ผู้ป่วยบัตรทองได้มีชีวิตใหม่จากโครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง เฉลิมพระเกียรติ 80 และ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เผยผู้ป่วยซาบซึ้งในโครงการ เนื่องจากมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ระบุ โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของคนไทย การรักษาด้วยการผ่าตัดมีค่าใช้จ่ายสูง แต่โครงการนี้ทำให้คนไทยเข้าถึงบริการมากขึ้น ได้รับการรักษาเร็ว
วันนี้ (13 ก.พ.) ที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี กทม. พลเรือเอกหม่อมหลวงอัศนี ปราโมช องคมนตรี และ นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีมอบเข็มที่ระลึกและโล่เกียรติคุณ โครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง เฉลิมพระเกียรติ 80 และ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมีนายแพทย์ยุทธ โพธารามิก รองเลขาธิการมูลนิธิ พอ.สว. นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นายแพทย์วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นพยาน
นายไชยา กล่าวว่า ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจมากขึ้นทุกปี อัตราเพิ่มของผู้ที่ต้องได้รับการผ่าตัดเพิ่มกว่าร้อยละ 15 ต่อปี และโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ และหลอดเลือดก็กลายเป็นสาเหตุการตายของประชากรทั้งประเทศ เป็นอันดับ 3 รองจากอุบัติเหตุและมะเร็ง ทุกชั่วโมงคนไทยตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 2.3 คน และมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจรายใหม่เกิดขึ้นประมาณ 21,700 รายต่อปี ทั้งนี้ มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้อัตราการเกิดโรคหัวใจสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น วิถีการดำเนินชีวิต การออกกำลังกายน้อยลง อาหารที่มีไขมันสูงเกลือมาก เบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคอ้วน ฯลฯ การปรับวิถีชีวิต เพื่อการป้องกันเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในขณะที่การรักษามีเพียง 2 วิธี คือ การรับประทานยา และการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
รมว.สธ.กล่าวต่อว่า การผ่าตัดหัวใจเป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง และการดูแลรักษาโรคนี้ต้องการการปรับวิถีการใช้ชีวิตและรับประทานยาต่อเนื่อง ความทุกข์จะทบเท่าทวีคูณในผู้ป่วยที่มีรายได้น้อย และเป็นการลดคุณภาพการใช้ชีวิตของคนในครอบครัวอย่างยิ่ง ส่งผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพและรายจ่ายของครัวเรือน และยังเป็นภาระของโรงพยาบาลที่ต้องให้การดูแลต่อเนื่อง เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง กลายเป็นอุปสรรคของการเข้าถึงระบบการดูแลรักษา จึงเป็นที่น่ายินดีที่มีโครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง เฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะเรื่องการจัดคิวผ่าตัดให้กับผู้ป่วยไม่ต้องรอคิวนาน
ด้าน นพ.วินัย กล่าวว่า มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.ได้ร่วมกันจัดทำโครงการพิเศษ ภายใต้ชื่อ โครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง เฉลิมพระเกียรติ 80 และ 84 พรรษา มีเป้าหมายมุ่งที่การสร้างหลักประกันการเข้าถึงบริการสุขภาพในทุกสภาวะการเจ็บป่วย สำหรับประชาชนทุกวัยและทุกช่วงเวลาของชีวิต ให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องครบวงจร ผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 สามารถให้บริการผ่าตัดหัวใจให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้จำนวนทั้งสิ้น 8,268 คน แยกเป็นเพศชายจำนวน 4,082 คน เพศหญิงจำนวน 4,186 คน การดำเนินการนี้ ทำให้แพทย์สามารถผ่าตัดได้มากขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 25 และทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ต้องรอคิวนาน ได้รับบริการที่ดี ใกล้บ้าน ใกล้ใจ
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะหมดระยะเวลาแล้ว แต่ผู้ป่วยโรคหัวใจสิทธิบัตรทอง ก็จะได้รับการดูแลรักษาตามปกติ และมีประสิทธิภาพต่อไป สำหรับงบประมาณดำเนินโครงการนั้นใช้งบจาก สปสช. 960 ล้านบาท และเงินบริจาคผ่านมูลนิธิพอ.สว.ซึ่งได้รับบริจาค 11 ล้านบาท โดยหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วก็จะมอบให้กับมูลนิธิ พอ.สว.เพื่อใช้ในโครงการต่างๆ ต่อไป
วันนี้ (13 ก.พ.) ที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี กทม. พลเรือเอกหม่อมหลวงอัศนี ปราโมช องคมนตรี และ นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีมอบเข็มที่ระลึกและโล่เกียรติคุณ โครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง เฉลิมพระเกียรติ 80 และ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมีนายแพทย์ยุทธ โพธารามิก รองเลขาธิการมูลนิธิ พอ.สว. นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นายแพทย์วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นพยาน
นายไชยา กล่าวว่า ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจมากขึ้นทุกปี อัตราเพิ่มของผู้ที่ต้องได้รับการผ่าตัดเพิ่มกว่าร้อยละ 15 ต่อปี และโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ และหลอดเลือดก็กลายเป็นสาเหตุการตายของประชากรทั้งประเทศ เป็นอันดับ 3 รองจากอุบัติเหตุและมะเร็ง ทุกชั่วโมงคนไทยตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 2.3 คน และมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจรายใหม่เกิดขึ้นประมาณ 21,700 รายต่อปี ทั้งนี้ มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้อัตราการเกิดโรคหัวใจสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น วิถีการดำเนินชีวิต การออกกำลังกายน้อยลง อาหารที่มีไขมันสูงเกลือมาก เบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคอ้วน ฯลฯ การปรับวิถีชีวิต เพื่อการป้องกันเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในขณะที่การรักษามีเพียง 2 วิธี คือ การรับประทานยา และการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
รมว.สธ.กล่าวต่อว่า การผ่าตัดหัวใจเป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง และการดูแลรักษาโรคนี้ต้องการการปรับวิถีการใช้ชีวิตและรับประทานยาต่อเนื่อง ความทุกข์จะทบเท่าทวีคูณในผู้ป่วยที่มีรายได้น้อย และเป็นการลดคุณภาพการใช้ชีวิตของคนในครอบครัวอย่างยิ่ง ส่งผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพและรายจ่ายของครัวเรือน และยังเป็นภาระของโรงพยาบาลที่ต้องให้การดูแลต่อเนื่อง เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง กลายเป็นอุปสรรคของการเข้าถึงระบบการดูแลรักษา จึงเป็นที่น่ายินดีที่มีโครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง เฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะเรื่องการจัดคิวผ่าตัดให้กับผู้ป่วยไม่ต้องรอคิวนาน
ด้าน นพ.วินัย กล่าวว่า มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.ได้ร่วมกันจัดทำโครงการพิเศษ ภายใต้ชื่อ โครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง เฉลิมพระเกียรติ 80 และ 84 พรรษา มีเป้าหมายมุ่งที่การสร้างหลักประกันการเข้าถึงบริการสุขภาพในทุกสภาวะการเจ็บป่วย สำหรับประชาชนทุกวัยและทุกช่วงเวลาของชีวิต ให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องครบวงจร ผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 สามารถให้บริการผ่าตัดหัวใจให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้จำนวนทั้งสิ้น 8,268 คน แยกเป็นเพศชายจำนวน 4,082 คน เพศหญิงจำนวน 4,186 คน การดำเนินการนี้ ทำให้แพทย์สามารถผ่าตัดได้มากขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 25 และทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ต้องรอคิวนาน ได้รับบริการที่ดี ใกล้บ้าน ใกล้ใจ
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะหมดระยะเวลาแล้ว แต่ผู้ป่วยโรคหัวใจสิทธิบัตรทอง ก็จะได้รับการดูแลรักษาตามปกติ และมีประสิทธิภาพต่อไป สำหรับงบประมาณดำเนินโครงการนั้นใช้งบจาก สปสช. 960 ล้านบาท และเงินบริจาคผ่านมูลนิธิพอ.สว.ซึ่งได้รับบริจาค 11 ล้านบาท โดยหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วก็จะมอบให้กับมูลนิธิ พอ.สว.เพื่อใช้ในโครงการต่างๆ ต่อไป