สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีกระแสรับสั่งเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ณ “โรงเรียนเกาะยาววิทยา อ.เกาะยาว จ.พังงา” เกี่ยวกับคุณภาพของน้ำทะเล ว่า “....มูลนิธิชัยพัฒนานำน้ำทะเลใกล้เทศบาลตำบลเกาะยาวน้อยมาศึกษาตรวจสอบ ผลปรากฏว่า การทิ้งขยะลงทะเลส่งผลทำให้น้ำมีสิ่งเจือปนมาก เป็นต้นเหตุให้น้ำเสียและมีเชื้ออหิวาตกโรคอยู่ในน้ำ”
จากนั้นได้พระราชทานคำแนะนำให้ช่วยกันดูแล รวมทั้งให้มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเป็นแหล่งเรียนรู้ สอนให้นักเรียนรู้จักนำน้ำทะเลมาทดลองตรวจสอบวิเคราะห์ว่า น้ำมีสิ่งเจือปนอะไรบ้าง มีอะไรดีและมีอะไรที่เป็นปัญหา
จากกระแสรับสั่งดังกล่าว กลายเป็นแรงผลักดันสำคัญทำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตัดสินใจร่วมมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว
** โรงเรียนนำร่องปลุกจิตสำนึกเด็ก
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เล่าให้ฟังว่า พอสิ้นกระแสรับสั่ง คณะทำงานของ สพฐ.หารือร่วมกับผู้มีส่วนร่วมในพื้นที่เกาะยาว ลงพื้นที่สำรวจแบบปูพรม เพื่อเก็บข้อมูล พร้อมค้นหาต้นตอแหล่งปัญหา จากนั้นร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ในรูปแบบยั่งยืน
สำหรับในส่วนของสถานศึกษานั้น ได้จัดกิจกรรม Big Cleaning day ทุกวันที่ 15 ของเดือน โดยให้นักเรียน ครู ทุกแห่งที่ตั้งอยู่บนเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ ร่วมกันเก็บขยะรอบชุมชน บริเวณชายหาด ใส่ถุงดำ
มงคล ทศพงษ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนเกาะยาววิทยา เสริมว่า การรณรงค์ครั้งนี้ได้ปลุกจิตสำนึกให้นักเรียน พร้อมฝากไปยังผู้ปกครองให้ทิ้งขยะลงถัง ซึ่งเพียงเดือนเศษปรากฏว่าปริมาณขยะที่ทิ้งไว้เรี่ยราดลดน้อยลง ทิ้งลงถังขยะมากขึ้น
“ช่วงแรกๆ ที่รณรงค์ให้นักเรียนช่วยกันเก็บขยะ ยังไม่ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการด้านธุรกิจที่พักตากอากาศ พอครั้งที่ 2 และ 3 ชาวบ้านทยอยให้ความร่วมมือ บ้างก็มาร่วมเก็บขยะกับลูกหลาน บ้างก็เลือกไม่ทิ้งขยะเรี่ยราดเหมือนเคยเพราะ เขาคิดว่า ทิ้งปุ๊บ 2 มือของลูกหลานเขาเองต้องมาเดินกลางแดดเพื่อเก็บขยะ สำหรับขยะที่นักเรียนเก็บมานั้นจะเข้าสู่ขบวนการคัดเลือกขยะ แยกขยะขวด พลาสติก กระดาษ ก่อนที่จะนำไปแปรรูปต่อไป”
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ปริมาณขยะบนเกาะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ผอ.ร.ร.เกาะยาววิทยา บอกว่า เกิดจากธุรกิจท่องเที่ยวเติบโตเร็ว และไม่ได้มีมาตรการรองรับไว้ล่วงหน้า ขณะที่เจ้าของธุรกิจไม่มีระบบการจัดการน้ำเสีย ขยะ อย่างถูกวิธี และที่สำคัญคือบนเกาะยังไม่มีแหล่งหรือวิธีการกำจัดขยะอย่างถูกสุขลักษณะ
ขณะที่ “เจนจิรา เสโท” และเพื่อนนักเรียนโรงเรียนเกาะยาววิทยา บอกว่า ตอนนี้จำนวนขยะยังไม่มากนัก แต่วันข้างหน้าปริมาณขยะอาจล้นเกาะได้ ถ้าธุรกิจด้านการท่องเที่ยวโตแบบก้าวกระโดด คือ ช่วง 5 ปีมานี้ มีการสร้างรีสอร์ต บ้านพักตากอากาศ บริเวณใกล้ชายหาด เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพัก มากิน ยิ่งมีคนมาพักมากเท่าไหร่ปริมาณขยะก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น
“พวกเราสังเกตว่าเขารับนักท่องเที่ยวมาพักบนเกาะ และซื้ออาหารมาจากตัวเมือง แล้วทำไมเขาจึงไม่ขนขยะกลับไปทิ้งในเมือง ซึ่งมีระบบกำจัดดีกว่า”เจนจิราตั้งข้อสงสัย
** กำจัดขยะผิดสุขลักษณะ
นอกจากเรื่องขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว อีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือระบบการกำจัดขยะบนเกาะ เนื่องเพราะไม่ได้ผ่านการคัดแยก แถมสถานที่ตั้งของบ่อขยะยังอยู่ใกล้ทะเลซึ่งน้ำท่วมถึง เมื่อน้ำทะเลขึ้นหรือฝนตกลงมาก็จะท่วมขังบ่อขยะพร้อมทั้งนำน้ำเสียไหลลงทะเลกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ขณะที่บ่อขยะดังกล่าวเป็นบ่อขยะแบบเปิดและขนาดใหญ่ ซึ่งกว่าขยะจะเต็มบ่อต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ดังนั้น ระหว่างรอให้ขยะเต็ม ก็ทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์เหม็นคลุ้งไปทั่ว
อรรถพล ไตรศรี รองนายก อบจ.เกาะยาว อธิบายความจริงที่เกิดขึ้นว่า ปัจจุบันการทำงานของหน่วยงานต่างๆ จะมีลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่มีการประสานกัน อีกอย่างหน่วยงานที่จัดเก็บขยะก็ขาดองค์ความรู้ นอกจากนี้ พื้นที่บนเกาะยาวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าสงวน หากกรมป่าไม้อนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อกำจัดขยะ ทาง อบต. อบจ.ยินดีให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ
“จริงๆ ปัญหาขยะเกลื่อนเกาะ เพิ่งเกิดขึ้นช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา โดยมีนักท่องเที่ยวมาพักค้างคืนบนเกาะ เพื่อจะไปเที่ยวตามเกาะต่างๆ แถบทะเลอันดามัน เมื่อธุรกิจท่องเที่ยวเติบโตแบบก้าวกระโดด ควรต้องเข้ามามีส่วนรับผิดชอบอย่าทิ้งขยะลงทะเล เพราะน้ำทะเลจะพัดขยะเหล่านั้นกลับมายังเกาะ พร้อมกันนี้ควรจ่ายเงินในการกำจัดขยะให้ท้องถิ่น หรือขนขยะไปทิ้งในเมือง หากให้ อบต.อบจ.ขนขยะไปทิ้งก็แบกค่าขนส่งไม่ไหว ทั้งนี้ เพียงแค่ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ลงมาสั่งการด้วยตัวเอง ขยะกองโตจะกำจัดอย่างถูกวิธี เกาะยาว ยังคงความสวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยวต่อไป”นายอรรถพลสรุปทิ้งท้าย
จากนั้นได้พระราชทานคำแนะนำให้ช่วยกันดูแล รวมทั้งให้มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเป็นแหล่งเรียนรู้ สอนให้นักเรียนรู้จักนำน้ำทะเลมาทดลองตรวจสอบวิเคราะห์ว่า น้ำมีสิ่งเจือปนอะไรบ้าง มีอะไรดีและมีอะไรที่เป็นปัญหา
จากกระแสรับสั่งดังกล่าว กลายเป็นแรงผลักดันสำคัญทำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตัดสินใจร่วมมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว
** โรงเรียนนำร่องปลุกจิตสำนึกเด็ก
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เล่าให้ฟังว่า พอสิ้นกระแสรับสั่ง คณะทำงานของ สพฐ.หารือร่วมกับผู้มีส่วนร่วมในพื้นที่เกาะยาว ลงพื้นที่สำรวจแบบปูพรม เพื่อเก็บข้อมูล พร้อมค้นหาต้นตอแหล่งปัญหา จากนั้นร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ในรูปแบบยั่งยืน
สำหรับในส่วนของสถานศึกษานั้น ได้จัดกิจกรรม Big Cleaning day ทุกวันที่ 15 ของเดือน โดยให้นักเรียน ครู ทุกแห่งที่ตั้งอยู่บนเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ ร่วมกันเก็บขยะรอบชุมชน บริเวณชายหาด ใส่ถุงดำ
มงคล ทศพงษ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนเกาะยาววิทยา เสริมว่า การรณรงค์ครั้งนี้ได้ปลุกจิตสำนึกให้นักเรียน พร้อมฝากไปยังผู้ปกครองให้ทิ้งขยะลงถัง ซึ่งเพียงเดือนเศษปรากฏว่าปริมาณขยะที่ทิ้งไว้เรี่ยราดลดน้อยลง ทิ้งลงถังขยะมากขึ้น
“ช่วงแรกๆ ที่รณรงค์ให้นักเรียนช่วยกันเก็บขยะ ยังไม่ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการด้านธุรกิจที่พักตากอากาศ พอครั้งที่ 2 และ 3 ชาวบ้านทยอยให้ความร่วมมือ บ้างก็มาร่วมเก็บขยะกับลูกหลาน บ้างก็เลือกไม่ทิ้งขยะเรี่ยราดเหมือนเคยเพราะ เขาคิดว่า ทิ้งปุ๊บ 2 มือของลูกหลานเขาเองต้องมาเดินกลางแดดเพื่อเก็บขยะ สำหรับขยะที่นักเรียนเก็บมานั้นจะเข้าสู่ขบวนการคัดเลือกขยะ แยกขยะขวด พลาสติก กระดาษ ก่อนที่จะนำไปแปรรูปต่อไป”
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ปริมาณขยะบนเกาะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ผอ.ร.ร.เกาะยาววิทยา บอกว่า เกิดจากธุรกิจท่องเที่ยวเติบโตเร็ว และไม่ได้มีมาตรการรองรับไว้ล่วงหน้า ขณะที่เจ้าของธุรกิจไม่มีระบบการจัดการน้ำเสีย ขยะ อย่างถูกวิธี และที่สำคัญคือบนเกาะยังไม่มีแหล่งหรือวิธีการกำจัดขยะอย่างถูกสุขลักษณะ
ขณะที่ “เจนจิรา เสโท” และเพื่อนนักเรียนโรงเรียนเกาะยาววิทยา บอกว่า ตอนนี้จำนวนขยะยังไม่มากนัก แต่วันข้างหน้าปริมาณขยะอาจล้นเกาะได้ ถ้าธุรกิจด้านการท่องเที่ยวโตแบบก้าวกระโดด คือ ช่วง 5 ปีมานี้ มีการสร้างรีสอร์ต บ้านพักตากอากาศ บริเวณใกล้ชายหาด เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพัก มากิน ยิ่งมีคนมาพักมากเท่าไหร่ปริมาณขยะก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น
“พวกเราสังเกตว่าเขารับนักท่องเที่ยวมาพักบนเกาะ และซื้ออาหารมาจากตัวเมือง แล้วทำไมเขาจึงไม่ขนขยะกลับไปทิ้งในเมือง ซึ่งมีระบบกำจัดดีกว่า”เจนจิราตั้งข้อสงสัย
** กำจัดขยะผิดสุขลักษณะ
นอกจากเรื่องขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว อีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือระบบการกำจัดขยะบนเกาะ เนื่องเพราะไม่ได้ผ่านการคัดแยก แถมสถานที่ตั้งของบ่อขยะยังอยู่ใกล้ทะเลซึ่งน้ำท่วมถึง เมื่อน้ำทะเลขึ้นหรือฝนตกลงมาก็จะท่วมขังบ่อขยะพร้อมทั้งนำน้ำเสียไหลลงทะเลกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ขณะที่บ่อขยะดังกล่าวเป็นบ่อขยะแบบเปิดและขนาดใหญ่ ซึ่งกว่าขยะจะเต็มบ่อต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ดังนั้น ระหว่างรอให้ขยะเต็ม ก็ทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์เหม็นคลุ้งไปทั่ว
อรรถพล ไตรศรี รองนายก อบจ.เกาะยาว อธิบายความจริงที่เกิดขึ้นว่า ปัจจุบันการทำงานของหน่วยงานต่างๆ จะมีลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่มีการประสานกัน อีกอย่างหน่วยงานที่จัดเก็บขยะก็ขาดองค์ความรู้ นอกจากนี้ พื้นที่บนเกาะยาวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าสงวน หากกรมป่าไม้อนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อกำจัดขยะ ทาง อบต. อบจ.ยินดีให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ
“จริงๆ ปัญหาขยะเกลื่อนเกาะ เพิ่งเกิดขึ้นช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา โดยมีนักท่องเที่ยวมาพักค้างคืนบนเกาะ เพื่อจะไปเที่ยวตามเกาะต่างๆ แถบทะเลอันดามัน เมื่อธุรกิจท่องเที่ยวเติบโตแบบก้าวกระโดด ควรต้องเข้ามามีส่วนรับผิดชอบอย่าทิ้งขยะลงทะเล เพราะน้ำทะเลจะพัดขยะเหล่านั้นกลับมายังเกาะ พร้อมกันนี้ควรจ่ายเงินในการกำจัดขยะให้ท้องถิ่น หรือขนขยะไปทิ้งในเมือง หากให้ อบต.อบจ.ขนขยะไปทิ้งก็แบกค่าขนส่งไม่ไหว ทั้งนี้ เพียงแค่ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ลงมาสั่งการด้วยตัวเอง ขยะกองโตจะกำจัดอย่างถูกวิธี เกาะยาว ยังคงความสวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยวต่อไป”นายอรรถพลสรุปทิ้งท้าย