สธ.ยิ้มร่า 2 บริษัทยาสามัญจากอินเดีย เสนอให้ทำวีแอล ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตยา เผยบริษัท เอ็มเคียว เสนอทำวีแอลเพิ่มโคลพิโดเกรลแบบฉีด ระบุ ถูกกว่ายาต้นแบบ 3 เท่า ขณะที่ผู้บริหารลัดฟ้ามาไทย 21-23 พ.ย.นี้ ลุยคุยเรื่องวีแอลอย่างเป็นทางการ ส่วนบริษัท แมทริกซ์ฯ เสนอให้วีแอลยาต้านไวรัสอลูเวีย หลังไทยสั่งซื้อยามา 1 ล็อต
วานนี้ (13 พ.ย.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 ในฐานะประธานคณะกรรมการคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) และในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ว่า นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และผู้ที่เกี่ยวข้องได้นัดหารือกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัท เอ็มเคียว ประเทศอินเดีย ผู้ผลิตยาสามัญ ยาสลายลิ่มเลือดหัวใจ (โคพิโดเกรล) จะเดินทางมาประเทศไทย ในวันที่ 21-23 พฤศจิกายนนี้ โดยมีกรอบในการหารือ 3 เรื่องหลัก ประกอบด้วย 1.การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยาโคลพิโดเกรล โดยการให้สิทธิบัตรโดยสมัครใจ (วีแอล) 2.สธ.จะเจรจาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยา ตัวอื่นเพิ่มเติม เช่น ยาสลายลิ่มเลือดหัวใจแบบฉีด ซึ่งราคายาต้นแบบ มีราคาอยู่ที่ 4,000 เหรียญสหรัฐฯต่อโดส ขณะที่ราคายาสามัญของ บริษัท เอ็มเคียว อยู่ที่ไม่เกิน 1,000 เหรียญสหรัฐฯต่อเข็ม ซึ่งในเบื้องต้นบริษัท เอ็มเคียว ยอมให้วีแอลยาทั้ง 2 ชนิดกับ สธ.แล้ว
นอกจากนี้ บริษัท เอ็มเคียว ขอความมั่นใจในการดำเนินการเรื่องซีแอล ของยาโคพิโดรเกรล ซึ่งที่ผ่านมา บริษัท ซาโนฟี่ อเวนติส สำนักงานใหญ่ที่สหรัฐอเมริกาได้ส่งหนังสือมาข่มขู่ บริษัท ไบโอซายด์ ตัวแทนจัดจำหน่ายยาของบริษัท เอ็มเคียว ในประเทศไทย และบริษัท เอ็มเคียว ที่อินเดีย ซึ่งขณะนี้ สธ.ได้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องครบแล้ว เรื่องดังกล่าวยืนยันว่า สธ.ดำเนินการถูกต้องทุกอย่าง และได้มีการประกาศใช้ซีแอลในยาโคลพิโดเกรล ซึ่งเป็นไปตามหลักการใช้สิทธิ มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 ฉะนั้นหากมีปัญหาในการดำเนินการ สธ.จะรับผิดชอบทุกกรณี
นพ.วิชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือ เรื่องยาต้านไวรัสเอดส์โลพินาเวียร์ กับริโทนาเวียร์ (Lopinavir/Ritonavir) ชนิดเม็ด ชื่อการค้าอลูเวีย ที่ สธ.ได้ประกาศซีแอลไปก่อนหน้านี้ โดย สธ.จะจัดซื้อยาสามัญจากบริษัท แมทริกซ์ แลบบอราตอรีส จำกัด ซึ่งบริษัท แมทริกซ์ ยินดีจะให้วีแอลยาดังกล่าวกับ สธ.โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาราคาและเงื่อนไข ซึ่งในอนาคต สธ.จะซื้อวัตถุดิบจากบริษัทดังกล่าว เพื่อนำมาบรรจุเม็ดยาเอง โดยวิธีจะทำให้ต้นทุนยาถูกลง แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า ถูกกว่ายาสามัญหรือไม่ แต่ยาจากการผลิตเองนั้น ถูกกว่า ยาที่มีสิทธิบัตร และยังถือเป็นการพัฒนาความรู้ในการผลิตยาอีกด้วย
วานนี้ (13 พ.ย.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 ในฐานะประธานคณะกรรมการคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) และในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ว่า นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และผู้ที่เกี่ยวข้องได้นัดหารือกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัท เอ็มเคียว ประเทศอินเดีย ผู้ผลิตยาสามัญ ยาสลายลิ่มเลือดหัวใจ (โคพิโดเกรล) จะเดินทางมาประเทศไทย ในวันที่ 21-23 พฤศจิกายนนี้ โดยมีกรอบในการหารือ 3 เรื่องหลัก ประกอบด้วย 1.การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยาโคลพิโดเกรล โดยการให้สิทธิบัตรโดยสมัครใจ (วีแอล) 2.สธ.จะเจรจาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยา ตัวอื่นเพิ่มเติม เช่น ยาสลายลิ่มเลือดหัวใจแบบฉีด ซึ่งราคายาต้นแบบ มีราคาอยู่ที่ 4,000 เหรียญสหรัฐฯต่อโดส ขณะที่ราคายาสามัญของ บริษัท เอ็มเคียว อยู่ที่ไม่เกิน 1,000 เหรียญสหรัฐฯต่อเข็ม ซึ่งในเบื้องต้นบริษัท เอ็มเคียว ยอมให้วีแอลยาทั้ง 2 ชนิดกับ สธ.แล้ว
นอกจากนี้ บริษัท เอ็มเคียว ขอความมั่นใจในการดำเนินการเรื่องซีแอล ของยาโคพิโดรเกรล ซึ่งที่ผ่านมา บริษัท ซาโนฟี่ อเวนติส สำนักงานใหญ่ที่สหรัฐอเมริกาได้ส่งหนังสือมาข่มขู่ บริษัท ไบโอซายด์ ตัวแทนจัดจำหน่ายยาของบริษัท เอ็มเคียว ในประเทศไทย และบริษัท เอ็มเคียว ที่อินเดีย ซึ่งขณะนี้ สธ.ได้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องครบแล้ว เรื่องดังกล่าวยืนยันว่า สธ.ดำเนินการถูกต้องทุกอย่าง และได้มีการประกาศใช้ซีแอลในยาโคลพิโดเกรล ซึ่งเป็นไปตามหลักการใช้สิทธิ มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 ฉะนั้นหากมีปัญหาในการดำเนินการ สธ.จะรับผิดชอบทุกกรณี
นพ.วิชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือ เรื่องยาต้านไวรัสเอดส์โลพินาเวียร์ กับริโทนาเวียร์ (Lopinavir/Ritonavir) ชนิดเม็ด ชื่อการค้าอลูเวีย ที่ สธ.ได้ประกาศซีแอลไปก่อนหน้านี้ โดย สธ.จะจัดซื้อยาสามัญจากบริษัท แมทริกซ์ แลบบอราตอรีส จำกัด ซึ่งบริษัท แมทริกซ์ ยินดีจะให้วีแอลยาดังกล่าวกับ สธ.โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาราคาและเงื่อนไข ซึ่งในอนาคต สธ.จะซื้อวัตถุดิบจากบริษัทดังกล่าว เพื่อนำมาบรรจุเม็ดยาเอง โดยวิธีจะทำให้ต้นทุนยาถูกลง แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า ถูกกว่ายาสามัญหรือไม่ แต่ยาจากการผลิตเองนั้น ถูกกว่า ยาที่มีสิทธิบัตร และยังถือเป็นการพัฒนาความรู้ในการผลิตยาอีกด้วย