อธิการบดีธรรมศาสตร์ เปิดสวนประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย จัดแสดงประติมากรรม 8 ชิ้นงาน รำลึกถึงขบวนการนักศึกษา และประชาชนในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย อนุชนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ได้เรียนรู้
วันนี้ (10 ธ.ค.) เนื่องในวันธรรมศาสตร์ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นประธานตัดริบบิ้นเปิดสวนประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ณ บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ รำลึกถึงขบวนการนักศึกษาและประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ถือเป็นสถานที่ศึกษาประวัติศาสตร์ทางการเมืองให้อนุชนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยมีตัวแทนกลุ่ม องค์กรประชาธิปไตย เสรีไทย ญาติวีรชนเดือนตุลาและพฤษภา 2535 ร่วมในพิธี
ทั้งนี้ หลังพิธีเปิด ผู้ร่วมงานได้จุดเทียน 24 เล่ม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความงดงามต่อเนื่องของการต่อสู้ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของกระบวนการประชาธิปไตยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าร่วมด้วย
สำหรับสวนประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ มีประติมากรรมจัดแสดง 8 ชิ้นงาน คือ 1.การอภิวัฒน์ 2475 2.การก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง 3.ธรรมศาสตร์กับขบวนการเสรีไทย 4.ขบวนการนักศึกษา พ.ศ.2594-2500 5.ยุคสายลม แสงแดด และยุคแสวงหา 6.ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 7.ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ตุลาคม 2519 และ 8. ธรรมศาสตร์ กับเหตุการณ์พฤษภา 2535
สำหรับความหมายของประติมากรรมที่จัดแสดง เช่น ประติมากรรม “การอภิวัฒน์ 2475” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2541 ซึ่งเป็นการเปิดสวนประวัติศาสตร์ครั้งแรก ประติมากรรมแสดงถึงการยึดอำนาจโดยคณะราษฎร และประกาศหลัก 6 ประการ อันมีผลต่อแนวคิดในการจัดการศึกษาของชาติ เป็นประติมากรรมรูปศาลา 6 เหลี่ยม กึ่งกลางมีแท่นหินฝังหมุดโลหะทรงกลม หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของสังคมไทยอันประกอบด้วย ข้าราชการ นักธุรกิจ กรรมกร ชาวนา ชาวไร่ ราษฎร ทุกเชื้อชาติศาสนา
ประติมากรรม “ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519” ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2543 เป็นประติมากรรมรูปเขื่อนกั้นสายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยฝังโลหะภาพผู้เสียชีวิต ในเหตุการณ์เดือนตุลาคมลงบนหินสีแดงพร้อมรายชื่อเหล่าวีรชนภายใต้คำขวัญ “ขบวนการนักศึกษาประชาชนเดือนตุลา...กล้าต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีงาม” ซึ่งเป็นการบรรยายถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ผลักดันให้นิสิตนักศึกษากว่า 3,000 คน เข้าป่า เป็นต้น
วันนี้ (10 ธ.ค.) เนื่องในวันธรรมศาสตร์ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นประธานตัดริบบิ้นเปิดสวนประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ณ บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ รำลึกถึงขบวนการนักศึกษาและประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ถือเป็นสถานที่ศึกษาประวัติศาสตร์ทางการเมืองให้อนุชนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยมีตัวแทนกลุ่ม องค์กรประชาธิปไตย เสรีไทย ญาติวีรชนเดือนตุลาและพฤษภา 2535 ร่วมในพิธี
ทั้งนี้ หลังพิธีเปิด ผู้ร่วมงานได้จุดเทียน 24 เล่ม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความงดงามต่อเนื่องของการต่อสู้ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของกระบวนการประชาธิปไตยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าร่วมด้วย
สำหรับสวนประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ มีประติมากรรมจัดแสดง 8 ชิ้นงาน คือ 1.การอภิวัฒน์ 2475 2.การก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง 3.ธรรมศาสตร์กับขบวนการเสรีไทย 4.ขบวนการนักศึกษา พ.ศ.2594-2500 5.ยุคสายลม แสงแดด และยุคแสวงหา 6.ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 7.ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ตุลาคม 2519 และ 8. ธรรมศาสตร์ กับเหตุการณ์พฤษภา 2535
สำหรับความหมายของประติมากรรมที่จัดแสดง เช่น ประติมากรรม “การอภิวัฒน์ 2475” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2541 ซึ่งเป็นการเปิดสวนประวัติศาสตร์ครั้งแรก ประติมากรรมแสดงถึงการยึดอำนาจโดยคณะราษฎร และประกาศหลัก 6 ประการ อันมีผลต่อแนวคิดในการจัดการศึกษาของชาติ เป็นประติมากรรมรูปศาลา 6 เหลี่ยม กึ่งกลางมีแท่นหินฝังหมุดโลหะทรงกลม หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของสังคมไทยอันประกอบด้วย ข้าราชการ นักธุรกิจ กรรมกร ชาวนา ชาวไร่ ราษฎร ทุกเชื้อชาติศาสนา
ประติมากรรม “ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519” ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2543 เป็นประติมากรรมรูปเขื่อนกั้นสายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยฝังโลหะภาพผู้เสียชีวิต ในเหตุการณ์เดือนตุลาคมลงบนหินสีแดงพร้อมรายชื่อเหล่าวีรชนภายใต้คำขวัญ “ขบวนการนักศึกษาประชาชนเดือนตุลา...กล้าต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีงาม” ซึ่งเป็นการบรรยายถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ผลักดันให้นิสิตนักศึกษากว่า 3,000 คน เข้าป่า เป็นต้น