เด็กรุ่นใหม่เมินอาชีพเกษตร เหตุพ่อแม่ไม่อยากให้ลูกเหนื่อย ส่งลูกเรียนอาชีพอื่น ฝาก ศธ.ใช้ อี-เลิร์นนิง ปฏิรูปการเรียนการสอนวิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตร และวิทยาลัยอาชีวะเกษตร นำ อี-เลิร์นนิง มาใช้ในการเรียนการสอนเกษตร ผลผลิตเพิ่ม-เด็กไม่ออกจากบ้านเกิด
ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา กล่าวว่า เด็กรุ่นใหม่สนใจทำงานเกษตรน้อยลง เพราะพ่อแม่ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่อยากให้ลูกสืบสานอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากตนเองเหน็ดเหนื่อย จึงไม่ต้องการให้ลูกเหนื่อย ด้วยเหตุนี้ จึงส่งเสียลูกเรียนหนังสือระดับสูงหรืออาชีพอื่น จุดนี้ชี้ชัดว่าการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมไทยล้มเหลว และชาวนาชาวไร่มักคิดว่าอาชีพเกษตรกรรมไม่มีความมั่นคง จึงแนะนำให้ลูกหลานไปทำอาชีพอื่น ประจวบกับการรุกของวัฒนธรรม กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้ผู้คนมีชีวิตไม่เรียบง่าย หันไปบริโภควัตถุนิยม ทุนนิยม ดังนั้น การศึกษาจึงต้องเข้ามามีส่วนช่วยในการแก้ระบบความคิด ความเชื่อ และสร้างความรู้ให้กับเกษตรกรรม
ทั้งนี้ วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาลัยอาชีวะ 43 แห่ง โดยมีลูกของเกษตรกร กว่า 99% มาเรียน พอเรียนจบไป กลับไปทำอาชีพอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม เพราะออกไปประกอบอาชีพอื่นมีรายได้มากกว่า อยากฝากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปฎิรูปการเรียนการสอนวิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตร และวิทยาลัยอาชีวะเกษตร อย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยใช้อีเลินนิ่ง หลักคิด หลักวิชา เป็นตัวช่วย อาทิ เด็กอาชีวะ ที่พ่อแม่ทำอาชีพปลูกสตอเบอรี่ขาย ถ้านำเวลาที่เรียนในห้องเรียน ปรับมาเล่าเรียนบนพื้นที่เกษตรจริงๆ ผ่านการเรียนแบบอีเลนนิ่ง ย่อมดีกว่าเป็นแน่ อีกอย่างจะทำให้เด็กกลับไปอยู่ในพื้นที่เกษตร มากขึ้น
“เชื่อว่า 6 ปีข้างหน้า หากเด็กเรียนเกษตรผ่านระบบ อี-เลิร์นนิงได้ จะทำให้เด็กไม่ต้องเดินทางออกจากหมู่บ้าน ท้องถิ่นของตนเอง มาศึกษาเล่าเรียน แล้วยังเรียนรู้จากผืนดินเกษตรอย่างแท้จริง เชื่อว่าทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีจำนวนมากขึ้น รวมไปถึงทำให้เด็กไม่ออกมาจากชุมชนบ้านเกิด ไม่มาหลงวัตถุนิยม กระแสโลกาภิวัตน์ อย่างเช่นทุกวันนี้”
ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา กล่าวว่า เด็กรุ่นใหม่สนใจทำงานเกษตรน้อยลง เพราะพ่อแม่ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่อยากให้ลูกสืบสานอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากตนเองเหน็ดเหนื่อย จึงไม่ต้องการให้ลูกเหนื่อย ด้วยเหตุนี้ จึงส่งเสียลูกเรียนหนังสือระดับสูงหรืออาชีพอื่น จุดนี้ชี้ชัดว่าการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมไทยล้มเหลว และชาวนาชาวไร่มักคิดว่าอาชีพเกษตรกรรมไม่มีความมั่นคง จึงแนะนำให้ลูกหลานไปทำอาชีพอื่น ประจวบกับการรุกของวัฒนธรรม กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้ผู้คนมีชีวิตไม่เรียบง่าย หันไปบริโภควัตถุนิยม ทุนนิยม ดังนั้น การศึกษาจึงต้องเข้ามามีส่วนช่วยในการแก้ระบบความคิด ความเชื่อ และสร้างความรู้ให้กับเกษตรกรรม
ทั้งนี้ วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาลัยอาชีวะ 43 แห่ง โดยมีลูกของเกษตรกร กว่า 99% มาเรียน พอเรียนจบไป กลับไปทำอาชีพอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม เพราะออกไปประกอบอาชีพอื่นมีรายได้มากกว่า อยากฝากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปฎิรูปการเรียนการสอนวิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตร และวิทยาลัยอาชีวะเกษตร อย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยใช้อีเลินนิ่ง หลักคิด หลักวิชา เป็นตัวช่วย อาทิ เด็กอาชีวะ ที่พ่อแม่ทำอาชีพปลูกสตอเบอรี่ขาย ถ้านำเวลาที่เรียนในห้องเรียน ปรับมาเล่าเรียนบนพื้นที่เกษตรจริงๆ ผ่านการเรียนแบบอีเลนนิ่ง ย่อมดีกว่าเป็นแน่ อีกอย่างจะทำให้เด็กกลับไปอยู่ในพื้นที่เกษตร มากขึ้น
“เชื่อว่า 6 ปีข้างหน้า หากเด็กเรียนเกษตรผ่านระบบ อี-เลิร์นนิงได้ จะทำให้เด็กไม่ต้องเดินทางออกจากหมู่บ้าน ท้องถิ่นของตนเอง มาศึกษาเล่าเรียน แล้วยังเรียนรู้จากผืนดินเกษตรอย่างแท้จริง เชื่อว่าทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีจำนวนมากขึ้น รวมไปถึงทำให้เด็กไม่ออกมาจากชุมชนบ้านเกิด ไม่มาหลงวัตถุนิยม กระแสโลกาภิวัตน์ อย่างเช่นทุกวันนี้”