สทศ.เผยใช้ระบบ “เอไอเอส” โกงสอบโอเน็ต เชื่อมีหลายคนช่วยกันส่งคำตอบ โดยแบ่งกันจำข้อสอบ ระบุ ขณะนี้ทราบพื้นที่ที่ใช้ส่งสัญญาณแล้ว อยู่ใกล้กับสนามสอบ ชี้ ใช้เวลา 1 สัปดาห์ ฝ่ายสืบสวนน่าจะสรุปผลขบวนการโกงสอบได้
ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถายันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยความคืบหน้าการติดตามผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ว่า ขณะนี้มีการรายงานผลการจัดทดสอบโอเน็ตเข้ามาครบทั้ง 18 ศูนย์สอบแล้ว สรุปว่า มีผู้ทุจริตทั้งสิ้น 7 ราย รายล่าสุดคือเปิดโทรศัพท์ทิ้งไว้ และมีสายเรียกเข้ามาที่ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ซึ่งกรรมการผู้คุมสอบได้ปรับตกในวิชานั้น เพราะถือว่าส่อทุจริต อย่างไรก็ตาม ถือว่าการทุจริตในปีนี้น้อยกว่าปีที่ผ่านมาพบถึง 9 ราย เพียงแต่ในปีนี้มีการทุจริตที่ไฮเทคมากขึ้น
ส่วนความคืบหน้าในการสืบสวนกรณีทุจริตการสอบโอเน็ตผ่านนาฬิกามือถือนั้น ดร.อุทุมพร กล่าวว่า ขณะนี้ฝ่ายสืบสวนทราบแล้วว่าผู้ส่งกระทำในช่วงเวลาใด และทราบแล้วว่า สถานที่ส่งสัญญาณเป็นบริเวณใด ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับสนามสอบเตรียมอุดมศึกษาที่เกิดเหตุทุจริต อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าผู้ส่งสัญญาณทราบข้อสอบได้อย่างไร เพราะจากการตรวจสอบกระบวนการเก็บความลับข้อสอบไม่พบการรั่วไหล จึงสันนิษฐานว่า ผู้ที่ส่งสัญญาณเป็นผู้ที่เข้าสอบด้วย และอาจจะมีผู้ส่งสัญญาณเข้ามือถือหลายคน โดยแบ่งกันจำข้อสอบ แต่ใช้หมายเลขเดียวในการส่งข้อความ แต่เด็กไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียด
“ฝ่ายสืบสวนได้ตรวจสอบจากหมายเลขมือถือที่ส่งข้อความเข้ามา พบว่า เป็นหมายเลขในระบบเอไอเอส ซึ่ง สทศ.ได้ทำหนังสือถึงบริษัท เอไอเอส เพื่อขอความช่วยเหลือในการตรวจสอบรายละเอียด ตลอดจนพิกัดการใช้งานหมายเลขดังกล่าวอย่างถี่ถ้วน ซึ่งทางเอไอเอสก็มีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญอยู่ คาดว่า ไม่น่าจะ 1 สัปดาห์ฝ่ายสืบสวนน่าจะสรุปรายละเอียดของขบวนการโกงข้อสอบกลุ่มนี้ได้”
ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถายันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยความคืบหน้าการติดตามผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ว่า ขณะนี้มีการรายงานผลการจัดทดสอบโอเน็ตเข้ามาครบทั้ง 18 ศูนย์สอบแล้ว สรุปว่า มีผู้ทุจริตทั้งสิ้น 7 ราย รายล่าสุดคือเปิดโทรศัพท์ทิ้งไว้ และมีสายเรียกเข้ามาที่ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ซึ่งกรรมการผู้คุมสอบได้ปรับตกในวิชานั้น เพราะถือว่าส่อทุจริต อย่างไรก็ตาม ถือว่าการทุจริตในปีนี้น้อยกว่าปีที่ผ่านมาพบถึง 9 ราย เพียงแต่ในปีนี้มีการทุจริตที่ไฮเทคมากขึ้น
ส่วนความคืบหน้าในการสืบสวนกรณีทุจริตการสอบโอเน็ตผ่านนาฬิกามือถือนั้น ดร.อุทุมพร กล่าวว่า ขณะนี้ฝ่ายสืบสวนทราบแล้วว่าผู้ส่งกระทำในช่วงเวลาใด และทราบแล้วว่า สถานที่ส่งสัญญาณเป็นบริเวณใด ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับสนามสอบเตรียมอุดมศึกษาที่เกิดเหตุทุจริต อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าผู้ส่งสัญญาณทราบข้อสอบได้อย่างไร เพราะจากการตรวจสอบกระบวนการเก็บความลับข้อสอบไม่พบการรั่วไหล จึงสันนิษฐานว่า ผู้ที่ส่งสัญญาณเป็นผู้ที่เข้าสอบด้วย และอาจจะมีผู้ส่งสัญญาณเข้ามือถือหลายคน โดยแบ่งกันจำข้อสอบ แต่ใช้หมายเลขเดียวในการส่งข้อความ แต่เด็กไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียด
“ฝ่ายสืบสวนได้ตรวจสอบจากหมายเลขมือถือที่ส่งข้อความเข้ามา พบว่า เป็นหมายเลขในระบบเอไอเอส ซึ่ง สทศ.ได้ทำหนังสือถึงบริษัท เอไอเอส เพื่อขอความช่วยเหลือในการตรวจสอบรายละเอียด ตลอดจนพิกัดการใช้งานหมายเลขดังกล่าวอย่างถี่ถ้วน ซึ่งทางเอไอเอสก็มีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญอยู่ คาดว่า ไม่น่าจะ 1 สัปดาห์ฝ่ายสืบสวนน่าจะสรุปรายละเอียดของขบวนการโกงข้อสอบกลุ่มนี้ได้”