สพฐ.เตรียมตั้งโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เข้มแข็ง ดึงชุมชนเข้าร่วม เดินตามรอยโครงการต้วมเตี้ยมเลี้ยงเตาะแตะ ของสมเด็จพระเทพฯ เพื่อให้เด็กเติบโตแล้วมีความผูกพันกับชุมชนของตนเอง แย้มเน้นพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นพิเศษ
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมทำโครงการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เข้มแข็ง โดยโครงการนี้ จะร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกด้าน เช่น ด้านวิชาการ ร่างกาย โภชนาการ สติปัญญา หรือทรัพยากร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การที่มีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กเป็นเรื่องดี เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่อยู่ในชุมชน ถ้าได้รับการดูแลเด็กจะผูกพันกับชุมชนของตนเอง ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับโครงการต้วมเตี้ยมเลี้ยงเตาะแตะ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ ที่ทรงมีดำริให้ทำโครงการนี้โดยให้ผู้ใหญ่ต้วมเตี้ยมมาเลี้ยงเด็กเตาะแตะ เมื่อเด็กโตขึ้นเขาพร้อมจะกลับเข้าสู่ชุมชน เกิดจิตอาสาพัฒนาชุมชนของตนเอง
“หากหน่วยงานราชการในพื้นที่ดำเนินการเพียงอย่างเดียวก็จะมีเพียงครูมาสอนเรียนจบก็จบไป เลิกรากัน เด็กจะไม่รู้สึกผูกพันและอยากกลับบ้าน ถ้ามีคนในชุมชนเข้ามาช่วยดูแลจะทำให้เด็กรักรู้สึกผูกพันกับชุมชน เด็กจะจิตใจที่ดี หรือเราเรียกว่าจิตสาธารณะ”
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะทำงานกำลังปรับปรุงรายละเอียดของโครงการ ซึ่งตนแนะนำว่าให้ทำเป็นโครงการต่อเนื่อง 6 ปี เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของการพัฒนาทุกช่วงชั้น โดยเริ่มพัฒนาตั้งแต่ชั้นปฐมวัย ก็จะได้เห็นทั้งเรื่องผลการเรียนว่าดีหรือไม่ คุณภาพ คุณธรรม การช่วยเหลือสังคม ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการภายในปีงบประมาณ 2551
ทั้งนี้ การพัฒนาเด็กปฐมวัยหลายหน่วยงานให้ความสนใจ ในวันที่ 28 ม.ค.สพฐ.จะหารือกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และมูลนิธิสุขแก้ว แก้วแดง ของ ดร.รุ่ง แก้วแดง เกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการปฐมวัย โดยจะให้ความสำคัญกับเด็กที่อยู่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากเป็นพิเศษ
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมทำโครงการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เข้มแข็ง โดยโครงการนี้ จะร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกด้าน เช่น ด้านวิชาการ ร่างกาย โภชนาการ สติปัญญา หรือทรัพยากร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การที่มีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กเป็นเรื่องดี เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่อยู่ในชุมชน ถ้าได้รับการดูแลเด็กจะผูกพันกับชุมชนของตนเอง ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับโครงการต้วมเตี้ยมเลี้ยงเตาะแตะ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ ที่ทรงมีดำริให้ทำโครงการนี้โดยให้ผู้ใหญ่ต้วมเตี้ยมมาเลี้ยงเด็กเตาะแตะ เมื่อเด็กโตขึ้นเขาพร้อมจะกลับเข้าสู่ชุมชน เกิดจิตอาสาพัฒนาชุมชนของตนเอง
“หากหน่วยงานราชการในพื้นที่ดำเนินการเพียงอย่างเดียวก็จะมีเพียงครูมาสอนเรียนจบก็จบไป เลิกรากัน เด็กจะไม่รู้สึกผูกพันและอยากกลับบ้าน ถ้ามีคนในชุมชนเข้ามาช่วยดูแลจะทำให้เด็กรักรู้สึกผูกพันกับชุมชน เด็กจะจิตใจที่ดี หรือเราเรียกว่าจิตสาธารณะ”
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะทำงานกำลังปรับปรุงรายละเอียดของโครงการ ซึ่งตนแนะนำว่าให้ทำเป็นโครงการต่อเนื่อง 6 ปี เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของการพัฒนาทุกช่วงชั้น โดยเริ่มพัฒนาตั้งแต่ชั้นปฐมวัย ก็จะได้เห็นทั้งเรื่องผลการเรียนว่าดีหรือไม่ คุณภาพ คุณธรรม การช่วยเหลือสังคม ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการภายในปีงบประมาณ 2551
ทั้งนี้ การพัฒนาเด็กปฐมวัยหลายหน่วยงานให้ความสนใจ ในวันที่ 28 ม.ค.สพฐ.จะหารือกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และมูลนิธิสุขแก้ว แก้วแดง ของ ดร.รุ่ง แก้วแดง เกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการปฐมวัย โดยจะให้ความสำคัญกับเด็กที่อยู่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากเป็นพิเศษ