ผอ.หลักสูตรสหสิ่งแวดล้อมฯ จุฬาฯ ชี้ โลกร้อนต้นเหตุสภาวะอากาศปั่นป่วน ระบุ ภัยพิบัติทางธรรมชาติจะรุนแรงและเกิดบ่อยขึ้นกว่าอดีต เผยแม่ฮ่องสอน พะเยา นครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมดินถล่มระดับรุนแรง ในขณะที่นครราชสีมา บุรีรัมย์ และฉะเชิงเทราจะเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งระดับรุนแรง ในขณะที่พื้นที่เสี่ยงในกรุงเทพฯ คือ 18 ตารางกิโลเมตรปากแม่น้ำเจ้าพระยา ด้าน หน.ศูนย์วิศวะฯ แผ่นดินไหวระบุต้องคุมอาคารให้ได้มาตรฐาน ต้องสร้างสำนึกความปลอดภัยพร้อมย้ำควรมีองค์กรตรวจสอบการก่อสร้างอาคาร
วันนี้ (22 พ.ค.) ที่ห้องประชุม 2 อาคารสถาบัน 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดเสวนาขึ้นภายใต้หัวข้อเรื่อง “สัญญาเตือนภัยจากพายุนาร์กีส กับความพร้อมของไทยในการรับมือภัยพิบัติ” โดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านสภาวะแวดล้อมและภัยพิบัติ รวมถึงตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการเสวนา ซึ่งมีทั้งนักวิชาการ นิสิตนักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป เข้าร่วมฟังเสวนาเป็นจำนวนมาก
ดร.แสงจันทร์ ลิ้มจิรกาล ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาสิ่งแวดล้อม การพัฒนา และความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการเก็บข้อมูลและการวิจัยพบว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงต่อสภาวะอากาศและมีผลต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติด้วย ซึ่งต่อไปนี้ในอนาคต โลกจะต้องเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงและถี่กว่าในอดีต ซึ่งผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่ระบุแบบเดียวกัน
“ผลการเก็บข้อมูลและวิจัยพบว่า ในระยะเวลา 100 ปี นับจากการเกิดปฏิวัติอุตสาหกรรม อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น 0.73 องศาเซลเซียส และในส่วนของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น มองว่าภัยที่จะมีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของวาตภัยและอุทกภัย และโดยเฉพาะปัจจุบันมีการตัดไม้ทำลายป่ามาก ดังนั้นภัยที่จะตามมาอีกอย่างก็ดินถล่ม”
ดร.แสงจันทร์ ให้ข้อมูลเพิ่มว่า จากภาวะที่โลกร้อนขึ้น ส่งผลต่อสภาพอากาศของประเทศไทยด้วย คือในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคมสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยประมาณ 17 องศาเซลเซียส ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 18 องศาเซลเซียส
“สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาตินี้ ระบุว่าอุทกภัยที่จะเกิดส่วนใหญ่จะเกิดในพื้นที่ภาคกลาง และถึงขณะนี้มีตำบลที่ได้รับความเดือดร้อนแล้ว 4,000 กว่าตำบล ในขณะที่พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มประมาณ 41% อยู่ในภาคใต้ และ 31% อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภัยแล้งอยู่ในภาคอีสาน ซึ่งจากข้อมูลในขณะนี้พบว่ามีกว่า 5,000 ตำบลแล้วที่ได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง
ส่วนพื้นที่ในกรุงเทพมหานครนั้น มีจุด Hot Spot หรือจุดเสี่ยงภัยอยู่ที่บริเวณ 18 ตารางกิโลเมตรปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เป็นจุดเสี่ยงภัยน้ำท่วมดินถล่ม
ส่วนแผนที่จุดเสี่ยงภัยที่เราทำขึ้นนั้น พบว่าจังหวัดที่เสี่ยงต่อภัยดินถล่มระดับค่อนข้างรุนแรงคือ ระดับ 7 จาก10ระดับคือแม่ฮ่องสอน พะเยา และนครศรีธรรมราช ในขณะที่พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งระดับ 7 อยู่ที่นครราชสีมา บุรีรัมย์ และ ฉะเชิงเทรา
ที่จำเป็นจะต้องจับตาดู ก็คือ พายุที่จะมาในเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ที่ต้องเฝ้าระวัง” ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาสิ่งแวดล้อมฯ กล่าว พร้อมทั้งกล่าวว่า ข้อมูลการวิจัยรายละเอียดทั้งหมดอยู่ในระหว่างการทำวิจัยที่มีระยะเวลา 14 เดือน ในขณะนี้ทำมาได้ประมาณ 9 เดือนแล้ว และเมื่อทำเสร็จจะส่งข้อมูลการวิจัยนี้ไปยังสกว.เพื่อนำข้อมูลไปส่งต่อแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อต่อไป
ด้านดร.สมชาย ใบม่วง ผู้อำนวยการสำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกกับภัยธรรมชาติด้านพายุหรือวาตภัยมากเกินไป เนื่องจากระบบการตรวจวัดพายุของประเทศไทยมีประสิทธิภาพดีเป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียน และได้รับการยอมรับในระดับสากลอยู่พอสมควร
“เรื่องพายุเราไม่ห่วง เพราะมันเกิดบนน้ำ เรามองเห็น ตอนนี้ศักยภาพการตรวจจับของเราทำได้ถึงระดับที่เราสามารถแจ้งเตือนได้ล่วงหน้าถึง 7 วัน คือเรามองเห็นตั้งแต่มันเริ่มก่อตัวเป็นกลุ่มเมฆ ซึ่งเราจะเฝ้าระวังกัน 24 ชั่วโมงรวมถึงมีภาพถ่ายดาวเทียมรายงานสภาพอากาศเข้ามาทุกๆ ครึ่งชั่วโมง ในขณะที่ภัยสึนามิเราจะเตือนล่วงหน้าได้ 10 นาที โดยการเตือนล่วงหน้า เราจะเตือนจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดภัยธรรมชาตินั้นๆ ที่เราเตือนไม่ได้ก็คือแผ่นดินไหว ที่มันอยู่ใต้ดินและเรามองไม่เห็น”
ผอ.สำนักพยากรณ์ฯ กรมอุตุฯกล่าวต่อไปอีกว่า ที่สำคัญไปกว่าการเตือนภัย ก็คือ การใส่ใจในสวัสดิภาพของตนเอง การรับฟังข่าวสารและการให้ความสำคัญกับการซ้อมรับภัยพิบัติซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวและเฉพาะหน้าที่ทุกหน่วยงานเข้าไปช่วยอะไรไม่ได้ในขณะที่เกิดภัยพิบัติ
“พวกเราสามารถเตือนล่วงหน้าได้ แต่เหตุการณ์เฉพาะหน้าเมื่อเกิดภัยพิบัติเป็นเรื่องของท่านที่จะช่วยตนเอง เนื่องจากท่านจะรู้จักสภาพภูมิประเทศของท่านดีกว่าผู้อื่น ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับการซ้อมรับมือภัยพิบัติที่หน่วยงานราชการจัดขึ้นจะช่วยได้มากครับ”
ดร.สมชาย กล่าวอีกด้วยว่า ในส่วนของพายุนั้น นักอุตุนิยมวิทยาถือว่าพายุลูกแรกในเดือนพฤษภาคมในฝั่งอันดามันจะเป็นเหมือนระฆังที่บอกว่าถึงฤดูฝน ซึ่งระยะนี้คำนวณจากลมและการเดินทางของพายุ เชื่อว่าจะไม่เข้ามายังประเทศไทยโดยตรง จึงอยากให้ประชาชนเบาใจ เพราะหากไม่มีพายุเลย จะทำให้ประเทศประสบสภาวะภัยแล้งเพราะฝนทิ้งช่วง และฝนที่ไม่ได้เกิดจากพายุจะให้น้ำฝนปริมาณไม่มากนัก
“เรามีประเทศเพื่อนบ้านเป็นปราการป้องกันพายุ เมื่อพายุระดับที่สูงกว่าดีเปรสชั่นเข้ามา จะพบกับปราการประเทศเพื่อนบ้านก่อน ก่อนจะลดระดับเป็นดีเปรสชั่นมายังประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นพายุที่ให้คุณมากกว่าโทษ เพราะฝนธรรมดาจะให้น้ำฝนไม่มาก ถ้าเราไม่มีพายุเลย เราจะเจอภัยแล้ง เขื่อนก็จะไม่มีน้ำ ฝนที่จะให้ปริมาณน้ำฝนมากๆ คือฝนจากพายุ” ดร.สมชาย กล่าว
ด้านนายสุวิทย์ คณีกุล รองอธิบดีป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระบุว่า กรมฯ เพิ่งถูกตั้งขึ้นเพียง 5 ปีเท่านั้น และกฎหมายใหม่ที่เพิ่งบังคับใช้ก็ใช้ได้เพียง 6 เดือน แต่ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะพัฒนาองค์กรต่อไป ในส่วนของการเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัตินั้น ก็มีมิสเตอร์เตือนภัยในทุกหมู่บ้านเสี่ยงภัย ซึ่งขณะนี้มีประมาณกว่า1,000หมู่บ้านแล้ว และในกรณืพื้นทีเสี่ยงภัยมากจะมีมิสเตอร์เสี่ยงภัย 2 คนต่อ 1 หมู่บ้านเพื่อคอยดูแลเป็นหูเป็นตาของชุมชน โดยการทำงานจะเน้นหลักการพึ่งพาตนเองในระดับหมู่บ้าน หากหมู่บ้านรับมือไม่ไหวก็ขอความช่วยเหลือจากหมู่บ้านข้างๆ และหากไม่ไหวก็ส่งต่อมาในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดเป็นทอดๆ ไป
“ก่อนหน้านี้ ก็เจอปัญหา คนไทยเป็นคนที่ไม่ค่อยเสียสละ ถ้าไม่มีงบประมาณก็จะจัดอบรมให้ความรู้ยาก ก่อนหน้านี้เราไม่มีงบประมาณ เมื่อส่งต่อนโยบายลงไปที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ก็มักจะมีปัญหาไม่มีงบ จะจัดอะไรแต่ละทีก็ต้องมีค่าข้าวค่ารถ ไม่งั้นก็ไม่มากัน ทำให้การอบรมให้ความรู้เป็นไปได้ค่อนข้างยาก แต่ตอนนี้กฎหมายใหม่ผ่านแล้ว ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะทำอะไรได้มากขึ้น”
ส่วน ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะ ทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในส่วนการรับมือภัยพิบัติที่น่าจะทำได้มากที่สุดคือเรื่องของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง
“เหตุการณ์แผ่นดินไหวในจีนครั้งล่าสุดนี้ พบว่า เด็กกว่าหมื่นคนต้องเสียชีวิต ซึ่งบรรดาพ่อแม่ของเด็กๆ เหล่านั้นต่างกล่าวกันว่าเด็กๆ ไม่ได้ตายเพราะแผ่นดินไหว แต่ตายเพราะการคอรัปชั่นในการสร้างอาคารที่โกงกินจนอาคารไม่ได้มาตรฐาน”
ศ.ดร.ปณิธาน กล่าวต่อไปอีกว่า ในส่วนของโรงเรียนหรืออาคารสาธารณะอย่างโรงพยาบาล สถานีดับเพลิง จำเป็นต้องสร้างให้แข็งแรงเป็นพิเศษ โดยเฉพาะโรงเรียนที่โดยมากมักมีพื้นที่มาก หากมีโครงสร้างที่แข็งแรงแล้วก็จะแปรสภาพเป็นที่หลบภัยได้อีกด้วย
“แม้จะเป็นอาคารที่สร้างก่อนการบังคับให้สร้างอาคารให้รองรับแผ่นดินไหว หากสร้างแบบถูกตามแบบมาตรฐาน ไม่มีการคอรัปชั่นเพื่อยักยอกเงินจนผิดแบบ ก็สามารถรับแรงสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าหากสร้างผิดแบบจะอันตรายมาก
“ถ้าสร้างผิดแบบหรือคอร์รัปชันใช้วัสดุไม่ได้มาตรฐานก็จะเป็นอาคารที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ต้องแผ่นดินไหวก็ถล่มได้ อย่างอาคารในเกาหลี เป็นอาคาร 5 ชั้น อยู่ๆ ก็ถล่มลงมาทับคนตายไป 500 กว่าคน ดังนั้นการสร้างอาคารให้ได้มาตรฐานแข็งแรงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ส่วนอาคารใหม่ๆ ที่มีการสร้างถูกแบบและรองรับแผ่นดินไหว รวมถึงใช้วัสดุต้านแรงเฉือนด้วยนั้น จะมีกำลังสำรองที่จะรับแรงแผ่นดินไหวได้มากกว่าแบบด้วย”
หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะ ทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือนกล่าวต่อไปอีกว่า ที่จำเป็นที่สุดตอนนี้คือการสร้าง “สำนึกความปลอดภัย” ให้แก่คนไทย พร้อมด้วยดำเนินการหด้วยหลัก 5 E คือ Education - ให้ความรู้ความเข้าใจในภัยพิบัติรวมถึงการป้องกัน, Engineering - การออกแบบต้องทำให้ถูกและได้มาตรฐาน, Enforcement - การบังคับใช้กฎหมายต้องศักดิ์สิทธิ์, Environment - ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ตัดต้นไม้ และ Ethic - คือตั้งอยู่บนศีลธรรมและจริยธรรม
“ในกรุงเทพมีอาคารประมาณ 2 ล้านหลัง ที่เป็นอาคารใหญ่มีประมาณ 1-2 หมื่นหลัง หากเป็นอาคารเก่าก็ควรดูแลซ่อมแซมให้แข็งแรง เสริมให้รองรับแผ่นดินไหวได้ อาคารใหม่ก็ควรควบคุมการสร้างให้ดี ที่ควรทำด่วนคือการเสริมอาคารโรงเรียนและสถาบันการศึกษาให้แข็งแรง รวมถึงโครงสร้างสาธารณะอย่างสะพานและสะพานลอยด้วย นอกจากนี้ควรมีการตั้งองค์กรดูแลและควบคุมการสร้างอาคาร ให้เหมือนกับอย.ดูแลผู้บริโภค เพื่อให้การสร้างอาคารเป็นไปอย่างได้มาตรฐาน” หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะ ทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน กล่าว
วันนี้ (22 พ.ค.) ที่ห้องประชุม 2 อาคารสถาบัน 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดเสวนาขึ้นภายใต้หัวข้อเรื่อง “สัญญาเตือนภัยจากพายุนาร์กีส กับความพร้อมของไทยในการรับมือภัยพิบัติ” โดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านสภาวะแวดล้อมและภัยพิบัติ รวมถึงตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการเสวนา ซึ่งมีทั้งนักวิชาการ นิสิตนักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป เข้าร่วมฟังเสวนาเป็นจำนวนมาก
ดร.แสงจันทร์ ลิ้มจิรกาล ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาสิ่งแวดล้อม การพัฒนา และความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการเก็บข้อมูลและการวิจัยพบว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงต่อสภาวะอากาศและมีผลต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติด้วย ซึ่งต่อไปนี้ในอนาคต โลกจะต้องเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงและถี่กว่าในอดีต ซึ่งผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่ระบุแบบเดียวกัน
“ผลการเก็บข้อมูลและวิจัยพบว่า ในระยะเวลา 100 ปี นับจากการเกิดปฏิวัติอุตสาหกรรม อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น 0.73 องศาเซลเซียส และในส่วนของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น มองว่าภัยที่จะมีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของวาตภัยและอุทกภัย และโดยเฉพาะปัจจุบันมีการตัดไม้ทำลายป่ามาก ดังนั้นภัยที่จะตามมาอีกอย่างก็ดินถล่ม”
ดร.แสงจันทร์ ให้ข้อมูลเพิ่มว่า จากภาวะที่โลกร้อนขึ้น ส่งผลต่อสภาพอากาศของประเทศไทยด้วย คือในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคมสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยประมาณ 17 องศาเซลเซียส ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 18 องศาเซลเซียส
“สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาตินี้ ระบุว่าอุทกภัยที่จะเกิดส่วนใหญ่จะเกิดในพื้นที่ภาคกลาง และถึงขณะนี้มีตำบลที่ได้รับความเดือดร้อนแล้ว 4,000 กว่าตำบล ในขณะที่พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มประมาณ 41% อยู่ในภาคใต้ และ 31% อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภัยแล้งอยู่ในภาคอีสาน ซึ่งจากข้อมูลในขณะนี้พบว่ามีกว่า 5,000 ตำบลแล้วที่ได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง
ส่วนพื้นที่ในกรุงเทพมหานครนั้น มีจุด Hot Spot หรือจุดเสี่ยงภัยอยู่ที่บริเวณ 18 ตารางกิโลเมตรปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เป็นจุดเสี่ยงภัยน้ำท่วมดินถล่ม
ส่วนแผนที่จุดเสี่ยงภัยที่เราทำขึ้นนั้น พบว่าจังหวัดที่เสี่ยงต่อภัยดินถล่มระดับค่อนข้างรุนแรงคือ ระดับ 7 จาก10ระดับคือแม่ฮ่องสอน พะเยา และนครศรีธรรมราช ในขณะที่พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งระดับ 7 อยู่ที่นครราชสีมา บุรีรัมย์ และ ฉะเชิงเทรา
ที่จำเป็นจะต้องจับตาดู ก็คือ พายุที่จะมาในเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ที่ต้องเฝ้าระวัง” ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาสิ่งแวดล้อมฯ กล่าว พร้อมทั้งกล่าวว่า ข้อมูลการวิจัยรายละเอียดทั้งหมดอยู่ในระหว่างการทำวิจัยที่มีระยะเวลา 14 เดือน ในขณะนี้ทำมาได้ประมาณ 9 เดือนแล้ว และเมื่อทำเสร็จจะส่งข้อมูลการวิจัยนี้ไปยังสกว.เพื่อนำข้อมูลไปส่งต่อแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อต่อไป
ด้านดร.สมชาย ใบม่วง ผู้อำนวยการสำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกกับภัยธรรมชาติด้านพายุหรือวาตภัยมากเกินไป เนื่องจากระบบการตรวจวัดพายุของประเทศไทยมีประสิทธิภาพดีเป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียน และได้รับการยอมรับในระดับสากลอยู่พอสมควร
“เรื่องพายุเราไม่ห่วง เพราะมันเกิดบนน้ำ เรามองเห็น ตอนนี้ศักยภาพการตรวจจับของเราทำได้ถึงระดับที่เราสามารถแจ้งเตือนได้ล่วงหน้าถึง 7 วัน คือเรามองเห็นตั้งแต่มันเริ่มก่อตัวเป็นกลุ่มเมฆ ซึ่งเราจะเฝ้าระวังกัน 24 ชั่วโมงรวมถึงมีภาพถ่ายดาวเทียมรายงานสภาพอากาศเข้ามาทุกๆ ครึ่งชั่วโมง ในขณะที่ภัยสึนามิเราจะเตือนล่วงหน้าได้ 10 นาที โดยการเตือนล่วงหน้า เราจะเตือนจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดภัยธรรมชาตินั้นๆ ที่เราเตือนไม่ได้ก็คือแผ่นดินไหว ที่มันอยู่ใต้ดินและเรามองไม่เห็น”
ผอ.สำนักพยากรณ์ฯ กรมอุตุฯกล่าวต่อไปอีกว่า ที่สำคัญไปกว่าการเตือนภัย ก็คือ การใส่ใจในสวัสดิภาพของตนเอง การรับฟังข่าวสารและการให้ความสำคัญกับการซ้อมรับภัยพิบัติซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวและเฉพาะหน้าที่ทุกหน่วยงานเข้าไปช่วยอะไรไม่ได้ในขณะที่เกิดภัยพิบัติ
“พวกเราสามารถเตือนล่วงหน้าได้ แต่เหตุการณ์เฉพาะหน้าเมื่อเกิดภัยพิบัติเป็นเรื่องของท่านที่จะช่วยตนเอง เนื่องจากท่านจะรู้จักสภาพภูมิประเทศของท่านดีกว่าผู้อื่น ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับการซ้อมรับมือภัยพิบัติที่หน่วยงานราชการจัดขึ้นจะช่วยได้มากครับ”
ดร.สมชาย กล่าวอีกด้วยว่า ในส่วนของพายุนั้น นักอุตุนิยมวิทยาถือว่าพายุลูกแรกในเดือนพฤษภาคมในฝั่งอันดามันจะเป็นเหมือนระฆังที่บอกว่าถึงฤดูฝน ซึ่งระยะนี้คำนวณจากลมและการเดินทางของพายุ เชื่อว่าจะไม่เข้ามายังประเทศไทยโดยตรง จึงอยากให้ประชาชนเบาใจ เพราะหากไม่มีพายุเลย จะทำให้ประเทศประสบสภาวะภัยแล้งเพราะฝนทิ้งช่วง และฝนที่ไม่ได้เกิดจากพายุจะให้น้ำฝนปริมาณไม่มากนัก
“เรามีประเทศเพื่อนบ้านเป็นปราการป้องกันพายุ เมื่อพายุระดับที่สูงกว่าดีเปรสชั่นเข้ามา จะพบกับปราการประเทศเพื่อนบ้านก่อน ก่อนจะลดระดับเป็นดีเปรสชั่นมายังประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นพายุที่ให้คุณมากกว่าโทษ เพราะฝนธรรมดาจะให้น้ำฝนไม่มาก ถ้าเราไม่มีพายุเลย เราจะเจอภัยแล้ง เขื่อนก็จะไม่มีน้ำ ฝนที่จะให้ปริมาณน้ำฝนมากๆ คือฝนจากพายุ” ดร.สมชาย กล่าว
ด้านนายสุวิทย์ คณีกุล รองอธิบดีป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระบุว่า กรมฯ เพิ่งถูกตั้งขึ้นเพียง 5 ปีเท่านั้น และกฎหมายใหม่ที่เพิ่งบังคับใช้ก็ใช้ได้เพียง 6 เดือน แต่ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะพัฒนาองค์กรต่อไป ในส่วนของการเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัตินั้น ก็มีมิสเตอร์เตือนภัยในทุกหมู่บ้านเสี่ยงภัย ซึ่งขณะนี้มีประมาณกว่า1,000หมู่บ้านแล้ว และในกรณืพื้นทีเสี่ยงภัยมากจะมีมิสเตอร์เสี่ยงภัย 2 คนต่อ 1 หมู่บ้านเพื่อคอยดูแลเป็นหูเป็นตาของชุมชน โดยการทำงานจะเน้นหลักการพึ่งพาตนเองในระดับหมู่บ้าน หากหมู่บ้านรับมือไม่ไหวก็ขอความช่วยเหลือจากหมู่บ้านข้างๆ และหากไม่ไหวก็ส่งต่อมาในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดเป็นทอดๆ ไป
“ก่อนหน้านี้ ก็เจอปัญหา คนไทยเป็นคนที่ไม่ค่อยเสียสละ ถ้าไม่มีงบประมาณก็จะจัดอบรมให้ความรู้ยาก ก่อนหน้านี้เราไม่มีงบประมาณ เมื่อส่งต่อนโยบายลงไปที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ก็มักจะมีปัญหาไม่มีงบ จะจัดอะไรแต่ละทีก็ต้องมีค่าข้าวค่ารถ ไม่งั้นก็ไม่มากัน ทำให้การอบรมให้ความรู้เป็นไปได้ค่อนข้างยาก แต่ตอนนี้กฎหมายใหม่ผ่านแล้ว ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะทำอะไรได้มากขึ้น”
ส่วน ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะ ทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในส่วนการรับมือภัยพิบัติที่น่าจะทำได้มากที่สุดคือเรื่องของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง
“เหตุการณ์แผ่นดินไหวในจีนครั้งล่าสุดนี้ พบว่า เด็กกว่าหมื่นคนต้องเสียชีวิต ซึ่งบรรดาพ่อแม่ของเด็กๆ เหล่านั้นต่างกล่าวกันว่าเด็กๆ ไม่ได้ตายเพราะแผ่นดินไหว แต่ตายเพราะการคอรัปชั่นในการสร้างอาคารที่โกงกินจนอาคารไม่ได้มาตรฐาน”
ศ.ดร.ปณิธาน กล่าวต่อไปอีกว่า ในส่วนของโรงเรียนหรืออาคารสาธารณะอย่างโรงพยาบาล สถานีดับเพลิง จำเป็นต้องสร้างให้แข็งแรงเป็นพิเศษ โดยเฉพาะโรงเรียนที่โดยมากมักมีพื้นที่มาก หากมีโครงสร้างที่แข็งแรงแล้วก็จะแปรสภาพเป็นที่หลบภัยได้อีกด้วย
“แม้จะเป็นอาคารที่สร้างก่อนการบังคับให้สร้างอาคารให้รองรับแผ่นดินไหว หากสร้างแบบถูกตามแบบมาตรฐาน ไม่มีการคอรัปชั่นเพื่อยักยอกเงินจนผิดแบบ ก็สามารถรับแรงสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าหากสร้างผิดแบบจะอันตรายมาก
“ถ้าสร้างผิดแบบหรือคอร์รัปชันใช้วัสดุไม่ได้มาตรฐานก็จะเป็นอาคารที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ต้องแผ่นดินไหวก็ถล่มได้ อย่างอาคารในเกาหลี เป็นอาคาร 5 ชั้น อยู่ๆ ก็ถล่มลงมาทับคนตายไป 500 กว่าคน ดังนั้นการสร้างอาคารให้ได้มาตรฐานแข็งแรงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ส่วนอาคารใหม่ๆ ที่มีการสร้างถูกแบบและรองรับแผ่นดินไหว รวมถึงใช้วัสดุต้านแรงเฉือนด้วยนั้น จะมีกำลังสำรองที่จะรับแรงแผ่นดินไหวได้มากกว่าแบบด้วย”
หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะ ทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือนกล่าวต่อไปอีกว่า ที่จำเป็นที่สุดตอนนี้คือการสร้าง “สำนึกความปลอดภัย” ให้แก่คนไทย พร้อมด้วยดำเนินการหด้วยหลัก 5 E คือ Education - ให้ความรู้ความเข้าใจในภัยพิบัติรวมถึงการป้องกัน, Engineering - การออกแบบต้องทำให้ถูกและได้มาตรฐาน, Enforcement - การบังคับใช้กฎหมายต้องศักดิ์สิทธิ์, Environment - ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ตัดต้นไม้ และ Ethic - คือตั้งอยู่บนศีลธรรมและจริยธรรม
“ในกรุงเทพมีอาคารประมาณ 2 ล้านหลัง ที่เป็นอาคารใหญ่มีประมาณ 1-2 หมื่นหลัง หากเป็นอาคารเก่าก็ควรดูแลซ่อมแซมให้แข็งแรง เสริมให้รองรับแผ่นดินไหวได้ อาคารใหม่ก็ควรควบคุมการสร้างให้ดี ที่ควรทำด่วนคือการเสริมอาคารโรงเรียนและสถาบันการศึกษาให้แข็งแรง รวมถึงโครงสร้างสาธารณะอย่างสะพานและสะพานลอยด้วย นอกจากนี้ควรมีการตั้งองค์กรดูแลและควบคุมการสร้างอาคาร ให้เหมือนกับอย.ดูแลผู้บริโภค เพื่อให้การสร้างอาคารเป็นไปอย่างได้มาตรฐาน” หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะ ทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน กล่าว