“พงศกร” หารือกระทรวงแรงงาน หาแนวทางดูแลนักศึกษาต่างชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่เข้ามาศึกษาต่อระดับ ปวช.-ปวส.ในสังกัดอาชีวศึกษาของไทย ระบุไม่ควรให้ work permit เพราะไม่ถือเป็นแรงงาน เป็นแค่นักศึกษาที่มาฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการไทย
นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนได้เข้าหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยตนได้นำประเด็นเรื่องนักศึกษาต่างชาติไปหารือร่วมกับกระทรวงแรงงาน เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีนโยบายส่งนักศึกษาในสังกัดไปศึกษา และฝึกปฏิบัติงานในต่างประเทศ ขณะเดียวกัน สอศ.ก็รับนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเรียนต่อ และฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย พม่า กัมพูชา และลาว ปีละประมาณไม่ต่ำกว่า 300 คน ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และมาศึกษาต่อระดับ ปวช.และปวส. ในสถานศึกษาสังกัด สอศ.ของไทย ดังนั้น ในฐานะที่ตนกำกับดูแล สอศ. จึงต้องรายงานให้กระทรวงแรงงานให้ได้รับทราบถึงนโยบายการรับนักศึกษาต่างชาติเข้ามาฝึกปฏิบัติงานภายในโรงงานของไทย เพื่อให้กระทรวงแรงงาน และ สอศ.ได้หาวิธีการและจัดระบบดูแลนักศึกษาต่างชาติกลุ่มนี้
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปอีกว่า นักศึกษาต่างชาติจากประเทศใกล้เคียงที่เข้ามาเรียนในไทยตามโครงการของ สอศ.นั้นไม่ถือว่าเป็นแรงงานต่างชาติ แม้ว่าจะต้องฝึกปฏิบัติงานอยู่ในโรงงาน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมาพิจารณาตามข้อกฎหมายเพื่อหาแนวทางคุ้มครองนักศึกษากลุ่มนี้ ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ โดยระมัดระวังไม่ให้ผู้ที่อาจจะอาศัยช่องว่างทางกฎหมายลักลอบแรงงานแอบแฝงเข้ามาในรูปของนักศึกษาด้วย
“กระทรวงแรงงานจะต้องเป็นผู้พิจารณาว่า นักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนควรจะถือใบอนุญาตรูปแบบใด โดยอาจจะพิจารณาให้เข้าเมืองโดยถือใบอนุญาต work permit หรือจะอนุญาตให้เป็น visa student ซึ่งผมได้แจ้งกับกระทรวงแรงงานไปว่า นักศึกษากลุ่มนี้แม้ว่าจะต้องเข้าไปทำงานในสถานประกอบการของไทย แต่ไม่ถือว่าเป็นแรงงาน จึงไม่ควรจะให้ work permit ซึ่ง สอศ.และกระทรวงแรงงานจะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวในวันที่ 9 มิ.ย.ที่จะถึงนี้”นายพงศกรกล่าว
นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนได้เข้าหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยตนได้นำประเด็นเรื่องนักศึกษาต่างชาติไปหารือร่วมกับกระทรวงแรงงาน เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีนโยบายส่งนักศึกษาในสังกัดไปศึกษา และฝึกปฏิบัติงานในต่างประเทศ ขณะเดียวกัน สอศ.ก็รับนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเรียนต่อ และฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย พม่า กัมพูชา และลาว ปีละประมาณไม่ต่ำกว่า 300 คน ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และมาศึกษาต่อระดับ ปวช.และปวส. ในสถานศึกษาสังกัด สอศ.ของไทย ดังนั้น ในฐานะที่ตนกำกับดูแล สอศ. จึงต้องรายงานให้กระทรวงแรงงานให้ได้รับทราบถึงนโยบายการรับนักศึกษาต่างชาติเข้ามาฝึกปฏิบัติงานภายในโรงงานของไทย เพื่อให้กระทรวงแรงงาน และ สอศ.ได้หาวิธีการและจัดระบบดูแลนักศึกษาต่างชาติกลุ่มนี้
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปอีกว่า นักศึกษาต่างชาติจากประเทศใกล้เคียงที่เข้ามาเรียนในไทยตามโครงการของ สอศ.นั้นไม่ถือว่าเป็นแรงงานต่างชาติ แม้ว่าจะต้องฝึกปฏิบัติงานอยู่ในโรงงาน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมาพิจารณาตามข้อกฎหมายเพื่อหาแนวทางคุ้มครองนักศึกษากลุ่มนี้ ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ โดยระมัดระวังไม่ให้ผู้ที่อาจจะอาศัยช่องว่างทางกฎหมายลักลอบแรงงานแอบแฝงเข้ามาในรูปของนักศึกษาด้วย
“กระทรวงแรงงานจะต้องเป็นผู้พิจารณาว่า นักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนควรจะถือใบอนุญาตรูปแบบใด โดยอาจจะพิจารณาให้เข้าเมืองโดยถือใบอนุญาต work permit หรือจะอนุญาตให้เป็น visa student ซึ่งผมได้แจ้งกับกระทรวงแรงงานไปว่า นักศึกษากลุ่มนี้แม้ว่าจะต้องเข้าไปทำงานในสถานประกอบการของไทย แต่ไม่ถือว่าเป็นแรงงาน จึงไม่ควรจะให้ work permit ซึ่ง สอศ.และกระทรวงแรงงานจะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวในวันที่ 9 มิ.ย.ที่จะถึงนี้”นายพงศกรกล่าว