ภาคีเครือข่ายเหล้า ดีเดย์ 25 ส.ค.แจ้งตำรวจเอาผิดบริษัทเหล้า ท้าทายโฆษณาโลโก้โจ๋งครึ่ม เกลื่อนจอตู้ เลิกหวังกฎหมายลูกรัฐบาลนี้ เหตุ “หมัก” อืด ไม่สนใจ
นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า ในวันที่ 25 ส.ค.จะเป็นวันดีเดย์ของภาคประชาชนในการบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 แม้ว่าจะมีผลตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.2551 แต่ในทางปฏิบัติผ่านมา 6 เดือน แล้วยังไม่มีการดำเนินการใดๆ กับบริษัทเหล้า ทั้งๆ ที่พบว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมาย โดยการโฆษณาเห็นภาพโลโก้ หรือขวดเหล้าซึ่งผิดกฎหมายอย่างชัดเจน อีกทั้งทราบดีอยู่แล้วว่ากฎหมายห้ามไว้ ทั้งนี้ บริษัทเหล้าจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ จึงถือเป็นการท้าทายกฎหมายอย่างมาก
“ภาคประชาชน เครือข่าย ภาคี จะให้ตัวแทนแจ้งดำเนินการฟ้องร้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทันทีหากพบว่า มีการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย หรือมีการลดแลกแจกแถม เนื่องจากภาคประชาชนเป็นฝ่ายที่ขับเคลื่อนกฎหมายมาตลอดอยู่แล้ว ดังนั้น คงไม่รอกฎกระทรวงที่ไม่รู้ว่าจะออกมาเมื่อไหร่ เพราะตอนนี้นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องเซ็นลงนามแต่ไม่ทำอะไรเลย ดังนั้น คงไม่คาดหวังว่ากฎหมายลูกจะออกได้ในรัฐบาลนี้ เพราะดูเหมือนไม่สนใจคงต้องรอจนกว่ารัฐบาลที่พร้อมจะเข้ามาแก้ปัญหานี้”นายสงกรานต์กล่าว
ด้าน นพ.สมาน ฟูตระกูล ผอ.สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ว่า ขณะนี้ขั้นตอนการออกกฎกระทรวงประกาศ และระเบียบตามมาตราต่างๆ ซึ่งเป็นกฎหมายลูกตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ อยู่ระหว่างการเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาโดยได้ยื่นหนังสือผ่านตามขั้นตอนตามกระบวนการไปยังอธิบดีกรมควบคุมโรค ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รมว.สาธารณสุข ซึ่งหากไม่มีปัญหาติดขัดอะไร ภายใน 2 สัปดาห์ น่าจะถึง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งตามกฎหมาย นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่มีอำนาจในการแต่งตั้ง พนักงานออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว
“ได้ยื่นหนังสือแนวทางการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อออกเป็นกฎกระทรวงตั้งแต่สมัยที่ นายไชยา สะสมทรัพย์เป็นรมว.สาธารณสุข ผ่าน นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ เลขานุการรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณาข้อรายละเอียดต่างๆ โดยหวังว่าจะช่วยให้กระบวนการต่างๆ เร็วขึ้น แต่ผ่านไปนานกว่า 1 เดือน ก็ยังไม่มีความคืบหน้า จนกระทั่งมีการเปลี่ยนรัฐมนตรี จึงตัดสินใจยื่นหนังสือเข้าไปใหม่อย่างเป็นทางการ” นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน กล่าวต่อว่า ในส่วนกฎกระทรวงที่ต้องออกรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อปฏิบัติ การโฆษณา หรือเวลาห้ามขาย สถานที่ที่ห้ามขายสุรานั้น จะต้องผ่านคณะกรรมการชุดดังกล่าวก่อน แต่ขณะนี้ยังขาดคณะกรรมการที่ปรึกษา จากภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งผู้ที่จะต้องออกระเบียบการสรรหาก็ต้องเป็นนายกรัฐมนตรีอีกเช่นกัน ดังนั้น ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้อยู่ในส่วนของภาคการเมืองที่จะต้องเร่งดำเนินการ ส่วนข้าราชการประจำดำเนินการอย่างเต็มที่อยู่แล้ว จึงยังไม่สามารถทราบได้ว่ากฎกระทรวงจะแล้วเสร็จเมื่อใด
“ในระหว่างที่กฎกระทรวง หรือระเบียบต่างๆ ยังไม่แล้วเสร็จ แต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ไปแล้ว ซึ่งขณะนี้ โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ฝ่าฝืนมีการโฆษณากันเกลื่อน ประชาชนที่พบเห็นโฆษณาที่พบว่า เห็นขวดเหล้า แก้วเหล้า ชัดเจน หรือ มีการโฆษณาลดแลกแจกแถม หรือ ขายในที่ห้ามขาย ก็สามารถแจ้งดำเนินคดีกับตำรวจได้โดยไม่ต้องรอกฎกระทรวงออกมากำกับ” นพ.สมาน กล่าว
นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า ในวันที่ 25 ส.ค.จะเป็นวันดีเดย์ของภาคประชาชนในการบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 แม้ว่าจะมีผลตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.2551 แต่ในทางปฏิบัติผ่านมา 6 เดือน แล้วยังไม่มีการดำเนินการใดๆ กับบริษัทเหล้า ทั้งๆ ที่พบว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมาย โดยการโฆษณาเห็นภาพโลโก้ หรือขวดเหล้าซึ่งผิดกฎหมายอย่างชัดเจน อีกทั้งทราบดีอยู่แล้วว่ากฎหมายห้ามไว้ ทั้งนี้ บริษัทเหล้าจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ จึงถือเป็นการท้าทายกฎหมายอย่างมาก
“ภาคประชาชน เครือข่าย ภาคี จะให้ตัวแทนแจ้งดำเนินการฟ้องร้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทันทีหากพบว่า มีการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย หรือมีการลดแลกแจกแถม เนื่องจากภาคประชาชนเป็นฝ่ายที่ขับเคลื่อนกฎหมายมาตลอดอยู่แล้ว ดังนั้น คงไม่รอกฎกระทรวงที่ไม่รู้ว่าจะออกมาเมื่อไหร่ เพราะตอนนี้นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องเซ็นลงนามแต่ไม่ทำอะไรเลย ดังนั้น คงไม่คาดหวังว่ากฎหมายลูกจะออกได้ในรัฐบาลนี้ เพราะดูเหมือนไม่สนใจคงต้องรอจนกว่ารัฐบาลที่พร้อมจะเข้ามาแก้ปัญหานี้”นายสงกรานต์กล่าว
ด้าน นพ.สมาน ฟูตระกูล ผอ.สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ว่า ขณะนี้ขั้นตอนการออกกฎกระทรวงประกาศ และระเบียบตามมาตราต่างๆ ซึ่งเป็นกฎหมายลูกตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ อยู่ระหว่างการเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาโดยได้ยื่นหนังสือผ่านตามขั้นตอนตามกระบวนการไปยังอธิบดีกรมควบคุมโรค ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รมว.สาธารณสุข ซึ่งหากไม่มีปัญหาติดขัดอะไร ภายใน 2 สัปดาห์ น่าจะถึง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งตามกฎหมาย นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่มีอำนาจในการแต่งตั้ง พนักงานออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว
“ได้ยื่นหนังสือแนวทางการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อออกเป็นกฎกระทรวงตั้งแต่สมัยที่ นายไชยา สะสมทรัพย์เป็นรมว.สาธารณสุข ผ่าน นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ เลขานุการรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณาข้อรายละเอียดต่างๆ โดยหวังว่าจะช่วยให้กระบวนการต่างๆ เร็วขึ้น แต่ผ่านไปนานกว่า 1 เดือน ก็ยังไม่มีความคืบหน้า จนกระทั่งมีการเปลี่ยนรัฐมนตรี จึงตัดสินใจยื่นหนังสือเข้าไปใหม่อย่างเป็นทางการ” นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน กล่าวต่อว่า ในส่วนกฎกระทรวงที่ต้องออกรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อปฏิบัติ การโฆษณา หรือเวลาห้ามขาย สถานที่ที่ห้ามขายสุรานั้น จะต้องผ่านคณะกรรมการชุดดังกล่าวก่อน แต่ขณะนี้ยังขาดคณะกรรมการที่ปรึกษา จากภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งผู้ที่จะต้องออกระเบียบการสรรหาก็ต้องเป็นนายกรัฐมนตรีอีกเช่นกัน ดังนั้น ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้อยู่ในส่วนของภาคการเมืองที่จะต้องเร่งดำเนินการ ส่วนข้าราชการประจำดำเนินการอย่างเต็มที่อยู่แล้ว จึงยังไม่สามารถทราบได้ว่ากฎกระทรวงจะแล้วเสร็จเมื่อใด
“ในระหว่างที่กฎกระทรวง หรือระเบียบต่างๆ ยังไม่แล้วเสร็จ แต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ไปแล้ว ซึ่งขณะนี้ โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ฝ่าฝืนมีการโฆษณากันเกลื่อน ประชาชนที่พบเห็นโฆษณาที่พบว่า เห็นขวดเหล้า แก้วเหล้า ชัดเจน หรือ มีการโฆษณาลดแลกแจกแถม หรือ ขายในที่ห้ามขาย ก็สามารถแจ้งดำเนินคดีกับตำรวจได้โดยไม่ต้องรอกฎกระทรวงออกมากำกับ” นพ.สมาน กล่าว