สพฐ.ทำหลักสูตรแกนกลางอิสลามศึกษา เพิ่มชั่วโมงเรียนจาก 2 ชม.เป็น 10-12 ชม.ต่อสัปดาห์ หวังให้ นร.ได้รับวุฒิบัตรด้านศาสนา เมื่อเรียนจบในแต่ละหลักสูตร ควบคู่ไปกับการเรียนสายสามัญ
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ขณะนี้ สพฐ.ได้จัดทำหลักสูตรแกนกลางอิสลามศึกษา สำหรับจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เพื่อจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนในพื้นที่ภาคใต้ได้เรียนศาสนาควบคู่ไปกับการเรียนสายสามัญ โดยปีการศึกษา 2549 สพฐ.ได้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรอิสลามศึกษาในโรงเรียนสามัญให้นักเรียนได้เรียนสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เมื่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ได้ทำการประเมินผล พบว่า เมื่อโรงเรียนจัดการเรียนการสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนสามัญ ทำให้มีเด็กเข้าเรียนเพิ่มขึ้น และที่สำคัญ ทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องศาสนกิจ รวมถึงประวัติศาสตร์อิสลาม และเด็กก็ขยันมาเรียนไม่ขาดเรียน แต่เด็กไม่ได้รับวุฒิบัตรการเรียนด้านศาสนา ทำให้เด็กต้องไปเรียนที่สถาบันการศึกษาปอเนาะ หรือเรียนตาดีกา เพื่อให้ได้รับวุฒิบัตรด้านศาสนา
ดังนั้น สพฐ.จึงได้ปรับหลักสูตรแกนกลางอิสลามศึกษาโดยเพิ่มชั่วโมงการเรียนอิสลามศึกษาจาก 2 ชั่วโมงเป็น 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในระดับประถมศึกษา และ 12 ชั่วโมงในระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้เด็กที่เรียนจบในระดับ ป.6 ได้รับวุฒิบัตรอิบตีดาอียะห์ หรืออิสลามศึกษาเบื้องต้น จบม.3 ได้รับวุฒิบัตรมุตตาวัตซีเตาะห์ หรืออิสลามศึกษาระดับกลาง และ ม.6 ได้รับวุฒิบัตรซานาวียะห์ หรืออิสลามศึกษาระดับสูง
“การเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนอิสลามศึกษาเพื่อเป็นการจูงใจให้เด็กเข้าเรียนในโรงเรียนสังกัด สพฐ.มากขึ้นนั้น จะทำให้เบียดการเรียนวิชาสามัญ และทำให้เกรดตกหรือไม่นั้น สพฐ.ได้มอบหมายให้โรงเรียนไปศึกษาเรื่องนี้ พบว่า เด็กชอบและขยันมาโรงเรียน ซึ่งเมื่อเด็กขยันมาเรียนโดยไม่ขาดเรียนไปเรียนตาดีกา ก็ส่งผลให้การเรียนต่างๆ ดีขึ้น”
นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า สพฐ.จัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนสามัญตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 จำนวน 142 แห่งใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จ.ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล และ สงขลา ต่อมาปีการศึกษา 2551 ได้ขยายอีก 132 แห่ง ซึ่งแต่ละโรงเมื่อมีการบูรณาการการเรียนการสอนดังกล่าวทำให้มีนักเรียนเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี เช่น โรงเรียนเวียงสุวรรณวิทยาคม อ.แว้ง จ.นราธิวาส มีนักเรียนมาสมัครเรียนเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเพราะผู้ปกครองให้การสนับสนุน ส่วนปีการศึกษา 2552 นั้น สพฐ.ก็จะขยายโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาเพิ่มขึ้นอีกด้วย
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ขณะนี้ สพฐ.ได้จัดทำหลักสูตรแกนกลางอิสลามศึกษา สำหรับจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เพื่อจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนในพื้นที่ภาคใต้ได้เรียนศาสนาควบคู่ไปกับการเรียนสายสามัญ โดยปีการศึกษา 2549 สพฐ.ได้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรอิสลามศึกษาในโรงเรียนสามัญให้นักเรียนได้เรียนสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เมื่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ได้ทำการประเมินผล พบว่า เมื่อโรงเรียนจัดการเรียนการสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนสามัญ ทำให้มีเด็กเข้าเรียนเพิ่มขึ้น และที่สำคัญ ทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องศาสนกิจ รวมถึงประวัติศาสตร์อิสลาม และเด็กก็ขยันมาเรียนไม่ขาดเรียน แต่เด็กไม่ได้รับวุฒิบัตรการเรียนด้านศาสนา ทำให้เด็กต้องไปเรียนที่สถาบันการศึกษาปอเนาะ หรือเรียนตาดีกา เพื่อให้ได้รับวุฒิบัตรด้านศาสนา
ดังนั้น สพฐ.จึงได้ปรับหลักสูตรแกนกลางอิสลามศึกษาโดยเพิ่มชั่วโมงการเรียนอิสลามศึกษาจาก 2 ชั่วโมงเป็น 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในระดับประถมศึกษา และ 12 ชั่วโมงในระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้เด็กที่เรียนจบในระดับ ป.6 ได้รับวุฒิบัตรอิบตีดาอียะห์ หรืออิสลามศึกษาเบื้องต้น จบม.3 ได้รับวุฒิบัตรมุตตาวัตซีเตาะห์ หรืออิสลามศึกษาระดับกลาง และ ม.6 ได้รับวุฒิบัตรซานาวียะห์ หรืออิสลามศึกษาระดับสูง
“การเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนอิสลามศึกษาเพื่อเป็นการจูงใจให้เด็กเข้าเรียนในโรงเรียนสังกัด สพฐ.มากขึ้นนั้น จะทำให้เบียดการเรียนวิชาสามัญ และทำให้เกรดตกหรือไม่นั้น สพฐ.ได้มอบหมายให้โรงเรียนไปศึกษาเรื่องนี้ พบว่า เด็กชอบและขยันมาโรงเรียน ซึ่งเมื่อเด็กขยันมาเรียนโดยไม่ขาดเรียนไปเรียนตาดีกา ก็ส่งผลให้การเรียนต่างๆ ดีขึ้น”
นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า สพฐ.จัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนสามัญตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 จำนวน 142 แห่งใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จ.ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล และ สงขลา ต่อมาปีการศึกษา 2551 ได้ขยายอีก 132 แห่ง ซึ่งแต่ละโรงเมื่อมีการบูรณาการการเรียนการสอนดังกล่าวทำให้มีนักเรียนเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี เช่น โรงเรียนเวียงสุวรรณวิทยาคม อ.แว้ง จ.นราธิวาส มีนักเรียนมาสมัครเรียนเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเพราะผู้ปกครองให้การสนับสนุน ส่วนปีการศึกษา 2552 นั้น สพฐ.ก็จะขยายโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาเพิ่มขึ้นอีกด้วย