กม.ดัน ม.นเรศวร ออกนอกระบบชะงัก “วิจิตร” ขอถอนกลับไปตั้งกรรมาธิการศึกษาก่อนรับหลักการ 1 สัปดาห์ หลังตัวแทน นศ.ยื่นหนังสือถึง “มีชัย” ขอให้ชะรอเพื่อหารืออีกครั้ง!
วันนี้ (29 พ.ย.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช.เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ….ในวาระ 1 โดยมี นายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ ชี้แจงหลักการและเหตุผลในการเสนอร่างดังกล่าว
ทั้งนี้นายวัลลภ ตังคนานุรักษ์ สมาชิก สนช.อภิปรายว่า เนื่องจากตนได้รับหนังสือจากกลุ่มนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อขอให้มีการชะลอการพิจารณาออกไปก่อน และทราบว่า เมื่อวันที่ 2 และ 15 พ.ย.คณะกรรมการสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ประชุมวิสามัญและทำหนังสือถึง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และ สนช.ให้ชะลอการพิจารณาร่างดังกล่าวออกไปก่อน ตนจึงเกิดข้อสงสัย 3 ข้อ คือ
1.รมว.ศึกษาธิการได้รับหนังสือนี้ด้วยหรือไม่ 2.ในการประชุมคณะกรรมการสภาอาจารย์ ในวันที่ 23 พ.ย นั้นคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้บอกกับตนว่าสาเหตุที่ได้ลงนามหนังสือการประชุมไปเพราะประธานสภาอาจารย์ (นางรัตนา สนั่นเมือง) ไม่อยู่ แต่การลงนามดังกล่าวถูกต้องตามระเบียบราชการหรือไม่ และ 3.เข้าใจว่าทางมหาวิทยาลัยได้ทำประชาคมกับนิสิต แล้วบอกว่ามหาวิทยาลัยจะไม่ขึ้นค่าหน่วยกิต 10 ปีต่อจากนี้ และอธิการบดี ยืนยันว่า จะไม่เป็นอธิการบดีอีกต่อไปนั้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
ด้าน นายวิจิตร ชี้แจงว่า ประเด็นแรกประธานสภาอาจารย์ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และตนก็ได้รับหนังสือฉบับนั้น โดยสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้มอบให้ ในหนังสือต้องการให้มีการชะลอการพิจารณา ด้วยเหตุผลว่า ได้มีการทำสอบถามความคิดเห็น แล้วรับประเด็นไปปรับปรุง แต่ว่าทางประชาคมอ้างว่ายังไม่ได้เห็นว่าข้อปรับปรุงนั้นเป็นอย่างไร ตนจึงนำหนังสือนั้นแจ้งทันทีไปยังนายกสภามหาวิทยาลัย (คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ) ทันทีโดยขอให้พิจารณาข้อร้องเรียน และขอทราบผลด่วน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ตนขอเลื่อนวาระเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อให้นายกสภาฯได้มีโอกาสไปทำความเข้าใจ และทราบว่า นายกสภาฯบินไปในวันที่ 23 พ.ย.และมีการประชุมสภาอาจารย์ โดยมีคนเข้าประชุม 16 คน และมีมติออกมา 9 ต่อ 7 โดย 9 คน เห็นว่าไม่ควรชะลอ แต่อีก 7 คน เห็นว่าควรชะลอ
ส่วนการประชุมดังกล่าวทางมหาวิทยาลัยก็มีหลักฐานว่าผู้เชิญประชุม คือ ตัวประธานสภาอาจารย์ เป็นผู้ทำหนังสือเชิญประชุม แต่เรื่องใครนั่งเป็นประธานการประชุมตนไม่ทราบ และในแง่ของการส่งหนังสือถึงตนนั้น นายกสภาฯไม่ได้เซ็นผลการประชุม แต่เซ็นแจ้งการประชุมว่าได้มีการประชุมสภาแล้วว่าผลออกมาเป็นอย่างนี้ จึงขอให้ดำเนินการต่อไปในฐานะนายกสภาฯ ทั้งนี้ ตนบอกว่า อยากให้นายกสภาฯกับอธิการบดี ขอให้คนที่เขียนหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ถ้าพอใจแล้วตกลงกันได้ก็น่าจะเขียนหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ว่า ที่ทำหนังสือให้ชะลอ ซึ่งได้หารือกันเรียบร้อยแล้วไม่จำเป็นต้องชะลอ แต่ทราบว่าไม่มีการทำหนังสือดังกล่าว ดังนั้น ตนจึงคุยกับคนที่เขียนหนังสือทางโทรศัพท์ ว่า อะไรเป็นอะไร แต่ทางสภาอาจารย์ได้ทำหนังสืออีกฉบับถึงประธาน สนช.ว่า เมื่อรับหลักการฉบับนี้ขอให้ตั้งสภาอาจารย์เข้ามาเป็นกรรมาธิการด้วย ซึ่งได้รับคำชี้แจงว่าถ้าชะลอไม่ได้เขาก็อยากจะขอเข้าเป็นกรรมาธิการเพื่อมาช่วยกันดู ซึ่งปกติแล้วจะมีการตั้งอธิการบดีและประธานสภาอาจารย์มาเป็นกรรมาธิการอยู่แล้ว
นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่ของ ม.นเรศวร ก็รอเรื่องนี้อยู่ เพราะมีร้อยละ 70 ผู้ที่ไม่เป็นข้าราชการ จึงเห็นว่า ควรรับหลักการแล้วตั้งกรรมาธิการ โดยให้มีประธานสภาอาจารย์เข้าร่วม แล้วจะลองดูว่าเมื่อถึงขั้นนั้นเป็นอย่างไรหากมีข้อทักท้วงอยู่ก็อยู่ในขั้นกรรมธิการ
“ถ้ามีปัญหาและมีเวลาผมอยากจะเห็นแนวทางที่ว่า ปรึกษาหารือให้เป็นที่เรียบร้อยก่อนรับหลักการเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะว่าเมื่อเข้าไปสู่กรรมาธิการแล้วเราจะมีโอกาสได้น้อยเนื่องจากเวลาเป็นข้อจำกัด ไม่เหมือนกับพรบ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีเวลา 7 เดือน ผมเชื่อว่า ฉบับนี้ไม่มีโอกาสทำได้ในขั้นกรรมธิการขอให้ทางสภาตัดสิน ว่า ถ้ายังมีความต้องการให้หารือเรื่องนี้อย่างรอบคอบ ทั่งภายในม.นเรศวร และกระทรวงศึกษาธิการก็ยินดีจะรับไปทำ โดยตั้งกรรมธิการขึ้นศึกษาก่อนรับหลักกการ จึงขอเลื่อน พ.ร.บ.ฉบับนี้ไป 1 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่จะเข้าสู้วาระในสภา นายสมโภชน์ แนบเนียน นายกองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มายื่นหนังสือถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อขอให้ชะลอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้ให้นิสิตมีส่วนร่วมในร่างนี้ และยังถูกคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยปิดกั้นการแสดงความเห็นของนิสิต ตลอดจนสั่งห้ามเคลื่อนไหวและตั้งเวทีไฮปาร์ก ดังนั้น จึงขอให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยกลับมาทำความเข้าใจตกลงร่วมกันกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัยให้เกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกันก่อน โดยมี นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช.ได้เป็นตัวแทนรับหนังสือไว้
วันนี้ (29 พ.ย.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช.เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ….ในวาระ 1 โดยมี นายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ ชี้แจงหลักการและเหตุผลในการเสนอร่างดังกล่าว
ทั้งนี้นายวัลลภ ตังคนานุรักษ์ สมาชิก สนช.อภิปรายว่า เนื่องจากตนได้รับหนังสือจากกลุ่มนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อขอให้มีการชะลอการพิจารณาออกไปก่อน และทราบว่า เมื่อวันที่ 2 และ 15 พ.ย.คณะกรรมการสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ประชุมวิสามัญและทำหนังสือถึง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และ สนช.ให้ชะลอการพิจารณาร่างดังกล่าวออกไปก่อน ตนจึงเกิดข้อสงสัย 3 ข้อ คือ
1.รมว.ศึกษาธิการได้รับหนังสือนี้ด้วยหรือไม่ 2.ในการประชุมคณะกรรมการสภาอาจารย์ ในวันที่ 23 พ.ย นั้นคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้บอกกับตนว่าสาเหตุที่ได้ลงนามหนังสือการประชุมไปเพราะประธานสภาอาจารย์ (นางรัตนา สนั่นเมือง) ไม่อยู่ แต่การลงนามดังกล่าวถูกต้องตามระเบียบราชการหรือไม่ และ 3.เข้าใจว่าทางมหาวิทยาลัยได้ทำประชาคมกับนิสิต แล้วบอกว่ามหาวิทยาลัยจะไม่ขึ้นค่าหน่วยกิต 10 ปีต่อจากนี้ และอธิการบดี ยืนยันว่า จะไม่เป็นอธิการบดีอีกต่อไปนั้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
ด้าน นายวิจิตร ชี้แจงว่า ประเด็นแรกประธานสภาอาจารย์ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และตนก็ได้รับหนังสือฉบับนั้น โดยสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้มอบให้ ในหนังสือต้องการให้มีการชะลอการพิจารณา ด้วยเหตุผลว่า ได้มีการทำสอบถามความคิดเห็น แล้วรับประเด็นไปปรับปรุง แต่ว่าทางประชาคมอ้างว่ายังไม่ได้เห็นว่าข้อปรับปรุงนั้นเป็นอย่างไร ตนจึงนำหนังสือนั้นแจ้งทันทีไปยังนายกสภามหาวิทยาลัย (คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ) ทันทีโดยขอให้พิจารณาข้อร้องเรียน และขอทราบผลด่วน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ตนขอเลื่อนวาระเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อให้นายกสภาฯได้มีโอกาสไปทำความเข้าใจ และทราบว่า นายกสภาฯบินไปในวันที่ 23 พ.ย.และมีการประชุมสภาอาจารย์ โดยมีคนเข้าประชุม 16 คน และมีมติออกมา 9 ต่อ 7 โดย 9 คน เห็นว่าไม่ควรชะลอ แต่อีก 7 คน เห็นว่าควรชะลอ
ส่วนการประชุมดังกล่าวทางมหาวิทยาลัยก็มีหลักฐานว่าผู้เชิญประชุม คือ ตัวประธานสภาอาจารย์ เป็นผู้ทำหนังสือเชิญประชุม แต่เรื่องใครนั่งเป็นประธานการประชุมตนไม่ทราบ และในแง่ของการส่งหนังสือถึงตนนั้น นายกสภาฯไม่ได้เซ็นผลการประชุม แต่เซ็นแจ้งการประชุมว่าได้มีการประชุมสภาแล้วว่าผลออกมาเป็นอย่างนี้ จึงขอให้ดำเนินการต่อไปในฐานะนายกสภาฯ ทั้งนี้ ตนบอกว่า อยากให้นายกสภาฯกับอธิการบดี ขอให้คนที่เขียนหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ถ้าพอใจแล้วตกลงกันได้ก็น่าจะเขียนหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ว่า ที่ทำหนังสือให้ชะลอ ซึ่งได้หารือกันเรียบร้อยแล้วไม่จำเป็นต้องชะลอ แต่ทราบว่าไม่มีการทำหนังสือดังกล่าว ดังนั้น ตนจึงคุยกับคนที่เขียนหนังสือทางโทรศัพท์ ว่า อะไรเป็นอะไร แต่ทางสภาอาจารย์ได้ทำหนังสืออีกฉบับถึงประธาน สนช.ว่า เมื่อรับหลักการฉบับนี้ขอให้ตั้งสภาอาจารย์เข้ามาเป็นกรรมาธิการด้วย ซึ่งได้รับคำชี้แจงว่าถ้าชะลอไม่ได้เขาก็อยากจะขอเข้าเป็นกรรมาธิการเพื่อมาช่วยกันดู ซึ่งปกติแล้วจะมีการตั้งอธิการบดีและประธานสภาอาจารย์มาเป็นกรรมาธิการอยู่แล้ว
นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่ของ ม.นเรศวร ก็รอเรื่องนี้อยู่ เพราะมีร้อยละ 70 ผู้ที่ไม่เป็นข้าราชการ จึงเห็นว่า ควรรับหลักการแล้วตั้งกรรมาธิการ โดยให้มีประธานสภาอาจารย์เข้าร่วม แล้วจะลองดูว่าเมื่อถึงขั้นนั้นเป็นอย่างไรหากมีข้อทักท้วงอยู่ก็อยู่ในขั้นกรรมธิการ
“ถ้ามีปัญหาและมีเวลาผมอยากจะเห็นแนวทางที่ว่า ปรึกษาหารือให้เป็นที่เรียบร้อยก่อนรับหลักการเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะว่าเมื่อเข้าไปสู่กรรมาธิการแล้วเราจะมีโอกาสได้น้อยเนื่องจากเวลาเป็นข้อจำกัด ไม่เหมือนกับพรบ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีเวลา 7 เดือน ผมเชื่อว่า ฉบับนี้ไม่มีโอกาสทำได้ในขั้นกรรมธิการขอให้ทางสภาตัดสิน ว่า ถ้ายังมีความต้องการให้หารือเรื่องนี้อย่างรอบคอบ ทั่งภายในม.นเรศวร และกระทรวงศึกษาธิการก็ยินดีจะรับไปทำ โดยตั้งกรรมธิการขึ้นศึกษาก่อนรับหลักกการ จึงขอเลื่อน พ.ร.บ.ฉบับนี้ไป 1 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่จะเข้าสู้วาระในสภา นายสมโภชน์ แนบเนียน นายกองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มายื่นหนังสือถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อขอให้ชะลอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้ให้นิสิตมีส่วนร่วมในร่างนี้ และยังถูกคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยปิดกั้นการแสดงความเห็นของนิสิต ตลอดจนสั่งห้ามเคลื่อนไหวและตั้งเวทีไฮปาร์ก ดังนั้น จึงขอให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยกลับมาทำความเข้าใจตกลงร่วมกันกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัยให้เกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกันก่อน โดยมี นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช.ได้เป็นตัวแทนรับหนังสือไว้