“อภิรักษ์” แนะผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.ทั้งหลายอย่าชูนโยบายแก้ปัญหาจราจรหาเสียง เพราะอำนาจส่วนใหญ่ยังอยู่รัฐบาล ถ้าไม่รั้นทำเองคงแก้ปัญหาจราจรไม่ได้
วันนี้ (27 มิ.ย.) ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า และโครงการวิทยาลัยการเมือง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดสัมมนา เรื่อง “ทิศทางการบริหารกรุงเทพมหานครในทศวรรษหน้า” เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนาในการแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อปฏิรูปการบริหาร กทม.รวมทั้งเพื่อรวบรวมความคิดเห็นเชิงข้อเสนอแนะจากผู้เข้าสัมมนาและนำเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาต่อไป โดยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวตอนหนึ่งในการปาฐกถาพิเศษการบริหารกรุงเทพมหานคร อุปสรรคและวิสัยทัศน์ของผู้ว่าฯ กทม.ว่า ตั้งแต่ตนเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯกทม. เมื่อปลายปี 2547 ก็ได้มีการปฏิรูประบบบริหารราชการมาโดยตลอด มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่เขต มีการประเมินผลการทำงานทุก 3 เดือน โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ตนและคณะผู้บริหารได้ทำงานดูแลทุกข์สุขให้กับคนกรุงเทพฯที่มีอยู่ประมาณ 10-12 ล้านคน ซึ่งรวมถึงผู้ที่มาทำงานในกทม.ด้วย โดยมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการพัฒนากทม.ให้เป็นเมืองน่าอยู่ อย่างยั่งยืน มีระบบบริหารจัดการที่โปร่งใส เป็นองค์กรที่ให้บริการประชาชนได้ดีที่สุด
แต่ในการทำงานก็มักจะมีอุปสรรค เพราะ กทม.มีผู้ว่าฯมาจากการเลือกตั้ง และอีก 3 เดือนข้างหน้านี้จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ เนื่องจากตนจะหมดวาระในเดือนสิงหาคมนี้ และหากผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดชูนโยบายแก้ไขปัญหาจราจรแล้วข้อเท็จจริงคงทำได้ยากเพราะทุกวันนี้ยังคงมีการถกเถียงกันอยู่ว่าระบบการจราจรและขนส่งใครจะเป็นผู้ดูแล แม้กทม.จะมีสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) แต่ก็มีอำนาจหน้าที่แค่ตีเส้นจราจร ส่วนสัญญาณไฟจราจรเป็นหน้าที่ของกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ที่ขึ้นอยู่กับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ส่วนรถเมล์ที่ปล่อยรถควันดำ บางครั้งเกิดอุบัติชนคนตายก็เป็นหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม ขณะที่ระบบรถไฟฟ้าที่ กทม.ประกาศทำ 2 สายทางปัจจุบันใกล้แล้วเสร็จซึ่งหากรอรัฐบาลก็คงไม่สามารถแก้ปัญหาจราจรได้ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการประกาศจะทำ 7-9 สาย ก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด
“ถ้าถามนายกเทศมนตรีของกรุงโซล โตเกียว เมืองเกิดปัญหารถติดคนแก้ไขก็ต้องเป็นนายกเทศมนตรี หรือแม้แต่ถาม จอร์จ ดับเบิล ยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หากนิวยอร์กรถติดจอร์จ ดับเบิล ยู บุช จะไปแก้ไขให้ไหม มันก็ไม่ได้ต้องเป็นหน้าที่ของนายกเทศมนตรีของเมืองนั้นๆ ดังนั้น เราจึงต้องจัดตั้งบริษัทโครงสร้างพื้นฐานโดยทำงานร่วมกับปริมณฑล และมีการก่อตั้งองค์กรขนส่งนครหลวงซึ่งจะต้องมีการผลักดันให้เกิดขึ้นจริงเพื่อช่วยบริหารจัดการปัญหาจราจรเหมือนที่เมืองสิงคโปร์ ลอนดอน กรุงโซล มีซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ที่อื่นเข้ามามาเป็น 10ๆ ปีแล้ว” นายอภิรักษ์ กล่าวและว่า แม้กระทั่งการบริหารจัดการ กทม.โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่เวลาแต่งตั้งแตะละครั้งทุกคนก็จะเพ่งเล็งมาที่ผู้ว่าฯกทม.แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าผู้ว่าฯ กทม.เป็นเพียงกรรมการคนหนึ่ง โดยมีกรรมการคนอื่นๆมาจากผู้ทรงคุณวุฒิโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานดังนั้นการแต่งตั้งโยกย้ายทุกตำแหน่งต้องผ่านคณะกรรมการ กก.ไม่ใช่ผ่านตนเพียงคนเดียว ส่วนเรื่องบประมาณที่รัฐบาลให้ กทม.ซึ่งเป็นส่วนแบ่งจากการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายและงบอุดหนุนปีละประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทรวมกับรายได้ที่ กทม.จัดเก็บภาษีเอง 4.5 หมื่นล้านบาท ในปี 2551 รวมแล้วประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ดูแล้วเหมือนจะเยอะมาก แต่เมื่อเปรียบเทียบกับข้าราชการ และลูกจ้าง กทม.ที่มีเกือบ 1 แสนคน เงินส่วนใหญ่จะใช้เป็นสวัสดิการการเงินเดือนลูกจ้าง ค่าน้ำค่าไปและค่าน้ำมัน ซึ่งก็เกือบจะไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดของ กทม.
นอกจากนี้ ปัญหาการเมืองในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการเดินขบวนจนเกิดการปฏิวัติ และล่าสุดก็มีการชุมนุมปัญหาเหล่านี้ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน กทม.และสำหรับคนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
วันนี้ (27 มิ.ย.) ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า และโครงการวิทยาลัยการเมือง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดสัมมนา เรื่อง “ทิศทางการบริหารกรุงเทพมหานครในทศวรรษหน้า” เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนาในการแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อปฏิรูปการบริหาร กทม.รวมทั้งเพื่อรวบรวมความคิดเห็นเชิงข้อเสนอแนะจากผู้เข้าสัมมนาและนำเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาต่อไป โดยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวตอนหนึ่งในการปาฐกถาพิเศษการบริหารกรุงเทพมหานคร อุปสรรคและวิสัยทัศน์ของผู้ว่าฯ กทม.ว่า ตั้งแต่ตนเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯกทม. เมื่อปลายปี 2547 ก็ได้มีการปฏิรูประบบบริหารราชการมาโดยตลอด มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่เขต มีการประเมินผลการทำงานทุก 3 เดือน โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ตนและคณะผู้บริหารได้ทำงานดูแลทุกข์สุขให้กับคนกรุงเทพฯที่มีอยู่ประมาณ 10-12 ล้านคน ซึ่งรวมถึงผู้ที่มาทำงานในกทม.ด้วย โดยมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการพัฒนากทม.ให้เป็นเมืองน่าอยู่ อย่างยั่งยืน มีระบบบริหารจัดการที่โปร่งใส เป็นองค์กรที่ให้บริการประชาชนได้ดีที่สุด
แต่ในการทำงานก็มักจะมีอุปสรรค เพราะ กทม.มีผู้ว่าฯมาจากการเลือกตั้ง และอีก 3 เดือนข้างหน้านี้จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ เนื่องจากตนจะหมดวาระในเดือนสิงหาคมนี้ และหากผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดชูนโยบายแก้ไขปัญหาจราจรแล้วข้อเท็จจริงคงทำได้ยากเพราะทุกวันนี้ยังคงมีการถกเถียงกันอยู่ว่าระบบการจราจรและขนส่งใครจะเป็นผู้ดูแล แม้กทม.จะมีสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) แต่ก็มีอำนาจหน้าที่แค่ตีเส้นจราจร ส่วนสัญญาณไฟจราจรเป็นหน้าที่ของกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ที่ขึ้นอยู่กับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ส่วนรถเมล์ที่ปล่อยรถควันดำ บางครั้งเกิดอุบัติชนคนตายก็เป็นหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม ขณะที่ระบบรถไฟฟ้าที่ กทม.ประกาศทำ 2 สายทางปัจจุบันใกล้แล้วเสร็จซึ่งหากรอรัฐบาลก็คงไม่สามารถแก้ปัญหาจราจรได้ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการประกาศจะทำ 7-9 สาย ก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด
“ถ้าถามนายกเทศมนตรีของกรุงโซล โตเกียว เมืองเกิดปัญหารถติดคนแก้ไขก็ต้องเป็นนายกเทศมนตรี หรือแม้แต่ถาม จอร์จ ดับเบิล ยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หากนิวยอร์กรถติดจอร์จ ดับเบิล ยู บุช จะไปแก้ไขให้ไหม มันก็ไม่ได้ต้องเป็นหน้าที่ของนายกเทศมนตรีของเมืองนั้นๆ ดังนั้น เราจึงต้องจัดตั้งบริษัทโครงสร้างพื้นฐานโดยทำงานร่วมกับปริมณฑล และมีการก่อตั้งองค์กรขนส่งนครหลวงซึ่งจะต้องมีการผลักดันให้เกิดขึ้นจริงเพื่อช่วยบริหารจัดการปัญหาจราจรเหมือนที่เมืองสิงคโปร์ ลอนดอน กรุงโซล มีซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ที่อื่นเข้ามามาเป็น 10ๆ ปีแล้ว” นายอภิรักษ์ กล่าวและว่า แม้กระทั่งการบริหารจัดการ กทม.โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่เวลาแต่งตั้งแตะละครั้งทุกคนก็จะเพ่งเล็งมาที่ผู้ว่าฯกทม.แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าผู้ว่าฯ กทม.เป็นเพียงกรรมการคนหนึ่ง โดยมีกรรมการคนอื่นๆมาจากผู้ทรงคุณวุฒิโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานดังนั้นการแต่งตั้งโยกย้ายทุกตำแหน่งต้องผ่านคณะกรรมการ กก.ไม่ใช่ผ่านตนเพียงคนเดียว ส่วนเรื่องบประมาณที่รัฐบาลให้ กทม.ซึ่งเป็นส่วนแบ่งจากการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายและงบอุดหนุนปีละประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทรวมกับรายได้ที่ กทม.จัดเก็บภาษีเอง 4.5 หมื่นล้านบาท ในปี 2551 รวมแล้วประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ดูแล้วเหมือนจะเยอะมาก แต่เมื่อเปรียบเทียบกับข้าราชการ และลูกจ้าง กทม.ที่มีเกือบ 1 แสนคน เงินส่วนใหญ่จะใช้เป็นสวัสดิการการเงินเดือนลูกจ้าง ค่าน้ำค่าไปและค่าน้ำมัน ซึ่งก็เกือบจะไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดของ กทม.
นอกจากนี้ ปัญหาการเมืองในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการเดินขบวนจนเกิดการปฏิวัติ และล่าสุดก็มีการชุมนุมปัญหาเหล่านี้ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน กทม.และสำหรับคนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน