กทม.เตรียมเสนอที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้เทศกิจ-สุขาภิบาลเขต มีอำนาจจับปรับขี้เหล้าดื่มในสถานที่ต้องห้าม ขณะที่ผู้จัดการเครือข่ายงดเหล้าแนะใช้ธรรมะเอาชนะน้ำเมา ด้านประธานสภาเยาวชน กทม.แฉแหล่งขายเหล้าอยู่ใกล้กับเยาวชนเดินแค่ 7 นาทีก็ถึงแล้ว ส่วนวีซีดีลามกใช้เวลา 30 นาทีก็เข้าสู่วงจรอุบาทว์
วันนี้ (14 ก.ค.) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.)นายสิทธิสัตย์ เจียมวงศ์แพทย์ รองปลัด กทม. เป็นประธานแถลงข่าวชาวกรุงเทพฯ ร่วมใจ ไม่ขาย ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันเข้าพรรษา โดยมีนายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า และนายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ประธานสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร ร่วมแถลง
โดย นายสิทธิสัตย์ กล่าวว่า จากสถิติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากคดีอุบัติเหตุจราจรทางบกปี 2550 พบว่าการเมาสุราเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งเนื่องจากผู้ดื่มแอลกอฮอล์จะมีสติสัมปชัญญะลดลง ขาดความรอบคอบ ยั้งคิด จึงมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้โดยง่ายทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น รวมถึงยังเป็นสาเหตุหนึ่งของความรุนแรงในครอบครัว และอาชญากรรมอีกด้วย ซึ่งจากสถิติพบว่าเด็กอายุ 15 ปี เป็นกลุ่มเยาวชนที่ดื่มสุราครั้งแรกมากที่สุด ทั้งนี้ที่ผ่านมากทม.ร่วมกับหลายหน่วยงานจัดกิจกรรม “ขาย ดื่มเหล้า ห้ามเข้า สวนสาธารณะ” เพื่อรณรงค์ให้ผู้ที่เข้ามาใช้สวนสาธารณะของ กทม.ทั้ง 23 แห่ง เป็นสถานที่พักผ่อนดีรับความสุขกาย สบายใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มีผลให้สถานที่ต่างๆ ที่กำหนด ได้แก่ วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาล สถานที่ราชการ สถานศึกษาและสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ห้ามขาย และดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาดซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนหอพักห้ามขายเพียงอย่างเดียวซึ่งต้องขอความร่วมมือกับเจ้าของให้ช่วยดูแลให้เข้มงวด
ทั้งนี้ คณะกรรมการ กทม.เตรียมเสนอในที่ประชุมใหญ่ในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เจ้าหน้าที่เทศกิจและเจ้าหน้าที่สุขาภิบาลเขตมีอำนาจในการจับปรับตามพรบ.ดังกล่าวและเพื่อเป็นการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลให้ทั่วถึง
รองปลัด กทม.กล่าวต่อว่า และในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา กทม.ขอเชิญชวนผู้ที่ต้องการเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขอรับคำปรึกษาเพื่อบำบัดได้ที่ศูนย์ดูแลผู้ใช้แอลกอฮอล์ คลินิกยาเสพติด สังกัดสำนักอนามัยทั้ง 18 แห่ง วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล และโรงพยาบาลตากสิน
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนไทยดื่มเหล้า 15-16 ล้านคน โดยช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งมีการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ทำให้คนไทยทั่วประเทศหันมางดเหล้าปีละ 5-6 ล้านคน จากเดิมที่ไม่มีการรณรงค์ จะมีคนไทยงดเหล้าเพียง 1 ล้านคน/ปีเท่านั้น พร้อมกันนี้ยังได้แนะนำคนไทยหันมาศึกษาธรรมะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการงดเหล้าและยาเสพติดเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
ด้าน นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ประธานสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากผลวิจัยสภาพแวดล้อมชุมชนและพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ยาเสพติดในกลุ่มเด็กวัยรุ่น 12-19 ปี เขต กทม. พบสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ เยาวชนสามารถเดินทางไปยังแหล่งซื้อเหล้าบุหรี่ได้ภายใน 7 นาที และสามารถเดินทางไปยังแหล่งซื้อวีซีดีลามก และสถานบันเทิง ได้ภายในเวลา 30 นาที ดังนั้นจึงอยากเรียกร้องให้ภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ หันมาเพิ่มพื้นที่สำหรับให้เยาวชนแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
วันนี้ (14 ก.ค.) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.)นายสิทธิสัตย์ เจียมวงศ์แพทย์ รองปลัด กทม. เป็นประธานแถลงข่าวชาวกรุงเทพฯ ร่วมใจ ไม่ขาย ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันเข้าพรรษา โดยมีนายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า และนายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ประธานสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร ร่วมแถลง
โดย นายสิทธิสัตย์ กล่าวว่า จากสถิติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากคดีอุบัติเหตุจราจรทางบกปี 2550 พบว่าการเมาสุราเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งเนื่องจากผู้ดื่มแอลกอฮอล์จะมีสติสัมปชัญญะลดลง ขาดความรอบคอบ ยั้งคิด จึงมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้โดยง่ายทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น รวมถึงยังเป็นสาเหตุหนึ่งของความรุนแรงในครอบครัว และอาชญากรรมอีกด้วย ซึ่งจากสถิติพบว่าเด็กอายุ 15 ปี เป็นกลุ่มเยาวชนที่ดื่มสุราครั้งแรกมากที่สุด ทั้งนี้ที่ผ่านมากทม.ร่วมกับหลายหน่วยงานจัดกิจกรรม “ขาย ดื่มเหล้า ห้ามเข้า สวนสาธารณะ” เพื่อรณรงค์ให้ผู้ที่เข้ามาใช้สวนสาธารณะของ กทม.ทั้ง 23 แห่ง เป็นสถานที่พักผ่อนดีรับความสุขกาย สบายใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มีผลให้สถานที่ต่างๆ ที่กำหนด ได้แก่ วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาล สถานที่ราชการ สถานศึกษาและสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ห้ามขาย และดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาดซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนหอพักห้ามขายเพียงอย่างเดียวซึ่งต้องขอความร่วมมือกับเจ้าของให้ช่วยดูแลให้เข้มงวด
ทั้งนี้ คณะกรรมการ กทม.เตรียมเสนอในที่ประชุมใหญ่ในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เจ้าหน้าที่เทศกิจและเจ้าหน้าที่สุขาภิบาลเขตมีอำนาจในการจับปรับตามพรบ.ดังกล่าวและเพื่อเป็นการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลให้ทั่วถึง
รองปลัด กทม.กล่าวต่อว่า และในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา กทม.ขอเชิญชวนผู้ที่ต้องการเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขอรับคำปรึกษาเพื่อบำบัดได้ที่ศูนย์ดูแลผู้ใช้แอลกอฮอล์ คลินิกยาเสพติด สังกัดสำนักอนามัยทั้ง 18 แห่ง วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล และโรงพยาบาลตากสิน
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนไทยดื่มเหล้า 15-16 ล้านคน โดยช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งมีการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ทำให้คนไทยทั่วประเทศหันมางดเหล้าปีละ 5-6 ล้านคน จากเดิมที่ไม่มีการรณรงค์ จะมีคนไทยงดเหล้าเพียง 1 ล้านคน/ปีเท่านั้น พร้อมกันนี้ยังได้แนะนำคนไทยหันมาศึกษาธรรมะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการงดเหล้าและยาเสพติดเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
ด้าน นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ประธานสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากผลวิจัยสภาพแวดล้อมชุมชนและพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ยาเสพติดในกลุ่มเด็กวัยรุ่น 12-19 ปี เขต กทม. พบสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ เยาวชนสามารถเดินทางไปยังแหล่งซื้อเหล้าบุหรี่ได้ภายใน 7 นาที และสามารถเดินทางไปยังแหล่งซื้อวีซีดีลามก และสถานบันเทิง ได้ภายในเวลา 30 นาที ดังนั้นจึงอยากเรียกร้องให้ภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ หันมาเพิ่มพื้นที่สำหรับให้เยาวชนแสดงออกอย่างสร้างสรรค์