อย.ตอก “เฉลิม” มั่วข้อมูล ชี้เครื่องดื่มผสมกาเฟอีนไม่ใช่ยาเสพติด ไม่ได้เป็นสารตั้งต้นผลิตยาผิดกฎหมาย แต่จัดอยู่ในประเภทอาหาร เครื่องดื่ม มีการควบคุมปริมาณสารกาเฟอีนเข้มงวด มีฉลากคำเตือน แถมสุ่มตรวจทุกปี ไม่เคยพบมีสารเสพติดปลอมปน
จากกรณี ที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงการปราบปรามยาเสพติด โดยพูดถึงเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนว่าเป็นยาเสพติด โดยควรสอบถามไปยังประชาชนว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ในการที่ให้มีการจำหน่ายอย่างถูกกฎหมายนั้น
วันนี้ (11 มี.ค.) นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมช.สธ.พร้อมด้วย นายวัน อยู่บำรุง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีชาวยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกันแถลงข่าว
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนการแถลงเรื่องดังกล่าว นายชวรัตน์ ได้สอบถาม นายวัน ซึ่งเป็นบุตรชายของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง มท.1 ว่า มีที่มาอย่างไรต้องถามวัน ทั้งนี้ นายวัน กล่าวว่า เป็นเพียงการประสานขอให้ อย.ตรวจสอบเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนเท่านั้น โดยตนเองยังไม่ได้เจอหน้ากันเลย
อย่างไรก็ตาม นพ.นรังสันต์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กาเฟอีนไม่ได้ถือว่าเป็นยาเสพติด หรือสารเสพติด โดย อย.ได้ออกประกาศในการควบคุมปริมาณสารกาเฟอีนสังเคราะห์ที่ใส่ในเครื่องดื่มได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อหน่วยบรรจุ และต้องแสดงปริมาณกาเฟอีนที่สูตรและส่วนประกอบ พร้อมคำเตือนที่ฉลากให้ชัดเจน ดังนั้น เครื่องดื่มกาเฟอีนจึงเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ โดยสถานที่ผลิตต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543 ผลิตภัณฑ์เครื่องที่ผสมกาเฟอีน จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร กรณีสถานที่ผลิตเข้าข่ายโรงงานหรือขออนุญาตให้ฉลากอาหาร กรณีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่ายโรงงาน โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 214) เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
นพ.นรังสันต์ กล่าวอีกว่า อย.ให้เจ้าหน้าที่สุ่มตรวจเครื่องดื่มกาเฟอีนในท้องตลาดเป็นประจำทุกปี ซึ่งขณะนี้ก็กำลังเก็บตัวอย่างเครื่องดื่มกาเฟอีน 50 ตัวอย่าง วิเคราะห์คุณภาพทางวิชาการหากาเฟอีนและแอมเฟตามีน โดยจะได้รับผลสรุปในวันที่ 12 มี.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาไม่เคยได้รับรายงานหรือตรวจพบมาก่อนว่าเครื่องดื่มกาเฟอีนในท้องตลาดมีการผสมสารเสพติดแต่อย่างใด หรือหากมีการผสมสารเสพติดลงในเครื่องดื่ม ก็คงเป็นการทำเองภายหลังการซื้อขายไปแล้ว ซึ่งคงตรวจสอบได้ยาก อย่างไรก็ตาม จะมีการประสานข้อมูลไปยังกระทรวงมหาดไทยต่อไป ว่า มีข้อมูลในเรื่องดังกล่าวอย่างไร
จากกรณี ที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงการปราบปรามยาเสพติด โดยพูดถึงเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนว่าเป็นยาเสพติด โดยควรสอบถามไปยังประชาชนว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ในการที่ให้มีการจำหน่ายอย่างถูกกฎหมายนั้น
วันนี้ (11 มี.ค.) นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมช.สธ.พร้อมด้วย นายวัน อยู่บำรุง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีชาวยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกันแถลงข่าว
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนการแถลงเรื่องดังกล่าว นายชวรัตน์ ได้สอบถาม นายวัน ซึ่งเป็นบุตรชายของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง มท.1 ว่า มีที่มาอย่างไรต้องถามวัน ทั้งนี้ นายวัน กล่าวว่า เป็นเพียงการประสานขอให้ อย.ตรวจสอบเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนเท่านั้น โดยตนเองยังไม่ได้เจอหน้ากันเลย
อย่างไรก็ตาม นพ.นรังสันต์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กาเฟอีนไม่ได้ถือว่าเป็นยาเสพติด หรือสารเสพติด โดย อย.ได้ออกประกาศในการควบคุมปริมาณสารกาเฟอีนสังเคราะห์ที่ใส่ในเครื่องดื่มได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อหน่วยบรรจุ และต้องแสดงปริมาณกาเฟอีนที่สูตรและส่วนประกอบ พร้อมคำเตือนที่ฉลากให้ชัดเจน ดังนั้น เครื่องดื่มกาเฟอีนจึงเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ โดยสถานที่ผลิตต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543 ผลิตภัณฑ์เครื่องที่ผสมกาเฟอีน จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร กรณีสถานที่ผลิตเข้าข่ายโรงงานหรือขออนุญาตให้ฉลากอาหาร กรณีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่ายโรงงาน โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 214) เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
นพ.นรังสันต์ กล่าวอีกว่า อย.ให้เจ้าหน้าที่สุ่มตรวจเครื่องดื่มกาเฟอีนในท้องตลาดเป็นประจำทุกปี ซึ่งขณะนี้ก็กำลังเก็บตัวอย่างเครื่องดื่มกาเฟอีน 50 ตัวอย่าง วิเคราะห์คุณภาพทางวิชาการหากาเฟอีนและแอมเฟตามีน โดยจะได้รับผลสรุปในวันที่ 12 มี.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาไม่เคยได้รับรายงานหรือตรวจพบมาก่อนว่าเครื่องดื่มกาเฟอีนในท้องตลาดมีการผสมสารเสพติดแต่อย่างใด หรือหากมีการผสมสารเสพติดลงในเครื่องดื่ม ก็คงเป็นการทำเองภายหลังการซื้อขายไปแล้ว ซึ่งคงตรวจสอบได้ยาก อย่างไรก็ตาม จะมีการประสานข้อมูลไปยังกระทรวงมหาดไทยต่อไป ว่า มีข้อมูลในเรื่องดังกล่าวอย่างไร