ครม.ควักกระเป๋ากว่า 2,000 ล้าน เพิ่มงบโครงการอาหารกลางวันปี 52 ขยับรายหัวจาก 10 บาทต่อวัน เป็น 13 บาท หวังเด็กได้กินอิ่มเหมือนเดิม
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบตามที่ ศธ.เสนอขอเพิ่มงบประมาณโครงการอาหารกลางวันปี 2552 อีก 2,821 ล้านบาท เพื่อรับมือกับภาวะน้ำมันแพงซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้า บริการ ขยับขึ้นตาม
ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันให้นักเรียนอนุบาลถึง ป.6 ทุกสังกัด ประมาณ 4.7 ล้านคน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ และขาดแคลนอาหารกลางวัน คิดเป็นร้อยละ 60 ของจำนวนนักเรียนในวัยดังกล่าวทั้งหมด โดยจัดสรรให้อัตราคนละ 10 บาทต่อวัน รวม 200 วัน เป็นงบประมาณ 9,420 ล้านบาท
เมื่อราคาสินค้ามีการปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าว ต้นเหตุมาจากราคาน้ำมันแพง ส่งผลให้งบประมาณค่าอาหารกลางวันที่รัฐจัดสรรให้ไม่เพียงพอประกอบอาหารตามปริมาณที่นักเรียนควรได้รับ โรงเรียนจำเป็นต้องลดปริมาณอาหารลง ส่งผลให้นักเรียนโดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาสไม่ได้รับสารอาหารครบตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ เพราะฉะนั้น ศธ.จึงได้หารือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งดูแลโครงการอาหารกลางวัน เสนอ ครม.ขอปรับเพิ่มเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันเป็นอัตราคนละ 13 บาทต่อวัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นไป คำนวณแล้วจะต้องใช้งบประมาณทั้งหมดปีละ 12,226 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2551 จำนวน 2,821 ล้านบาท
“สพฐ.และกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการจัดทำอาหารกลางวันให้นักเรียน อายุ 4-12 ปี คำนวณออกมาแล้วคิดเป็นค่าอาหารรวมทั้งสิ้น 9.853 บาทต่อคน เมื่อรวมราคาเชื้อเพลิง ค่าจ้างแม่ครัว ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ประมาณ 3 บาทต่อคน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12.85 บาทต่อคน หรือ ประมาณ 13 บาท ตามที่ ศธ.ได้ขอเพิ่มค่าอาหารกลางวันไปเพื่อให้นักเรียนได้กินอาหารกลางวัน”
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบตามที่ ศธ.เสนอขอเพิ่มงบประมาณโครงการอาหารกลางวันปี 2552 อีก 2,821 ล้านบาท เพื่อรับมือกับภาวะน้ำมันแพงซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้า บริการ ขยับขึ้นตาม
ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันให้นักเรียนอนุบาลถึง ป.6 ทุกสังกัด ประมาณ 4.7 ล้านคน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ และขาดแคลนอาหารกลางวัน คิดเป็นร้อยละ 60 ของจำนวนนักเรียนในวัยดังกล่าวทั้งหมด โดยจัดสรรให้อัตราคนละ 10 บาทต่อวัน รวม 200 วัน เป็นงบประมาณ 9,420 ล้านบาท
เมื่อราคาสินค้ามีการปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าว ต้นเหตุมาจากราคาน้ำมันแพง ส่งผลให้งบประมาณค่าอาหารกลางวันที่รัฐจัดสรรให้ไม่เพียงพอประกอบอาหารตามปริมาณที่นักเรียนควรได้รับ โรงเรียนจำเป็นต้องลดปริมาณอาหารลง ส่งผลให้นักเรียนโดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาสไม่ได้รับสารอาหารครบตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ เพราะฉะนั้น ศธ.จึงได้หารือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งดูแลโครงการอาหารกลางวัน เสนอ ครม.ขอปรับเพิ่มเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันเป็นอัตราคนละ 13 บาทต่อวัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นไป คำนวณแล้วจะต้องใช้งบประมาณทั้งหมดปีละ 12,226 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2551 จำนวน 2,821 ล้านบาท
“สพฐ.และกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการจัดทำอาหารกลางวันให้นักเรียน อายุ 4-12 ปี คำนวณออกมาแล้วคิดเป็นค่าอาหารรวมทั้งสิ้น 9.853 บาทต่อคน เมื่อรวมราคาเชื้อเพลิง ค่าจ้างแม่ครัว ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ประมาณ 3 บาทต่อคน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12.85 บาทต่อคน หรือ ประมาณ 13 บาท ตามที่ ศธ.ได้ขอเพิ่มค่าอาหารกลางวันไปเพื่อให้นักเรียนได้กินอาหารกลางวัน”