“คุณหญิงไขศรี” ไม่เห็นด้วยให้ วธ.รับจดแจ้งการพิมพ์ตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 เพราะบุคลากรมีจำกัด และต้องมีความรู้อย่างรอบคอบ แต่พร้อมดำเนินการตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย โดยให้สำนักหอสมุดแห่งชาติรับจดใน กทม.ส่วนวัฒนธรรมจังหวัดรับจดในภูมิภาค และส่งต่อให้ รมว.วธ.คนใหม่สานต่อ
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวว่า ตามที่องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้เข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550นั้น ขณะนี้ วธ.ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นหน่วยงานรับจดแจ้งการพิมพ์แทนกระทรวงมหาดไทย(มท.)ที่เคยทำหน้าที่นี้อยู่ เนื่องจากเห็นว่า วธ.ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานสื่ออยู่แล้ว โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ รวมทั้งมีสำนักหอสมุดแห่งชาติเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับหนังสือ ตลอดจนสื่อสิ่งพิมพ์ของประเทศทั้งหมด จึงน่าจะดูแลเรื่องดังกล่าวได้
“โดยส่วนตัวแล้ว ดิฉันไม่เห็นด้วย ที่จะให้ วธ.ทำหน้าที่รับจดแจ้งการพิมพ์ เพราะยังไม่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะต้องมีความรู้ในการพิจาณาอย่างรอบคอบ ในขณะเดียวกันบุคลาการก็ยังมีจำกัด แต่เมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นว่า กระทรวงวัฒนธรรมมีความเหมาะสมก็พร้อมจะรับดำเนินการ โดยจะต้องรอกฤษฎีกาออกกฎกระทรวงให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจะประสานกับกระทรวงมหาดไทย ที่มีประสบการณ์อยู่แล้วมาให้ความรู้บุคลากรของ วธ.ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าว ตลอดจนจะต้องเตรียมสถานที่ให้เพียงพอบริการประชาชน โดยให้หอสมุดแห่งชาติ เป็นผู้รับจดในเขตกรุงเทพฯ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด เป็นผู้รับจดในส่วนภูมิภาค ตามที่ได้รับมอบหมาย อย่างไรก็ตาม ดิฉันคงจะอยู่ไม่ทันการดำเนินงานทั้งหมด แต่จะส่งต่อให้ รมว.วัฒนธรรม คนใหม่ สานต่อให้เกิดรูปธรรมต่อไป”รมว.วัฒนธรรรมกล่าว
สำหรับ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ แบ่งสาระสำคัญออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ หมวดสิ่งพิมพ์ จะเกี่ยวข้องกับ ข้อบังคับ ข้อกำหนด คุณสมบัติของผู้จดทะเบียนสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะมาตรา 9 ที่กำหนดให้สิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ จะต้องส่งหนังสือ จำนวน 2 ฉบับให้แก่หอสมุดแห่งชาติภายใน 30 วันนับตั้งแต่เผยแพร่ ซึ่งจะเกี่ยวของกับ วธ.โดยตรง,หมวด หนังสือพิมพ์ จะเกี่ยวกับ การจดแจ้งการพิมพ์หนังสือพิมพ์ในราชอาณาจักร หลักเกณฑ์และวิธีการจดแจ้งการพิมพ์ และหมวดบทกำหนดโทษ จะเกี่ยวกับโทษทางปกครอง โทษอาญา การปรับและจำคุก เป็นต้น ซึ่งวธ.จะต้องทำการศึกษารายละเอียดอย่างจริงจัง เพื่อสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามที่ได้รับมอบหมาย
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวว่า ตามที่องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้เข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550นั้น ขณะนี้ วธ.ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นหน่วยงานรับจดแจ้งการพิมพ์แทนกระทรวงมหาดไทย(มท.)ที่เคยทำหน้าที่นี้อยู่ เนื่องจากเห็นว่า วธ.ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานสื่ออยู่แล้ว โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ รวมทั้งมีสำนักหอสมุดแห่งชาติเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับหนังสือ ตลอดจนสื่อสิ่งพิมพ์ของประเทศทั้งหมด จึงน่าจะดูแลเรื่องดังกล่าวได้
“โดยส่วนตัวแล้ว ดิฉันไม่เห็นด้วย ที่จะให้ วธ.ทำหน้าที่รับจดแจ้งการพิมพ์ เพราะยังไม่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะต้องมีความรู้ในการพิจาณาอย่างรอบคอบ ในขณะเดียวกันบุคลาการก็ยังมีจำกัด แต่เมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นว่า กระทรวงวัฒนธรรมมีความเหมาะสมก็พร้อมจะรับดำเนินการ โดยจะต้องรอกฤษฎีกาออกกฎกระทรวงให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจะประสานกับกระทรวงมหาดไทย ที่มีประสบการณ์อยู่แล้วมาให้ความรู้บุคลากรของ วธ.ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าว ตลอดจนจะต้องเตรียมสถานที่ให้เพียงพอบริการประชาชน โดยให้หอสมุดแห่งชาติ เป็นผู้รับจดในเขตกรุงเทพฯ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด เป็นผู้รับจดในส่วนภูมิภาค ตามที่ได้รับมอบหมาย อย่างไรก็ตาม ดิฉันคงจะอยู่ไม่ทันการดำเนินงานทั้งหมด แต่จะส่งต่อให้ รมว.วัฒนธรรม คนใหม่ สานต่อให้เกิดรูปธรรมต่อไป”รมว.วัฒนธรรรมกล่าว
สำหรับ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ แบ่งสาระสำคัญออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ หมวดสิ่งพิมพ์ จะเกี่ยวข้องกับ ข้อบังคับ ข้อกำหนด คุณสมบัติของผู้จดทะเบียนสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะมาตรา 9 ที่กำหนดให้สิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ จะต้องส่งหนังสือ จำนวน 2 ฉบับให้แก่หอสมุดแห่งชาติภายใน 30 วันนับตั้งแต่เผยแพร่ ซึ่งจะเกี่ยวของกับ วธ.โดยตรง,หมวด หนังสือพิมพ์ จะเกี่ยวกับ การจดแจ้งการพิมพ์หนังสือพิมพ์ในราชอาณาจักร หลักเกณฑ์และวิธีการจดแจ้งการพิมพ์ และหมวดบทกำหนดโทษ จะเกี่ยวกับโทษทางปกครอง โทษอาญา การปรับและจำคุก เป็นต้น ซึ่งวธ.จะต้องทำการศึกษารายละเอียดอย่างจริงจัง เพื่อสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามที่ได้รับมอบหมาย