สพฐ.สนองพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดครูอาสาเดินทางไปสอนภาษาไทยในประเทศอังกฤษ ให้กับคนไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองผู้ดี พร้อมจัดทำหลักสูตรภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับคนไทยในประเทศแถบยุโรปเพื่อนำไปใช้
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลชุดก่อน ซึ่งนำเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยเฝ้าฯ รับพระราชทานแนวทางการปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทรงปรารภถึงความสำคัญของภาษาไทย และทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทยในต่างประเทศดุจเดียวกับทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทยในประเทศไทย
ประเทศอังกฤษ หรือสหราชอาณาจักร เป็นอีกประเทศหนึ่งที่คนไทยนิยมเดินทางไปศึกษาหาความรู้ ไปประกอบอาชีพและมีครอบครัวเป็นจำนวนมาก ทำให้มีเด็กและเยาวชนเชื้อสายไทยจำนวนมากที่ใช้ชีวิตร่วมกับเด็กและเยาวชนนานาชาติใช้ภาษาท้องถิ่นซึ่งเป็นภาษาอังกฤษในการสื่อสาร หากเด็กและเยาวชนไทยในต่างแดนได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย อย่างที่พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้เรียนรู้สืบต่อกันมาย่อมจะมีคุณค่ามหาศาลแก่ครอบครัว ชุมชนไทยในประเทศนั้นๆ และประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความห่วงใยและตระหนักในเรื่องดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูตไทย ในสหราชอาณาจักร สถานกงสุลใหญ่ ณ กรุงลอนดอน และชมรมเพื่อนหญิงไทยในสหราชอาณาจักร ดำเนินโครงการสอนภาษาไทยในสหราชอาณาจักร โดยใช้ชื่อกิจกรรมว่า “ร้อยใจภาษาไทยในอังกฤษ”
สพฐ.ได้คัดเลือกครูอาสาจากประเทศไทยจำนวน 2 คน คือ นางศรีสุดา ธนอมรพงศ์ จากโรงเรียนวัดนากระรอก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2 และนางรัตติกาล ประยงค์เพชร จากโรงเรียนคลองบางแก้ว (ภิรมย์ประชาราษฎร์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ซึ่งนอกจากไปสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยให้กับเด็กไทยในประเทศอังกฤษเป็นการนำร่องโครงการเป็นเวลา 3 เดือน (มีนาคม-มิถุนายน 2551) ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคเรียนของประเทศไทยแล้ว ชมรมเพื่อนหญิงไทยในสหราชอาณาจักร ยังจะสนับสนุนให้ครูอาสาได้ช่วยแนะนำเพิ่มพูนความรู้ความสามารถแก่ครูอาสาที่ประจำอยู่ที่วัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอนอีกด้วย
“ขณะนี้ สพฐ.ได้สร้างหลักสูตร สื่อการเรียนการสอนเป็นการเฉพาะสำหรับใช้จัดการเรียนการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยแก่เด็ก เยาวชน และคนไทยในประเทศแถบยุโรปเสร็จแล้ว ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงเป็นระยะๆ ขณะนำไปใช้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนในแต่ละพื้นที่ให้มากที่สุด โครงการดังกล่าวนับว่าดีและมีประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนไทยในต่างแดนที่จะได้มีประสบการณ์เรียนรู้วัฒนธรรมไทย มีมารยาทอย่างไทย และรู้จักใช้ภาษาไทยสื่อสารได้ ซึ่งเด็กและเยาวชนไทยเหล่านี้จะเป็นความภูมิใจและความหวังของคนไทยได้ในอนาคต” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลชุดก่อน ซึ่งนำเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยเฝ้าฯ รับพระราชทานแนวทางการปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทรงปรารภถึงความสำคัญของภาษาไทย และทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทยในต่างประเทศดุจเดียวกับทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทยในประเทศไทย
ประเทศอังกฤษ หรือสหราชอาณาจักร เป็นอีกประเทศหนึ่งที่คนไทยนิยมเดินทางไปศึกษาหาความรู้ ไปประกอบอาชีพและมีครอบครัวเป็นจำนวนมาก ทำให้มีเด็กและเยาวชนเชื้อสายไทยจำนวนมากที่ใช้ชีวิตร่วมกับเด็กและเยาวชนนานาชาติใช้ภาษาท้องถิ่นซึ่งเป็นภาษาอังกฤษในการสื่อสาร หากเด็กและเยาวชนไทยในต่างแดนได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย อย่างที่พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้เรียนรู้สืบต่อกันมาย่อมจะมีคุณค่ามหาศาลแก่ครอบครัว ชุมชนไทยในประเทศนั้นๆ และประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความห่วงใยและตระหนักในเรื่องดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูตไทย ในสหราชอาณาจักร สถานกงสุลใหญ่ ณ กรุงลอนดอน และชมรมเพื่อนหญิงไทยในสหราชอาณาจักร ดำเนินโครงการสอนภาษาไทยในสหราชอาณาจักร โดยใช้ชื่อกิจกรรมว่า “ร้อยใจภาษาไทยในอังกฤษ”
สพฐ.ได้คัดเลือกครูอาสาจากประเทศไทยจำนวน 2 คน คือ นางศรีสุดา ธนอมรพงศ์ จากโรงเรียนวัดนากระรอก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2 และนางรัตติกาล ประยงค์เพชร จากโรงเรียนคลองบางแก้ว (ภิรมย์ประชาราษฎร์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ซึ่งนอกจากไปสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยให้กับเด็กไทยในประเทศอังกฤษเป็นการนำร่องโครงการเป็นเวลา 3 เดือน (มีนาคม-มิถุนายน 2551) ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคเรียนของประเทศไทยแล้ว ชมรมเพื่อนหญิงไทยในสหราชอาณาจักร ยังจะสนับสนุนให้ครูอาสาได้ช่วยแนะนำเพิ่มพูนความรู้ความสามารถแก่ครูอาสาที่ประจำอยู่ที่วัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอนอีกด้วย
“ขณะนี้ สพฐ.ได้สร้างหลักสูตร สื่อการเรียนการสอนเป็นการเฉพาะสำหรับใช้จัดการเรียนการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยแก่เด็ก เยาวชน และคนไทยในประเทศแถบยุโรปเสร็จแล้ว ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงเป็นระยะๆ ขณะนำไปใช้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนในแต่ละพื้นที่ให้มากที่สุด โครงการดังกล่าวนับว่าดีและมีประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนไทยในต่างแดนที่จะได้มีประสบการณ์เรียนรู้วัฒนธรรมไทย มีมารยาทอย่างไทย และรู้จักใช้ภาษาไทยสื่อสารได้ ซึ่งเด็กและเยาวชนไทยเหล่านี้จะเป็นความภูมิใจและความหวังของคนไทยได้ในอนาคต” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว