วีระศักดิ์ ขานรับรัฐบาล เร่งขยายศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ชี้ นักศึกษาได้ประสบการณ์ ส่วนเกษตรกรมีศูนย์รับซ่อมเครื่องมือในชุมชน แฉไม่ได้ขยายศูนย์ เพราะขาดงบสนับสนุน
นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวถึงการแถลงนโยบายของรัฐบาล โดยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี โดยระบุนโยบายเร่งด่วนขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-It Center) และสถาบันอาชีวศึกษา ว่า เป็นเรื่องที่ดีที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) พร้อมสนับสนุนโครงการนี้ เพราะช่วยลดรายจ่ายภาคประชาชน โดยเฉพาะให้เกษตรกรใช้เครื่องมือเป็น ส่งผลให้ยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือทำมาหากิน บางครั้งเกษตรกรอยู่ห่างไกลไม่มีที่ซ่อมเครื่องมือหากเกิดชำรุดเสียหาย หากต้องนำไปซ่อมนอกชุมชนราคาจะแพงมาก แถมยังเสียเวลาด้วย ที่สำคัญ โครงการนี้ช่วยเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอนของนักศึกษาอาชีวะได้ฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง และนำความรู้มาช่วยครอบครัว ญาติพี่น้องได้อีกด้วย
ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนเป็นการดำเนินงานระหว่าง สอศ.กับกรมการพัฒนาชุมชนและกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งแรกมี 2,000 ศูนย์ มีนักศึกษาอาชีวะประจำศูนย์ละ 5 คน รวม 10,000 คน ครั้งที่ 2 มีเกือบ 10,000 ศูนย์ นักศึกษาอาชีวะเกือบ 50,000 คน อย่างไรก็ตาม ได้จัดเบี้ยเลี้ยงให้นักศึกษาที่ทำงานทั้งวันทั้งคืนเฉลี่ย 300 บาทต่อคนต่อวัน นอกจากนั้นยังได้เชิญชวนช่างที่อยู่ในชุมชนนั้นๆ เข้าร่วมโครงการด้วย เพื่อยกระดับช่างในชุมชน อย่างไรก็ตาม หลังจาก 2 ครั้งแล้ว ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนในส่วนนี้ ทาง สอศ.ต้องลดพื้นที่ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนลงเหลือแค่อบรมระยะสั้น โดยใช้งบประมาณปกติไปดำเนินการ
“ช่วงที่ทำโครงการนี้เราเคยประเมินผล พบว่า ประสบความสำเร็จมาก นักศึกษาได้ออกไปฝึกปฏิบัติงานจริง และบรรลุเป้าหมาย อยากให้มีโครงการต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเราซื้อรถมายังไม่อ่านคู่มือใช้ เกษตรกรก็เหมือนกันซื้อเครื่องไถดิน หรือเครื่องสูบน้ำ อายุการใช้งานจะสั้นเพราะใช้ไม่ถูกวิธี สอส.ก็ไปอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือทำกินอย่างถูกต้อง ต้องนี้ช่วยยืดอายุการใช้งาน และหากเครื่องมือมีปัญหา นักศึกษาจะช่วยซ่อมพร้อมให้ความรู้ควบคู่ไปด้วย เผื่อว่ามีปัญหาเล็กน้อยชาวบ้านก็พอมีความรู้สามารถแก้ไขกันเอง” นายวีระศักดิ์ กล่าว
นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวถึงการแถลงนโยบายของรัฐบาล โดยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี โดยระบุนโยบายเร่งด่วนขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-It Center) และสถาบันอาชีวศึกษา ว่า เป็นเรื่องที่ดีที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) พร้อมสนับสนุนโครงการนี้ เพราะช่วยลดรายจ่ายภาคประชาชน โดยเฉพาะให้เกษตรกรใช้เครื่องมือเป็น ส่งผลให้ยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือทำมาหากิน บางครั้งเกษตรกรอยู่ห่างไกลไม่มีที่ซ่อมเครื่องมือหากเกิดชำรุดเสียหาย หากต้องนำไปซ่อมนอกชุมชนราคาจะแพงมาก แถมยังเสียเวลาด้วย ที่สำคัญ โครงการนี้ช่วยเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอนของนักศึกษาอาชีวะได้ฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง และนำความรู้มาช่วยครอบครัว ญาติพี่น้องได้อีกด้วย
ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนเป็นการดำเนินงานระหว่าง สอศ.กับกรมการพัฒนาชุมชนและกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งแรกมี 2,000 ศูนย์ มีนักศึกษาอาชีวะประจำศูนย์ละ 5 คน รวม 10,000 คน ครั้งที่ 2 มีเกือบ 10,000 ศูนย์ นักศึกษาอาชีวะเกือบ 50,000 คน อย่างไรก็ตาม ได้จัดเบี้ยเลี้ยงให้นักศึกษาที่ทำงานทั้งวันทั้งคืนเฉลี่ย 300 บาทต่อคนต่อวัน นอกจากนั้นยังได้เชิญชวนช่างที่อยู่ในชุมชนนั้นๆ เข้าร่วมโครงการด้วย เพื่อยกระดับช่างในชุมชน อย่างไรก็ตาม หลังจาก 2 ครั้งแล้ว ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนในส่วนนี้ ทาง สอศ.ต้องลดพื้นที่ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนลงเหลือแค่อบรมระยะสั้น โดยใช้งบประมาณปกติไปดำเนินการ
“ช่วงที่ทำโครงการนี้เราเคยประเมินผล พบว่า ประสบความสำเร็จมาก นักศึกษาได้ออกไปฝึกปฏิบัติงานจริง และบรรลุเป้าหมาย อยากให้มีโครงการต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเราซื้อรถมายังไม่อ่านคู่มือใช้ เกษตรกรก็เหมือนกันซื้อเครื่องไถดิน หรือเครื่องสูบน้ำ อายุการใช้งานจะสั้นเพราะใช้ไม่ถูกวิธี สอส.ก็ไปอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือทำกินอย่างถูกต้อง ต้องนี้ช่วยยืดอายุการใช้งาน และหากเครื่องมือมีปัญหา นักศึกษาจะช่วยซ่อมพร้อมให้ความรู้ควบคู่ไปด้วย เผื่อว่ามีปัญหาเล็กน้อยชาวบ้านก็พอมีความรู้สามารถแก้ไขกันเอง” นายวีระศักดิ์ กล่าว