ลูกหนี้ กยศ.กว่า 5 แสนราย เบี้ยวหนี้ ไม่ติดต่อขอชำระเงิน วอนให้รีบติดต่อคืนเงินเพื่อนำไปหมุนเวียนปล่อยกู้ให้รุ่นน้อง หากเพิกเฉยจะถูกดำเนินการทางกฎหมาย ระบุ หากชำระหนี้ทั้งหมดจะมีเงินก้อนเข้ามาอีก 4,500 ล้านบาท
นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าวว่า ในปีการศึกษา 2551 นี้ มีผู้กู้ กยศ.ที่ครบกำหนดชำระหนี้ งวดวันที่ 5 กรกฎาคมนี้ จำนวน 1.74 ล้านคน แต่จนถึงขณะนี้ มีผู้กู้ที่มาติดต่อขอชำระหนี้ตามกำหนดเพียง 70% หรือประมาณ 1.2 ล้านคน ยังเหลือที่ไม่มาติดต่อขอชำระอีกกว่า 5 แสนคน ซึ่ง กยศ.ก็เห็นใจผู้กู้ในภาวะเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพสูง แต่ก็อยากขอความร่วมมือ เพราะ กยศ. จำเป็นต้องนำเงินดังกล่าวไปให้ผู้กู้รุ่นน้อง ซึ่งปีนี้รัฐบาลมีนโยบายขยายเพดานรายได้ครอบครัวของผู้กู้จาก 1.5 แสนบาทต่อปี เป็นประมาณ 2.5 แสนบาทต่อปี ซึ่งจะทำให้ กยศ.ต้องใช้เงินจำนวนมาก เพื่อรองรับจำนวนผู้กู้ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงขอให้ผู้กู้ที่ค้างชำระมาติดต่อขอชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนด มิเช่นนั้นถือว่าผิดนัดและจะต้องดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมาย
นพ.ธาดา กล่าวอีกว่า ขณะนี้ กยศ.เพิ่มช่องทางการติดต่อขอชำระหนี้เป็น 3 ช่องทาง คือ ติดต่อชำระที่เคาน์เตอร์ของธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ หรือผู้ที่มีรายได้ประจำสามารถหักหนี้ผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือสามารถชำระผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงไทย เพื่อให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้อย่างสะดวกมากขึ้น ซึ่งหากผู้กู้ทุกคนมาชำระหนี้ตามกำหนด ก็จะทำให้ กยศ.ได้เงินก้อนเพิ่มเข้ามาอีก 4,500 ล้านบาท
นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าวว่า ในปีการศึกษา 2551 นี้ มีผู้กู้ กยศ.ที่ครบกำหนดชำระหนี้ งวดวันที่ 5 กรกฎาคมนี้ จำนวน 1.74 ล้านคน แต่จนถึงขณะนี้ มีผู้กู้ที่มาติดต่อขอชำระหนี้ตามกำหนดเพียง 70% หรือประมาณ 1.2 ล้านคน ยังเหลือที่ไม่มาติดต่อขอชำระอีกกว่า 5 แสนคน ซึ่ง กยศ.ก็เห็นใจผู้กู้ในภาวะเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพสูง แต่ก็อยากขอความร่วมมือ เพราะ กยศ. จำเป็นต้องนำเงินดังกล่าวไปให้ผู้กู้รุ่นน้อง ซึ่งปีนี้รัฐบาลมีนโยบายขยายเพดานรายได้ครอบครัวของผู้กู้จาก 1.5 แสนบาทต่อปี เป็นประมาณ 2.5 แสนบาทต่อปี ซึ่งจะทำให้ กยศ.ต้องใช้เงินจำนวนมาก เพื่อรองรับจำนวนผู้กู้ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงขอให้ผู้กู้ที่ค้างชำระมาติดต่อขอชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนด มิเช่นนั้นถือว่าผิดนัดและจะต้องดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมาย
นพ.ธาดา กล่าวอีกว่า ขณะนี้ กยศ.เพิ่มช่องทางการติดต่อขอชำระหนี้เป็น 3 ช่องทาง คือ ติดต่อชำระที่เคาน์เตอร์ของธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ หรือผู้ที่มีรายได้ประจำสามารถหักหนี้ผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือสามารถชำระผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงไทย เพื่อให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้อย่างสะดวกมากขึ้น ซึ่งหากผู้กู้ทุกคนมาชำระหนี้ตามกำหนด ก็จะทำให้ กยศ.ได้เงินก้อนเพิ่มเข้ามาอีก 4,500 ล้านบาท