กศน. ประสาน สทศ.ปรับมาตรฐาน และตัวชี้วัดเทียบระดับการศึกษาด้วยประสบการณ์ หลังใช้ประเมินมาแล้ว 3 รุ่น พบมาตรฐานบางตัวซ้ำซ้อน วิธีประเมินยุ่งยาก โดยยังให้ครอบคลุมองค์ประกอบหลัก 4 ด้านตามที่ กศน.กำหนด

นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตามที่สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ได้ดำเนินการประเมินเทียบระดับการศึกษา สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาตามอัธยาศัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่มีความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกการเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แต่ยังไม่จบระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น หรือ มัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สามารถนำความรู้ และประสบการณ์มาเทียบระดับ เพื่อรับวุฒิการศึกษาได้ ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการไปแล้ว 3 รุ่น ใน กศน.40 แห่งทั่วประเทศ มีผู้ผ่านการประเมินกว่า 4,000 คน และอยู่ระหว่างดำเนินการในรุ่นที่ 4
ทั้งนี้ กศน. ได้ประเมินเทียบระดับการศึกษาด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้ขอเทียบระดับการศึกษาจะต้องสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ด้านพัฒนาอาชีพ ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต และ ด้านพัฒนาสังคมและชุมชน
ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา กศน.เทียบระดับการศึกษาโดยใช้มาตรฐาน 34 มาตรฐาน และตัวชี้วัด 88 ตัว พบว่ามาตรฐาน ตัวบ่งชี้นั้นมีความซ้ำซ้อนกันในบางมาตรฐาน ส่งผลให้กระบวนการประเมินมีความยุ่งยาก ซับซ้อน จึงได้ประสานไปยัง ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ให้ช่วยปรับมาตรฐาน และตัวชี้วัดใหม่ ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
“ฉะนั้นการเทียบระดับการศึกษาในรุ่นที่ 4 จะเหลือมาตรฐานเพียง 10 มาตรฐาน และ 50 ตัวชี้วัด แต่มาตรฐานและตัวชี้วัดดังกล่าวจะยังครอบคลุมองค์ประกอบทั้ง 4 ด้านที่ กศน.กำหนดไว้ โดย ศ.ดร.อุทุมพร ได้ให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบการประเมินให้กระชับ โดยปรับวิธีการประเมิน เป็น 2 ส่วน หลักๆ คือ ประเมินความรู้ ทั้ง 4 ด้าน โดยใช้แบบทดสอบ ความรู้เพียง 1 ชุด ประเมินประสบการณ์ทั้ง 4 ด้าน พร้อมกันนี้ผู้ขอเทียบระดับจะต้องใช้แฟ้มสะสมงานร่วมกับการสัมภาษณ์ เช่น หากขอเทียบเรื่องดนตรี ก็ต้องแสดงดนตรี หรือมีผลงานด้านดนตรีมาให้พิจารณาประกอบ เป็นต้น”
นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตามที่สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ได้ดำเนินการประเมินเทียบระดับการศึกษา สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาตามอัธยาศัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่มีความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกการเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แต่ยังไม่จบระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น หรือ มัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สามารถนำความรู้ และประสบการณ์มาเทียบระดับ เพื่อรับวุฒิการศึกษาได้ ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการไปแล้ว 3 รุ่น ใน กศน.40 แห่งทั่วประเทศ มีผู้ผ่านการประเมินกว่า 4,000 คน และอยู่ระหว่างดำเนินการในรุ่นที่ 4
ทั้งนี้ กศน. ได้ประเมินเทียบระดับการศึกษาด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้ขอเทียบระดับการศึกษาจะต้องสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ด้านพัฒนาอาชีพ ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต และ ด้านพัฒนาสังคมและชุมชน
ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา กศน.เทียบระดับการศึกษาโดยใช้มาตรฐาน 34 มาตรฐาน และตัวชี้วัด 88 ตัว พบว่ามาตรฐาน ตัวบ่งชี้นั้นมีความซ้ำซ้อนกันในบางมาตรฐาน ส่งผลให้กระบวนการประเมินมีความยุ่งยาก ซับซ้อน จึงได้ประสานไปยัง ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ให้ช่วยปรับมาตรฐาน และตัวชี้วัดใหม่ ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
“ฉะนั้นการเทียบระดับการศึกษาในรุ่นที่ 4 จะเหลือมาตรฐานเพียง 10 มาตรฐาน และ 50 ตัวชี้วัด แต่มาตรฐานและตัวชี้วัดดังกล่าวจะยังครอบคลุมองค์ประกอบทั้ง 4 ด้านที่ กศน.กำหนดไว้ โดย ศ.ดร.อุทุมพร ได้ให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบการประเมินให้กระชับ โดยปรับวิธีการประเมิน เป็น 2 ส่วน หลักๆ คือ ประเมินความรู้ ทั้ง 4 ด้าน โดยใช้แบบทดสอบ ความรู้เพียง 1 ชุด ประเมินประสบการณ์ทั้ง 4 ด้าน พร้อมกันนี้ผู้ขอเทียบระดับจะต้องใช้แฟ้มสะสมงานร่วมกับการสัมภาษณ์ เช่น หากขอเทียบเรื่องดนตรี ก็ต้องแสดงดนตรี หรือมีผลงานด้านดนตรีมาให้พิจารณาประกอบ เป็นต้น”