“พงศกร” ผุดไอเดีย เตรียมขยายหลักสูตรเฉพาะทาง ปั้นนักศึกษาพันธุ์อาร์รองรับตลาดแรงงาน แย้มติดปัญหาอาจารย์ส่วนใหญ่ไร้ประสบการณ์จริง รู้ทฤษฎี พร้อมปรับหลักสูตรให้สอนหลายสาขา เพื่อเด็กมีทางเลือกทำงานหลายทาง
นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า นับจากที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกับ บริษัทกลุ่มปิโตรเคมี เพื่อผลิตนักศึกษาสายปิโตรเคมีตามความต้องการของตลาดแรงงาน จึงมีแนวคิดจับมีภาคเอกชน ปั้นนักศึกษา สายยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยวและการโรงเรียน ฯลฯ ในปีหน้า อย่างไรก็ตาม ก่อนพัฒนาหลักสูตรเฉพาะด้านนั้น ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมร่างหลักสูตร คัดเลือกผู้ที่จะเข้าเรียนด้วย
ทั้งนี้ สอศ.เคยทำการสำรวจตลาดแรงงานว่ายังขาดแรงงานด้านใดบ้าง และมีสาขาใดที่ล่าสมัย เรียนจบออกไปแล้วไม่มีงานทำ พบว่า ตลาดแรงงานต้องการนักศึกษาจบสาขาปิโตรเคมี ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยวฯ และก่อสร้าง เพราะตลาดยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนสาขาที่ตลาดไม่ต้องการนั้น ไม่มี เพียงแต่ตลาดแรงงานรับจำนวนน้อย
ทาง สอศ.พยายามปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยแล้วก็ตรงกับตลาดแรงงานต้องการ แต่ยังติดปัญหาที่อาจารย์ผู้สอนส่วนมาก เรียนจบมาเป็นอาจารย์สอนทันที ไม่มีประสบการณ์การทำงาน บางอย่างต้องอาศัยประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน ถึงจะถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ได้ดีกว่าท่องทฤษฎีมาสอน พร้อมกันนี้ให้ปรับการเรียนการสอนให้นักศึกษามีทักษะด้านสายอาชีพหลายด้านๆ เพื่อให้นักศึกษาเรียนจบแล้วเลือกประกอบอาชีพได้หลายทาง
“สอศ.ต้องการปั้นนักศึกษาสายปฏิบัติการ มืออาชีพ โดยมีทักษะโดดเด่นในสาขาที่เลือกเรียน ขณะเดียวกัน ให้เติมความรู้หลายสาขาเข้าไปด้วย ไม่ใช่เรียนช่างยนต์ แล้วรู้เฉพาะเครื่องยนต์เท่านั้น ควรเสริมเรื่องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น หรือว่า เลือกเรียนการโรงแรมและการท่องเที่ยว ต้องสอนการต้อนรับตามมาตรฐานสากล และเน้นทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษด้วย ไม่ใช่จบการโรงแรมแต่พูดอังกฤษไม่ได้ เด็กเรียนจบไปต้องทำงานข้างหลัง อย่างห้องครัว ปูเตียง”
นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า นับจากที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกับ บริษัทกลุ่มปิโตรเคมี เพื่อผลิตนักศึกษาสายปิโตรเคมีตามความต้องการของตลาดแรงงาน จึงมีแนวคิดจับมีภาคเอกชน ปั้นนักศึกษา สายยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยวและการโรงเรียน ฯลฯ ในปีหน้า อย่างไรก็ตาม ก่อนพัฒนาหลักสูตรเฉพาะด้านนั้น ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมร่างหลักสูตร คัดเลือกผู้ที่จะเข้าเรียนด้วย
ทั้งนี้ สอศ.เคยทำการสำรวจตลาดแรงงานว่ายังขาดแรงงานด้านใดบ้าง และมีสาขาใดที่ล่าสมัย เรียนจบออกไปแล้วไม่มีงานทำ พบว่า ตลาดแรงงานต้องการนักศึกษาจบสาขาปิโตรเคมี ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยวฯ และก่อสร้าง เพราะตลาดยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนสาขาที่ตลาดไม่ต้องการนั้น ไม่มี เพียงแต่ตลาดแรงงานรับจำนวนน้อย
ทาง สอศ.พยายามปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยแล้วก็ตรงกับตลาดแรงงานต้องการ แต่ยังติดปัญหาที่อาจารย์ผู้สอนส่วนมาก เรียนจบมาเป็นอาจารย์สอนทันที ไม่มีประสบการณ์การทำงาน บางอย่างต้องอาศัยประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน ถึงจะถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ได้ดีกว่าท่องทฤษฎีมาสอน พร้อมกันนี้ให้ปรับการเรียนการสอนให้นักศึกษามีทักษะด้านสายอาชีพหลายด้านๆ เพื่อให้นักศึกษาเรียนจบแล้วเลือกประกอบอาชีพได้หลายทาง
“สอศ.ต้องการปั้นนักศึกษาสายปฏิบัติการ มืออาชีพ โดยมีทักษะโดดเด่นในสาขาที่เลือกเรียน ขณะเดียวกัน ให้เติมความรู้หลายสาขาเข้าไปด้วย ไม่ใช่เรียนช่างยนต์ แล้วรู้เฉพาะเครื่องยนต์เท่านั้น ควรเสริมเรื่องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น หรือว่า เลือกเรียนการโรงแรมและการท่องเที่ยว ต้องสอนการต้อนรับตามมาตรฐานสากล และเน้นทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษด้วย ไม่ใช่จบการโรงแรมแต่พูดอังกฤษไม่ได้ เด็กเรียนจบไปต้องทำงานข้างหลัง อย่างห้องครัว ปูเตียง”