สำนักอนามัยเตรียมเปิดฝังชิปน้องหมารอบ 2 พร้อมคิดค่าบริการ 150 บาท เผยระบบจัดการข้อมูลสุนัขจดทะเบียนยังไม่เรียบร้อย เพราะซอฟต์แวร์ไม่ทันสมัย
นายสมภพ ฉัตรภรณ์ ผู้อำนวยการกองสัตว์แพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการจดทะเบียนสุนัข โดยฝังไมโครชิป ตามระเบียบ กทม.ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ.2550 ว่า ตั้งแต่ที่ กทม.ได้เริ่มฝังไมโครชิปให้กับสุนัขเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2550 เป็นต้นมา ปัจจุบันได้ดำเนินการฝังไมโครชิปไปแล้วกว่า 40,000 อัน และจากการดำเนินการที่ผ่านมายังพบปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน อาทิ การลงข้อมูลของสุนัขที่ได้รับการจดทะเบียนไปแล้วในคอมพิวเตอร์ที่ต้องว่าจ้างนักเรียนระดับ ปวส.จากสถาบันหนึ่งมาลงข้อมูลด้วยมือให้ ซึ่งขณะนี้ทำแล้วเสร็จไปได้เพียง 6,000 ข้อมูลเท่านั้น เนื่องด้วยระบบซอฟต์แวร์การจัดการข้อมูลที่ใช้ตอนนี้ยังไม่ทันสมัย ซึ่งตนเตรียมที่จะเสนอผู้บริหารให้นำระบบจัดการข้อมูล การจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง ของประเทศออสเตรเลียนำมาใช้ในประเทศไทยเพื่อให้การจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายสมภพ กล่าวอีกว่า จากข้อมูลที่ได้สำรวจ พบว่า จำนวนสุนัขในกรุงเทพฯ มีทั้งหมดกว่า 900,000 ตัว การเริ่มฝังไมโครชิประยะเริ่มแรกนั้นถือว่าทำได้น้อยมาก ดังนั้น ทางสำนักอนามัยจึงได้จัดการซื้อไมโครชิปเพิ่มอีกจำนวน 20,000 อันมาให้บริการ โดยการฝังไมโครชิประยะที่สองนี้จะมีการคิดค่าบริการครั้งละ 150 บาท เพื่อนำเงินที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ให้มีความทันสมัย และขยายผลไปยังสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ ด้วย ส่วนกำหนดที่จะเริ่มคิดค่าบริการเมื่อไหร่นั้น ตนจะได้หารือกับ นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม.อีกครั้งหนึ่ง
นายสมภพ ฉัตรภรณ์ ผู้อำนวยการกองสัตว์แพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการจดทะเบียนสุนัข โดยฝังไมโครชิป ตามระเบียบ กทม.ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ.2550 ว่า ตั้งแต่ที่ กทม.ได้เริ่มฝังไมโครชิปให้กับสุนัขเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2550 เป็นต้นมา ปัจจุบันได้ดำเนินการฝังไมโครชิปไปแล้วกว่า 40,000 อัน และจากการดำเนินการที่ผ่านมายังพบปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน อาทิ การลงข้อมูลของสุนัขที่ได้รับการจดทะเบียนไปแล้วในคอมพิวเตอร์ที่ต้องว่าจ้างนักเรียนระดับ ปวส.จากสถาบันหนึ่งมาลงข้อมูลด้วยมือให้ ซึ่งขณะนี้ทำแล้วเสร็จไปได้เพียง 6,000 ข้อมูลเท่านั้น เนื่องด้วยระบบซอฟต์แวร์การจัดการข้อมูลที่ใช้ตอนนี้ยังไม่ทันสมัย ซึ่งตนเตรียมที่จะเสนอผู้บริหารให้นำระบบจัดการข้อมูล การจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง ของประเทศออสเตรเลียนำมาใช้ในประเทศไทยเพื่อให้การจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายสมภพ กล่าวอีกว่า จากข้อมูลที่ได้สำรวจ พบว่า จำนวนสุนัขในกรุงเทพฯ มีทั้งหมดกว่า 900,000 ตัว การเริ่มฝังไมโครชิประยะเริ่มแรกนั้นถือว่าทำได้น้อยมาก ดังนั้น ทางสำนักอนามัยจึงได้จัดการซื้อไมโครชิปเพิ่มอีกจำนวน 20,000 อันมาให้บริการ โดยการฝังไมโครชิประยะที่สองนี้จะมีการคิดค่าบริการครั้งละ 150 บาท เพื่อนำเงินที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ให้มีความทันสมัย และขยายผลไปยังสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ ด้วย ส่วนกำหนดที่จะเริ่มคิดค่าบริการเมื่อไหร่นั้น ตนจะได้หารือกับ นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม.อีกครั้งหนึ่ง