หลังการเดินทางที่เต็มไปด้วยความทุรกันดาร ผ่านหุบเขาอันสลับซับซ้อนและลาดชัด ในที่สุดจุดหมายปลายทางก็ปรากฏอยู่เบื้องหน้า นั่นคือ “โรงเรียนบ้านกึ้ดสามสิบ” ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน โรงเรียนของชาวเขา “เผ่าลีซอ”

ถ้ากล่าวถึงวิถีชีวิตของคนที่นี่ ก็ต้องบอกว่ายังเป็นแบบดั้งเดิม อาศัยการเกษตรแบบขั้นบันไดในการทำมาหาเลี้ยงชีพ เพราะฉะนั้นหากทอดสายตาออกไปก็จะพบเห็นภูเขาหัวโล้นที่เขียวขจีไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร หรือนาข้าวที่เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงชีวิต
และแน่นอนว่า สภาพของโรงเรียนบ้านกึ้ดสามสิบก็ย่อมไม่ต่างจากโรงเรียนบ้านนอกที่อยู่ชายขอบของประเทศโรงเรียนอื่นๆ เช่นกัน
เพ็ญศรี กองเกิด ครูใหญ่โรงเรียนบ้านกึ๊ดสามสิบ ครูใหญ่ผู้ดูแลนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น เล่าว่า โรงเรียนมีนักเรียนทั้งสิ้น 150 คน และครูอีก 13 คน ซึ่งนักเรียนเกือบทั้งหมดเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ
ด้วยความที่ไม่พร้อมดังกล่าว ทำให้การเรียนการสอนก็เป็นไปตามสภาพที่สามารถทำได้ ขณะที่เด็กๆ เองก็ไม่ได้อุปกรณ์การเรียนหรือการเล่นอย่างที่ควรจะเป็น และเมื่อไม่มีสนามเด็กเล่นก็ต้องหันไปเล่นปีนต้นไม้ไปเล่นที่บ่อน้ำ ซึ่งล้วนแล้วเป็นสิ่งที่อันตรายต่อเด็กทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม สภาพของโรงเรียนได้เปลี่ยนแปลงไป หลังจากที่ทางบรีสได้เข้ามาช่วยสร้างสนามเด็กเล่นที่ถือเป็นมาตรฐานแห่งแรกในชุมชน รวมทั้งใช้ลานเล่นแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ ผ่านการใช้ลานเล่นที่เป็นศูนย์กลางเรียนวิชาต่างๆ เช่น ศาลารักการอ่าน ที่เป็นแหล่งเรียนรู้วิชาภาษาไทย

ครูเพ็ญศรียังบอกอีกว่าเมื่อมีลานเล่น ครูก็สามารถใช้ลานเล่นต่อยอดจินตนาการให้เด็กๆ ด้วยการสร้างสรรค์กิจกรรมที่สอดรับไปกับการเรียนการสอนในทุกวิชา โดยการสอนนั้นจะใช้วิธีการบูรณาการไปช่วยโดยการวางแผนในแต่ละชั้นปีว่าจะสอนอย่างไร เช่น กิจกรรมตะลุยมหาสมบัติ ที่สร้างความสนุกสนานให้แก่เด็กๆ นอกจากนี้การเล่นยังช่วยเพิ่มสมรรถภาพให้แก่ร่างกายแล้วยังสามารถทดสอบเพลย์ คิวซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความฉลาดทางสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ทำให้เด็กเติบโตไปพร้อมกันอย่างมีคุณภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจและสติปัญญา
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนและผู้ปกครอง เช่น “ตลาดนัดการเรียนรู้” ให้แก่ผู้คนในชุมชนที่ใช้ลานเล่นมาเป็นศูนย์กลางในการพูดคุย อ่านหนังสือ ตลอดจนการนำผลหมากรากไม้ที่ปลูกขึ้นเองมาแลกเปลี่ยนกันภายในลานเล่น บ้างชาวบ้านผู้ปกครองร่วมกันจัดกิจกรรมทั้งประเพณีชนเผ่า กิจกรรมการต่อต้านยาเสพติด ซึ่งเป็นเส้นใยบางๆ ในการเชื่อมความสัมพันธ์ให้กับชุมชนให้ดีขึ้น
ด้านครูมีนา ประวัง ครูชั้นระดับอนุบาล 2 ที่ผันชีวิตจากลำปางมาอยู่ยอดดอยร่วม 6 ปีเพื่ออุทิศชีวิตให้แก่เด็กชาวเขาเล่าว่า การเรียนการสอนสำหรับเด็กระดับชั้นอนุบาลเน้นการฝึกการคิดสร้างจินตนาการเสียมากกว่า อย่างกิจกรรมการปั้นดินให้เป็นดาวโดยการหัดให้เด็กจำลองเครื่องเล่นในสนาม เมื่อเด็กเห็นอะไรก็จะปั้นไปตามนั้น หรือแม้แต่การดูโทรทัศน์ยังมีส่วนช่วยทำให้เด็กได้ซึมซับสิ่งต่างๆ ที่เห็นแล้วสามารถนำกลับมาถ่ายทอดออกมาโดยวิธีปั้น
“กิจกรรมการปั้นดินให้เป็นดาวนั้นส่วนใหญ่ใช้ดินเหนียวและดินน้ำมัน แต่ดินน้ำมันกลับได้รับความนิยมและได้รับความสนใจจากเด็กเสียมากกว่า ทั้งนี้เนื่องจากดินน้ำมันนั้นกลับมีสีสันสวยงามและสามารถแสดงสีสันให้กลมกลืนกับจินตนาการที่เด็กวาดฝันเอาไว้ เมื่อให้เด็กออกมาอธิบายก็สามารถบอกได้ว่าสิ่งที่ปั้นขึ้นมานี้คืออะไรใช้ทำอะไรได้บ้าง ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการฝึกภาษาพูดกันอีกด้วย”
ขณะที่ จังเหมย แซ่หลี่ นักเรียนชั้น ป. 2 บอกว่า เมื่อก่อนเมื่อมีเวลาว่างจะชอบเล่นกระโดดหนังยางและปีนต้นไม้เล่นกับเพื่อนๆ แต่เมื่อมีลานเล่นมารู้สึกดีใจมากชอบเล่นเครื่องเล่นทุกชนิดแต่ที่ชอบมากเป็นพิเศษนั้นต้องยกให้เครื่องเล่นประเภทสไลท์เดอร์ เพราะได้ลื่นไถลปล่อยตัวลงมา โดยจะมาเล่นที่ลานเล่นวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ช่วงเช้ากับช่วงเย็น เพราะหลังจากนั้นต้องเข้าเรียน
ถ้ากล่าวถึงวิถีชีวิตของคนที่นี่ ก็ต้องบอกว่ายังเป็นแบบดั้งเดิม อาศัยการเกษตรแบบขั้นบันไดในการทำมาหาเลี้ยงชีพ เพราะฉะนั้นหากทอดสายตาออกไปก็จะพบเห็นภูเขาหัวโล้นที่เขียวขจีไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร หรือนาข้าวที่เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงชีวิต
และแน่นอนว่า สภาพของโรงเรียนบ้านกึ้ดสามสิบก็ย่อมไม่ต่างจากโรงเรียนบ้านนอกที่อยู่ชายขอบของประเทศโรงเรียนอื่นๆ เช่นกัน
เพ็ญศรี กองเกิด ครูใหญ่โรงเรียนบ้านกึ๊ดสามสิบ ครูใหญ่ผู้ดูแลนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น เล่าว่า โรงเรียนมีนักเรียนทั้งสิ้น 150 คน และครูอีก 13 คน ซึ่งนักเรียนเกือบทั้งหมดเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ
ด้วยความที่ไม่พร้อมดังกล่าว ทำให้การเรียนการสอนก็เป็นไปตามสภาพที่สามารถทำได้ ขณะที่เด็กๆ เองก็ไม่ได้อุปกรณ์การเรียนหรือการเล่นอย่างที่ควรจะเป็น และเมื่อไม่มีสนามเด็กเล่นก็ต้องหันไปเล่นปีนต้นไม้ไปเล่นที่บ่อน้ำ ซึ่งล้วนแล้วเป็นสิ่งที่อันตรายต่อเด็กทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม สภาพของโรงเรียนได้เปลี่ยนแปลงไป หลังจากที่ทางบรีสได้เข้ามาช่วยสร้างสนามเด็กเล่นที่ถือเป็นมาตรฐานแห่งแรกในชุมชน รวมทั้งใช้ลานเล่นแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ ผ่านการใช้ลานเล่นที่เป็นศูนย์กลางเรียนวิชาต่างๆ เช่น ศาลารักการอ่าน ที่เป็นแหล่งเรียนรู้วิชาภาษาไทย
ครูเพ็ญศรียังบอกอีกว่าเมื่อมีลานเล่น ครูก็สามารถใช้ลานเล่นต่อยอดจินตนาการให้เด็กๆ ด้วยการสร้างสรรค์กิจกรรมที่สอดรับไปกับการเรียนการสอนในทุกวิชา โดยการสอนนั้นจะใช้วิธีการบูรณาการไปช่วยโดยการวางแผนในแต่ละชั้นปีว่าจะสอนอย่างไร เช่น กิจกรรมตะลุยมหาสมบัติ ที่สร้างความสนุกสนานให้แก่เด็กๆ นอกจากนี้การเล่นยังช่วยเพิ่มสมรรถภาพให้แก่ร่างกายแล้วยังสามารถทดสอบเพลย์ คิวซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความฉลาดทางสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ทำให้เด็กเติบโตไปพร้อมกันอย่างมีคุณภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจและสติปัญญา
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนและผู้ปกครอง เช่น “ตลาดนัดการเรียนรู้” ให้แก่ผู้คนในชุมชนที่ใช้ลานเล่นมาเป็นศูนย์กลางในการพูดคุย อ่านหนังสือ ตลอดจนการนำผลหมากรากไม้ที่ปลูกขึ้นเองมาแลกเปลี่ยนกันภายในลานเล่น บ้างชาวบ้านผู้ปกครองร่วมกันจัดกิจกรรมทั้งประเพณีชนเผ่า กิจกรรมการต่อต้านยาเสพติด ซึ่งเป็นเส้นใยบางๆ ในการเชื่อมความสัมพันธ์ให้กับชุมชนให้ดีขึ้น
ด้านครูมีนา ประวัง ครูชั้นระดับอนุบาล 2 ที่ผันชีวิตจากลำปางมาอยู่ยอดดอยร่วม 6 ปีเพื่ออุทิศชีวิตให้แก่เด็กชาวเขาเล่าว่า การเรียนการสอนสำหรับเด็กระดับชั้นอนุบาลเน้นการฝึกการคิดสร้างจินตนาการเสียมากกว่า อย่างกิจกรรมการปั้นดินให้เป็นดาวโดยการหัดให้เด็กจำลองเครื่องเล่นในสนาม เมื่อเด็กเห็นอะไรก็จะปั้นไปตามนั้น หรือแม้แต่การดูโทรทัศน์ยังมีส่วนช่วยทำให้เด็กได้ซึมซับสิ่งต่างๆ ที่เห็นแล้วสามารถนำกลับมาถ่ายทอดออกมาโดยวิธีปั้น
“กิจกรรมการปั้นดินให้เป็นดาวนั้นส่วนใหญ่ใช้ดินเหนียวและดินน้ำมัน แต่ดินน้ำมันกลับได้รับความนิยมและได้รับความสนใจจากเด็กเสียมากกว่า ทั้งนี้เนื่องจากดินน้ำมันนั้นกลับมีสีสันสวยงามและสามารถแสดงสีสันให้กลมกลืนกับจินตนาการที่เด็กวาดฝันเอาไว้ เมื่อให้เด็กออกมาอธิบายก็สามารถบอกได้ว่าสิ่งที่ปั้นขึ้นมานี้คืออะไรใช้ทำอะไรได้บ้าง ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการฝึกภาษาพูดกันอีกด้วย”
ขณะที่ จังเหมย แซ่หลี่ นักเรียนชั้น ป. 2 บอกว่า เมื่อก่อนเมื่อมีเวลาว่างจะชอบเล่นกระโดดหนังยางและปีนต้นไม้เล่นกับเพื่อนๆ แต่เมื่อมีลานเล่นมารู้สึกดีใจมากชอบเล่นเครื่องเล่นทุกชนิดแต่ที่ชอบมากเป็นพิเศษนั้นต้องยกให้เครื่องเล่นประเภทสไลท์เดอร์ เพราะได้ลื่นไถลปล่อยตัวลงมา โดยจะมาเล่นที่ลานเล่นวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ช่วงเช้ากับช่วงเย็น เพราะหลังจากนั้นต้องเข้าเรียน