กรมการจัดหางาน เผยสถิติแรงงานไทยในประเทศญี่ปุ่น ปี 2550 เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะแรงงานมีฝีมือ เช่น ผู้ปรุงอาหาร ขณะที่อาชีพนักแสดงลดลง ผลมาจากความเข้มงวดในการอนุญาตคนต่างชาติมาทำงานเป็นนักแสดง
นายมนูญ ปุญญกริยากร อธิบดีกรมการจัดหางาน เผยว่า ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 แรงงานไทยที่เข้ามาทำงานในประเทศญี่ปุ่นที่ขึ้นทะเบียนพำนัก มีจำนวนทั้งสิ้น 1,974 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 180 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เป็นแรงงานมีฝีมือมากที่สุด ร้อยละ 37.9 ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ผู้ปรุงอาหาร เพิ่มขึ้น 109 คน หรือเพิ่มร้อยละ 17 รองลงมาคือผู้มีความรู้ทางมนุษยศาสตร์/กิจการต่างประเทศ วิศวกร ผู้ที่ทำงานกับบริษัทสาขาในต่างประเทศและนักแสดงตามลำดับ
สำหรับนักแสดงพบว่ามีจำนวนลดลง 58 คน หรือลดลงร้อยละ 21.2 เป็นผลมาจากทางการญี่ปุ่นเพิ่มความเข้มงวดในการอนุญาตคนต่างชาติมาทำงานเป็นนักแสดงจึงทำให้แรงงานต่างชาติประเภทนักแสดงมีจำนวนลดลง อย่างไรก็ตาม จำนวนแรงงานไทยในญี่ปุ่นยังน้อยมากเมื่อเทียบกับแรงงานจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 1.1 ของยอดรวม หรือคิดเป็นแรงงานไทยต่อแรงงานต่างชาติ สัดส่วน 1:91 แต่แรงงานฝีมือเป็นกลุ่มที่มีแรงงานไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ สัดส่วน 1:24 รองลงมาคือนักวิจัย สัดส่วน 1:60 ผู้ที่ทำงานกับบริษัทสาขาในต่างประเทศ สัดส่วน 1:63
นายมนูญ ปุญญกริยากร อธิบดีกรมการจัดหางาน เผยว่า ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 แรงงานไทยที่เข้ามาทำงานในประเทศญี่ปุ่นที่ขึ้นทะเบียนพำนัก มีจำนวนทั้งสิ้น 1,974 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 180 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เป็นแรงงานมีฝีมือมากที่สุด ร้อยละ 37.9 ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ผู้ปรุงอาหาร เพิ่มขึ้น 109 คน หรือเพิ่มร้อยละ 17 รองลงมาคือผู้มีความรู้ทางมนุษยศาสตร์/กิจการต่างประเทศ วิศวกร ผู้ที่ทำงานกับบริษัทสาขาในต่างประเทศและนักแสดงตามลำดับ
สำหรับนักแสดงพบว่ามีจำนวนลดลง 58 คน หรือลดลงร้อยละ 21.2 เป็นผลมาจากทางการญี่ปุ่นเพิ่มความเข้มงวดในการอนุญาตคนต่างชาติมาทำงานเป็นนักแสดงจึงทำให้แรงงานต่างชาติประเภทนักแสดงมีจำนวนลดลง อย่างไรก็ตาม จำนวนแรงงานไทยในญี่ปุ่นยังน้อยมากเมื่อเทียบกับแรงงานจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 1.1 ของยอดรวม หรือคิดเป็นแรงงานไทยต่อแรงงานต่างชาติ สัดส่วน 1:91 แต่แรงงานฝีมือเป็นกลุ่มที่มีแรงงานไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ สัดส่วน 1:24 รองลงมาคือนักวิจัย สัดส่วน 1:60 ผู้ที่ทำงานกับบริษัทสาขาในต่างประเทศ สัดส่วน 1:63