและใบรับรองผลวิเคราะห์ อาหาร 177 รายการมูลค่า 82 ล้านบาท ไม่มีใบสำคัญการขึ้นทะเบียน ฉลากไม่ถูกต้อง ไม่มีใบอนุญาต และไม่มีใบรับรองมาตรฐานการผลิตตามจีเอ็มพี เป็นเครื่องสำอาง 12 รายการมูลค่า 6 ล้านบาท ไม่มีหลักฐานการวิเคราะห์ และถุงยางอนามัย กระบอกฉีดยาไม่ได้มาตรฐาน
“นอกจากนี้ยังจับกุมการลักลอบนำเข้าอาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ วัตถุออกฤทธิ์ โดยไม่ขออนุญาตอีก 40 ราย จำนวน 43 รายการ มูลค่าเกือบ 52 ล้านบาท มากที่สุดคือ ยาจำนวน 36 ราย มูลค่าเกือบ 50 ล้านบาท โดยจับกุมที่ด่านสุวรรณภูมิ มากที่สุด 24 ราย รองลงมาคือท่าอากาศยานหาดใหญ่ 5 ราย ที่ด่านเชียงแสน 4 ราย สำหรับที่ด่านท่าลี่ มีนักท่องเที่ยวและ ชาวลาวในพื้นที่เดินทางเข้า-ออกวันละประมาณ 150 คน มากสุดในวันเสาร์เนื่องจากมีตลาดนัด ผลการตรวจสุขภาพของ ด่านควบคุมโรค ไม่พบมีโรคติดต่อร้ายแรง จากการตรวจสินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดนัด ไม่พบสารฟอกขาว สารกันราในอาหาร และไม่พบสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร”รมช.สธ.กล่าว
ด้าน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า จากการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในผู้ป่วยชาวลาว ตั้งแต่ 1 มกราคม - 30 ธันวาคม 2550 ยังไม่พบโรคติดต่อร้ายแรงแต่อย่างใด โดยที่ รพ.ท่าลี่ ในรอบ 3 ปีตั้งแต่ พ.ศ.2549-2551 มีชาวลาวมารักษา 11,503 รายแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ร้อยละ 70 เป็นผู้ป่วยนอก รวมค่ารักษาเกือบ 22 ล้านบาท ในจำนวนนี้เก็บค่ารักษาได้ร้อยละ 28 และต้องให้การรักษาฟรี 15 ล้านกว่าบาท โรคที่เฝ้าระวังในปีนี้ 5 อันดับแรกได้แก่ อุจจาระร่วง ไข้ไม่ทราบสาเหตุ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ ปอดบวม และเห็ดพิษ
วันที่ 8 กันยายน นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของด่านอาหารและยา (อย.) และด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศไทย-ลาว ที่สะพานมิตรภาพแม่น้ำเหืองไทย-ลาว อ.ท่าลี่ จ.เลย และตรวจเยี่ยม รพ.ท่าลี่ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียงอยู่ติดชายแดน เพื่อติดตามระบบการให้บริการประชาชน
นายวิชาญ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายควบคุมมาตรฐานการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้ได้มาตรฐานเพื่อคุ้มครองความปลอดภัย สุขภาพของผู้บริโภค ขณะนี้มีด่านอาหารและยาจำนวน 35 ด่าน เป็นด่านอาหารและยาส่วนกลาง 11 ด่าน ที่เหลืออีก 24 ด่านประจำตามภูมิภาคแนวชายแดน ทุกด่านจะมีเจ้าหน้าที่ประจำเพื่อตรวจสอบควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเฝ้าระวัง อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งขจัดการลักลอบนำเข้า ส่งออกสารเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า ผลการตรวจสอบการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ยา อาหาร เครื่องมือแพทย์ วัตถุออกฤทธิ์ ยาเสพติด เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย ที่ด่านอาหารและยาทั่วประเทศ ตั้งแต่ตุลาคม 2549-กันยายน 2550 มีการตรวจสอบทั้งสิ้น 535,340 รายการ มูลค่า 116,495 ล้านบาท ในจำนวนนี้เจ้าหน้าที่ได้อายัดไว้ 217 รายการ เนื่องจากตกมาตรฐานมูลค่ารวม 225 ล้านบาท แยกเป็นยา 26 รายการมูลค่า 136 ล้านบาท ไม่มีใบอนุญาต ฉลากไม่ถูกต้อง ไม่มีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนและใบรับรองผลวิเคราะห์ อาหาร 177 รายการมูลค่า 82 ล้านบาท ไม่มีใบสำคัญการขึ้นทะเบียน ฉลากไม่ถูกต้อง ไม่มีใบอนุญาต และไม่มีใบรับรองมาตรฐานการผลิตตามจีเอ็มพี เป็นเครื่องสำอาง 12 รายการมูลค่า 6 ล้านบาท ไม่มีหลักฐานการวิเคราะห์ และถุงยางอนามัย กระบอกฉีดยาไม่ได้มาตรฐาน
“นอกจากนี้ยังจับกุมการลักลอบนำเข้าอาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ วัตถุออกฤทธิ์ โดยไม่ขออนุญาตอีก 40 ราย จำนวน 43 รายการ มูลค่าเกือบ 52 ล้านบาท มากที่สุดคือ ยาจำนวน 36 ราย มูลค่าเกือบ 50 ล้านบาท โดยจับกุมที่ด่านสุวรรณภูมิ มากที่สุด 24 ราย รองลงมาคือท่าอากาศยานหาดใหญ่ 5 ราย ที่ด่านเชียงแสน 4 ราย สำหรับที่ด่านท่าลี่ มีนักท่องเที่ยวและ ชาวลาวในพื้นที่เดินทางเข้า-ออกวันละประมาณ 150 คน มากสุดในวันเสาร์เนื่องจากมีตลาดนัด ผลการตรวจสุขภาพของ ด่านควบคุมโรค ไม่พบมีโรคติดต่อร้ายแรง จากการตรวจสินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดนัด ไม่พบสารฟอกขาว สารกันราในอาหาร และไม่พบสารสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร”รมช.สธ.กล่าว
ด้าน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า จากการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในผู้ป่วยชาวลาว ตั้งแต่ 1 มกราคม - 30 ธันวาคม 2550 ยังไม่พบโรคติดต่อร้ายแรงแต่อย่างใด โดยที่ รพ.ท่าลี่ ในรอบ 3 ปีตั้งแต่ พ.ศ.2549-2551 มีชาวลาวมารักษา 11,503 รายแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ร้อยละ 70 เป็นผู้ป่วยนอก รวมค่ารักษาเกือบ 22 ล้านบาท ในจำนวนนี้เก็บค่ารักษาได้ร้อยละ 28 และต้องให้การรักษาฟรี 15 ล้านกว่าบาท โรคที่เฝ้าระวังในปีนี้ 5 อันดับแรกได้แก่ อุจจาระร่วง ไข้ไม่ทราบสาเหตุ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ ปอดบวม และเห็ดพิษ