“หมอมงคล” ห่วงระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ชี้กฎหมายขั้นตอนกระจายอำนาจดึงเงินไปให้อปท.ส่งผลให้ต้องปรับการบริหารจัดการ สปสช. ถ้ารัฐแบกรับงบรายหัวที่เพิ่มขึ้นตลอดไม่ไหวก็มีสิทธิ์ล้ม ซึ่งหากล้มแล้วลุกยาก หาทางออกขอให้ทั้งแพทย์และคนไข้รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
วานนี้ (29 พ.ย.) นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปี 2550 ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 5 ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 18(13) กำหนดให้คณะกรรมการฯรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นประจำทุกปี เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในการดำเนินการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้มีความยั่งยืนต่อไป
นพ.มงคล กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะบริหารจัดการอย่างเดิมไม่ได้อีกแล้ว เพราะเมื่อ พ.ร.บ.ขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ส่วนกลางจะต้องให้งบประมาณ 35% ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งจะเหลืองบที่ส่วนกลาง 65% ซึ่งจริงๆ แล้วเหลือน้อย โดยจะส่งผลกระทบกับการบริการจัดการ หากหน่วยงานของรัฐไม่โอนถ่ายภารกิจต่างๆ ไปด้วย โดยเฉพาะในส่วนของการบรรจุข้าราชการที่สำนักงานข้าราชการพลเรือน (กพ.) ได้จำกัดจำนวนข้าราชการสามารถบรรจุได้ไม่เกิน 243,000 คน ทำให้ไม่มีอัตรากำลังเพิ่ม เพราะไม่มีเงินที่จะแบกภาระเงินเดือน สวัสดิการข้าราชการจำนวนมากได้ และเมื่อไม่มีตำแหน่งก็ไม่สามารถเพิ่มกำลังคนได้ จึงต้องบรรจุคนไปขึ้นอยู่กับส่วนท้องถิ่นจึงจะถูกต้อง
“โครงสร้างที่ไม่สมดุลอาจทำให้ระบบประกันสุขภาพแห่ชาติล้มได้ ซึ่งหากล้มแล้วลุกยาก ถ้ารัฐไม่ไหวจริงๆ ก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการใหม่ทางหมด เพื่อไม่ให้ต้องประสบปัญหาขณะนี้รัฐบาลเพิ่มเงินงบประมาณรายหัวในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว 2 ครั้ง จำนวน 190,000 ล้าน ไม่สามารเพิ่มได้อีก ดังนั้น ถ้าไม่ได้เพิ่มหรือเพิ่มน้อยลงแต่ต้องรับผิดชอบดูลาสุขภาพประชาชนเพิ่มขึ้น โดยมีเด็กที่เกิดใหม่ปีละ 800,000 คน และผู้ชรา ซึ่งมักเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ขณะที่ สปสช.ต้องขอเงินงบประมาณรัฐบาลเพิ่มเรื่อยๆ มีการขยายสิทธิประโยชน์ ให้ผู้ป่วยเอดส์ ให้ล้างฟอกไต หากส่วนกลางมีเงินไม่เพียงจะหาเงินงบประมาณมาจากที่ใด”
นพ.มงคลกล่าวอีกว่า การรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่กำเนินการกันอยู่ในขณะนี้ คงจะมาประเมินว่าผู้ให้บริการและผู้รับบริการพอใจหรือไม่พอใจอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไปแล้ว นอกจากนี้ก็อย่าเพิ่งไปเชื่อนักการเมืองที่หาเสียง เพราะการที่จะเพิ่มเงินในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น ยังไม่รู้จะนำเงินมาจากไหน
ทั้งนี้ การเปิดรับฟังความคิดเห็นระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในครั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการเกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลสุขภาพ โดยการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ รู้จักประหยัด อย่างเช่น โรคหวัดที่สามารถหายได้เองก็ไม่จำเป็นต้องมาหาแพทย์ ไม่ใช่ว่าจะมุ่งมาหาแพทย์เฉพาะทางเพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่มีราคาค่ารักษาสูง ขณะที่สถานีอนามัย หรือคลินิกทั่วไปก็สามารถจ่ายยาและหายจะโรคได้เหมือนกัน ที่สำคัญคือ ยาคิดว่ายาแพงแล้วจะต้องดีกว่ายาราคาไม่แพง แล้วเที่ยวไปหาหมอหลายแห่ง ปรากฎว่านำกลับมากองรวมกันไว้หลายๆ กองแล้วไม่รู้จะเลือกกินยาที่ไหนดี เป็นความสูญเปล่าที่เราจะต้องนำเข้ายามาจากต่างประเทศทั้งนั้น
“การที่จะมีสุขภาพดีอยู่ที่ปัจเจกบุคคล ตัวของตัวเองไม่รับผิดชอบไม่มีใครที่ไหนจะช่วยให้มีสุขภาพดีได้ นอกจากนี้ครอบครัว ชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดสร้างเสริมสุขภาพ ดูแลพฤติกรรมตักเตือน ไม่รับประทานมากเกินไป ออกกำลังกาย” นพ.มงคลกล่าว
ด้านนายแพทย์ยุทธ โพธารามิก กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและรองประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารประชาสัมพันธ์และคุ้มครองสิทธิกล่าวว่า การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในส่วนกลางนั้น ดำเนินการตั้งแต่วานนี้ (28 พ.ย.) ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มผู้แทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเด็นผลงานนวัตกรรม หรือความสำเร็จด้านการสร้างหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ 2.กลุ่มผู้แทนผู้รับบริการ ในประเด็นความคิดเห็นทั่วไปต่อระบบการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ 3.กลุ่มผู้แทนผู้ให้บริการ ในประเด็นแนวทางการพัฒนาหน่วยบริการและระบบบริการ ซึ่งแต่ละกลุ่มได้พิจารณาตามประเด็นและนำมาเสนอในวันนี้ (29 พ.ย.) ก่อนจะสรุปเป็นความคิดเห็นที่ได้จากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในปี 2550 นี้ เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อไป
วานนี้ (29 พ.ย.) นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปี 2550 ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 5 ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 18(13) กำหนดให้คณะกรรมการฯรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นประจำทุกปี เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในการดำเนินการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้มีความยั่งยืนต่อไป
นพ.มงคล กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะบริหารจัดการอย่างเดิมไม่ได้อีกแล้ว เพราะเมื่อ พ.ร.บ.ขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ส่วนกลางจะต้องให้งบประมาณ 35% ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งจะเหลืองบที่ส่วนกลาง 65% ซึ่งจริงๆ แล้วเหลือน้อย โดยจะส่งผลกระทบกับการบริการจัดการ หากหน่วยงานของรัฐไม่โอนถ่ายภารกิจต่างๆ ไปด้วย โดยเฉพาะในส่วนของการบรรจุข้าราชการที่สำนักงานข้าราชการพลเรือน (กพ.) ได้จำกัดจำนวนข้าราชการสามารถบรรจุได้ไม่เกิน 243,000 คน ทำให้ไม่มีอัตรากำลังเพิ่ม เพราะไม่มีเงินที่จะแบกภาระเงินเดือน สวัสดิการข้าราชการจำนวนมากได้ และเมื่อไม่มีตำแหน่งก็ไม่สามารถเพิ่มกำลังคนได้ จึงต้องบรรจุคนไปขึ้นอยู่กับส่วนท้องถิ่นจึงจะถูกต้อง
“โครงสร้างที่ไม่สมดุลอาจทำให้ระบบประกันสุขภาพแห่ชาติล้มได้ ซึ่งหากล้มแล้วลุกยาก ถ้ารัฐไม่ไหวจริงๆ ก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการใหม่ทางหมด เพื่อไม่ให้ต้องประสบปัญหาขณะนี้รัฐบาลเพิ่มเงินงบประมาณรายหัวในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว 2 ครั้ง จำนวน 190,000 ล้าน ไม่สามารเพิ่มได้อีก ดังนั้น ถ้าไม่ได้เพิ่มหรือเพิ่มน้อยลงแต่ต้องรับผิดชอบดูลาสุขภาพประชาชนเพิ่มขึ้น โดยมีเด็กที่เกิดใหม่ปีละ 800,000 คน และผู้ชรา ซึ่งมักเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ขณะที่ สปสช.ต้องขอเงินงบประมาณรัฐบาลเพิ่มเรื่อยๆ มีการขยายสิทธิประโยชน์ ให้ผู้ป่วยเอดส์ ให้ล้างฟอกไต หากส่วนกลางมีเงินไม่เพียงจะหาเงินงบประมาณมาจากที่ใด”
นพ.มงคลกล่าวอีกว่า การรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่กำเนินการกันอยู่ในขณะนี้ คงจะมาประเมินว่าผู้ให้บริการและผู้รับบริการพอใจหรือไม่พอใจอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไปแล้ว นอกจากนี้ก็อย่าเพิ่งไปเชื่อนักการเมืองที่หาเสียง เพราะการที่จะเพิ่มเงินในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น ยังไม่รู้จะนำเงินมาจากไหน
ทั้งนี้ การเปิดรับฟังความคิดเห็นระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในครั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการเกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลสุขภาพ โดยการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ รู้จักประหยัด อย่างเช่น โรคหวัดที่สามารถหายได้เองก็ไม่จำเป็นต้องมาหาแพทย์ ไม่ใช่ว่าจะมุ่งมาหาแพทย์เฉพาะทางเพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่มีราคาค่ารักษาสูง ขณะที่สถานีอนามัย หรือคลินิกทั่วไปก็สามารถจ่ายยาและหายจะโรคได้เหมือนกัน ที่สำคัญคือ ยาคิดว่ายาแพงแล้วจะต้องดีกว่ายาราคาไม่แพง แล้วเที่ยวไปหาหมอหลายแห่ง ปรากฎว่านำกลับมากองรวมกันไว้หลายๆ กองแล้วไม่รู้จะเลือกกินยาที่ไหนดี เป็นความสูญเปล่าที่เราจะต้องนำเข้ายามาจากต่างประเทศทั้งนั้น
“การที่จะมีสุขภาพดีอยู่ที่ปัจเจกบุคคล ตัวของตัวเองไม่รับผิดชอบไม่มีใครที่ไหนจะช่วยให้มีสุขภาพดีได้ นอกจากนี้ครอบครัว ชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดสร้างเสริมสุขภาพ ดูแลพฤติกรรมตักเตือน ไม่รับประทานมากเกินไป ออกกำลังกาย” นพ.มงคลกล่าว
ด้านนายแพทย์ยุทธ โพธารามิก กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและรองประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารประชาสัมพันธ์และคุ้มครองสิทธิกล่าวว่า การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในส่วนกลางนั้น ดำเนินการตั้งแต่วานนี้ (28 พ.ย.) ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มผู้แทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเด็นผลงานนวัตกรรม หรือความสำเร็จด้านการสร้างหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ 2.กลุ่มผู้แทนผู้รับบริการ ในประเด็นความคิดเห็นทั่วไปต่อระบบการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ 3.กลุ่มผู้แทนผู้ให้บริการ ในประเด็นแนวทางการพัฒนาหน่วยบริการและระบบบริการ ซึ่งแต่ละกลุ่มได้พิจารณาตามประเด็นและนำมาเสนอในวันนี้ (29 พ.ย.) ก่อนจะสรุปเป็นความคิดเห็นที่ได้จากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในปี 2550 นี้ เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อไป