หลังมีข่าวมติ ครม. ห้ามนำเข้าของเล่น 31 รายการ เนื่องจากมีสารตะกั่วเกินมาตรฐาน ถ้ารับเข้าไปในร่างกายจะส่งผลต่อสมองของเด็ก ทำให้เด็กปัญญาอ่อน หรือทำลายเม็ดเลือดแดง ทำให้ซีด และพัฒนาการล่าช้า ไม่เป็นไปตามวัยเหมือนเด็กปกติทั่วไป

พ่อแม่หลายคนจึงวิตกกังวลในการเลือกซื้อของเล่นให้กับลูก เพราะของเล่นก็มีผลต่อการพัฒนาด้านสมองและการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน หากจะไม่ให้เด็กเล่นเลยก็เหมือนกับขัดธรรมชาติของเด็กที่ควรจะเรียนรู้ และได้สัมผัส
“การเลือกของเล่นให้ลูกอย่างไร จึงจะปลอดภัยไร้สารตะกั่ว” จึงเป็นหัวข้อที่ผู้ปกครองหลายท่านอยากทราบ และจะทำอย่างไรหากของเล่นที่ซื้อมานั้นสุดแสนจะมีราคาแพง แต่กลับไม่ให้ประโยชน์กับเจ้าตัวน้อยเลย ในฐานะผู้บริโภคหากรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจโดนผู้ประกอบการหัวใสหลอกเอาง่ายๆ
**เลือกซื้อสินค้าที่มีสัญลักษณ์ มอก.
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลผลิตการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ปกครองที่จะซื้อของเล่นให้กับบุตรหลานว่า อันดับแรกควรเลือกซื้อสินค้าที่มีสัญลักษณ์ มอก.(มาตรฐานอุตสาหกรรม)ไว้ก่อน นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาด้วยว่า สัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นของปลอมหรือไม่ โดยสัญลักษณ์ของจริงจะมีตราลูกศรสี่แฉกในกรอบวงกลม พร้อมระบุชื่อบริษัทและที่อยู่ของผู้ผลิต ที่สำคัญควรเป็นสินค้าที่เป็นพลาสติกสีล้วน ไม่มีการฉาบสีที่สามารถติดหลุดมือได้ เช่น ดาบพลาสติกที่ด้ามจับมีสีสันที่สวยงาม แต่จับแล้วสีสามารถหลุดลอกได้ ก็มีโอกาสที่ตะกั่ว ซึ่งติดอยู่กับสี สามารถหลุดเข้าร่างกายได้
“พ่อแม่ควรตื่นตัวในเรื่องนี้ ไม่เพียงแต่สารตะกั่วอย่างเดียวเท่านั้น สินค้าที่ใส่สี เคลือบสี หรือว่าพ่นสี ถ้าไม่ได้มาตรฐานสีก็จะหลุดลอกได้ง่าย และ เสี่ยงต่อการที่เด็กจะรับประทานเข้าไปในร่างกาย ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรที่จะช่วยกันสอดส่องดูแลบุตรหลานในการเล่นของเล่นอย่างใกล้ชิด”นพ.อดิศักดิ์เตือน
สำหรับข้อแนะนำในการเลือกของเล่นให้เด็กตามวัยนั้น นพ.อดิศักดิ์บอกว่า ควรดูพัฒนาการทางด้าน อายุ พฤติกรรมและการแสดงออกของเด็ก เช่น ถ้าเด็กมีปฏิกิริยาตอบสนอง มีความสนใจ หรือชอบจ้องตา ของเล่นที่เหมาะกับเด็กก็คือ ของเล่นประเภทสั่นไหว สามารถดึงดูดความสนใจได้ด้วยสีสันที่ตัดกัน ส่วนของเล่นประเภทมีเสียง ไม่ควรดังต่อเนื่องเกิน 70 เดซิเบล เพราะจะทำให้เด็กหูอื้อได้
เมื่อถามถึงสัดส่วนในการตรวจพบสารตะกั่วในของเล่นมีโอกาสที่เพิ่มมากขึ้นหรือไม่นั้น นพ.อดิศักดิ์บอกว่า มีโอกาสที่จะพบอีก แต่มากเท่าไรนั้นไม่สามารถระบุได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ขายสินค้าต้องรู้จักที่จะควบคุมมาตรฐานหรือไม่ แต่สินค้าบางประเภทที่เล็ดลอดออกมาขายตามท้องตลาดและมีสารตะกั่วสูงใน 100% มีเพียง 18% ที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนอีก 82% ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

**สินค้าไทยได้มาตรฐานสูงสุด
ด้าน รัศมี วิศยเวทย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แนะผู้บริโภคว่าของเล่นที่ผลิตภายในประเทศไทยและคนไทยเป็นผู้ผลิตนั้นส่วนใหญ่ได้มาตรฐานที่สูงมาก จึงเชื่อได้ว่ามีความปลอดภัยสูง และไม่เป็นอันตราย แต่การซื้อของเล่น นอกจากจากพิจารณาว่าสินค้านั้นมีสีสันที่ฉูดฉาด ฉาบด้วยตะกั่วหรือแคดเมียมแล้ว ต้องดูชิ้นส่วนองค์ประกอบที่หลุดลอดออกมาด้วย เพราะเด็กอาจทานเข้าไป ก่อให้เกิดอันตรายได้ด้วยเช่นกัน อีกประการหนึ่งก็คือ การเลือกซื้อของเล่นให้บุตรหลานควรดูความเหมาะสมของวัยด้วย อย่างของเล่นบางชนิดเหมาะกับเด็ก 6 ขวบ แต่ซื้อให้เด็ก 3 ขวบ เล่นก็ไม่เกิดประโยชน์หรืออาจจะมีโทษตามมาก็เป็นได้
ทั้งนี้ ทาง สคบ.กำลังดำเนินการเรื่องเชิญผู้ประกอบการทั้งค้าปลีกและค้าส่งของเล่นเด็ก เข้ามาปรึกษาหารือ เพื่อมาบอกปัญหา และชี้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ทราบ ซึ่งถ้าจากการตรวจสอบแล้วเสร็จสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ก็จำเป็นที่จะต้องคืนสินค้านั้นทั้งหมด ส่วนทางผู้ประกอบการจะคืนสินค้าไปยังโรงงาน หรือไม่นั้นเป็นขั้นตอนของผู้ค้าที่จะจัดการเอง และถ้าหากยังพบว่ามีการนำของเล่นเคลือบสารตะกั่วเกินมาตรฐาน หรือของเล่นที่หมดอายุมาจำหน่ายอยู่อีก เจ้าหน้าที่ก็ต้องจัดการตรวจเก็บ และดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากนั้น การตรวจเก็บจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของกรมศุลกากร ซึ่งจะเคร่งครัดมากกว่าที่ผ่านมา
**ผู้บริโภคอย่าเห็นแก่ของถูก
สมคิด แสงนิล รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)บอกว่า การเลือกซื้อของเล่นให้เด็กนั้น จำเป็นจะต้องเลือกซื้อจากร้านค้าที่หลักแหล่ง น่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบได้ อย่าซื้อสินค้าจากแผงลอย และถ้าไม่มั่นใจว่าได้มาตรฐานหรือไม่ก็ควรแจ้ง สมอ.ให้เข้าไปตรวจสอบ
ว่ากันง่ายๆ ก็คือ อย่าเห็นแก่ของถูก แต่ถ้าจะซื้อของถูกก็ควรให้มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ค้าหลายรายที่รับสินค้าราคาถูกมาขายต่อ โดยไม่คำนึงถึงผลที่ผู้บริโภคจะได้รับ ส่วนผู้บริโภคเองก็รู้เท่าไม่ถึงการณ์ซื้อสินค้าเหล่านั้นมา เพราะด้วยราคาที่ถูก และที่สำคัญสินค้าราคาถูกเหล่านี้ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีนมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์
สำหรับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานและเล็ดลอดเข้ามาในประเทศได้นั้น สมคิดบอกว่า ก็เนื่องจากในการตรวจสอบสินค้าแต่ละครั้งเป็นระบบการสุ่มตรวจ ซึ่งอาจมีสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานปะปนเข้ามาด้วย และสินค้าดังกล่าวก็ไม่ได้มาจากโรงงานเดียวกัน ตรงนี้จึงยากที่จะทราบว่าสินค้าแต่ละชิ้นนั้นได้มาตรฐานทั้งหมดหรือไม่ เมื่อถูกนำเข้ามาแล้วก็จะกระจายไปยังร้านค้าต่างๆ ทำให้ตรวจจับยาก ส่วนที่มีข่าวว่ามีการลักลอบนำของเล่นที่ไม่ได้มาตรฐาน ผ่านเข้ามาทางด้านชายแดนนั้น ก็ได้ขอความร่วมมือไปยังกรมศุลกากรในการ ในการตรวจสอบสินค้านำเข้าจากชายแดนอย่างเข้มงวดแล้ว

รายชื่อของเล่น 31 ชนิดที่ห้ามนำเข้า
1. รถแข่งพลาสติก racing swinging 2. ชุดเครื่องบินรบพลาสติก WAR GAME 3. รถแข่งพลาสติก speed racer 4wd 4. ชุดรถจิ๋ว POWER MOTORCADE 5. รถถังพลาสติก FORCE 6. ชุดรถตำรวจพลาสติก POLICE CAR 7. ชุดรถแข่งฟอร์มูล่า FULL BACK FUNGCTIO 8. ชุดของเล่นเครื่องมือทหาร COMBAT SET 9. มีดจำลองพลาสติกเดินป่า PIRATE'S VOYAGE 10. ชุดรถถัง TANK MILITARY PLAY SET
11. ชุดรถถัง THUNDER CORPS 12. หน้ากากมาส์ก ไรเดอร์ 13. ชุดหุ่นยนต์ SUPER CHARIOTEER 14. ชุดของเล่น V FIGHT 3000 15. ชุดรถมินิคาร์ MINI CAR 16. ชุดรถ CROSS COUNTRY 17. ชุดรถแข่ง JOKER INTERNATIONAL RACING TEAM 18. ชุดรถแข่ง RACING CAR 19. ลูกบอลพลาสติก 20. ชุดตัวอักษรพลาสติกพยัญชนะภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
21. ชุดหน้ากากพลาสติกของเล่น MASK OF MASK RIDER 22. ชุดเกมตกปลาพลาสติก FISHING GAME 23. เบย์เบลดประกายไฟ 24. หุ่นยนต์กันดั้ม ROBOT SUPERIOR AUTO-MATION 25. ชุดรถก่อสร้าง SPORT GAME 26. พัดลมอุลตร้าแมนจิ๋ว 27. รถถังไขลาน 28. ชุดสวนสัตว์จำลอง ANIMAL KINGDOM 29. ชุดพยัญชนะพลาสติกภาษาไทย 30. ชุดพิซซ่าพลาสติก PIZZA PLAY SET 31. ดาบสตาร์วอร์สพลาสติก
พ่อแม่หลายคนจึงวิตกกังวลในการเลือกซื้อของเล่นให้กับลูก เพราะของเล่นก็มีผลต่อการพัฒนาด้านสมองและการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน หากจะไม่ให้เด็กเล่นเลยก็เหมือนกับขัดธรรมชาติของเด็กที่ควรจะเรียนรู้ และได้สัมผัส
“การเลือกของเล่นให้ลูกอย่างไร จึงจะปลอดภัยไร้สารตะกั่ว” จึงเป็นหัวข้อที่ผู้ปกครองหลายท่านอยากทราบ และจะทำอย่างไรหากของเล่นที่ซื้อมานั้นสุดแสนจะมีราคาแพง แต่กลับไม่ให้ประโยชน์กับเจ้าตัวน้อยเลย ในฐานะผู้บริโภคหากรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจโดนผู้ประกอบการหัวใสหลอกเอาง่ายๆ
**เลือกซื้อสินค้าที่มีสัญลักษณ์ มอก.
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลผลิตการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ปกครองที่จะซื้อของเล่นให้กับบุตรหลานว่า อันดับแรกควรเลือกซื้อสินค้าที่มีสัญลักษณ์ มอก.(มาตรฐานอุตสาหกรรม)ไว้ก่อน นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาด้วยว่า สัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นของปลอมหรือไม่ โดยสัญลักษณ์ของจริงจะมีตราลูกศรสี่แฉกในกรอบวงกลม พร้อมระบุชื่อบริษัทและที่อยู่ของผู้ผลิต ที่สำคัญควรเป็นสินค้าที่เป็นพลาสติกสีล้วน ไม่มีการฉาบสีที่สามารถติดหลุดมือได้ เช่น ดาบพลาสติกที่ด้ามจับมีสีสันที่สวยงาม แต่จับแล้วสีสามารถหลุดลอกได้ ก็มีโอกาสที่ตะกั่ว ซึ่งติดอยู่กับสี สามารถหลุดเข้าร่างกายได้
“พ่อแม่ควรตื่นตัวในเรื่องนี้ ไม่เพียงแต่สารตะกั่วอย่างเดียวเท่านั้น สินค้าที่ใส่สี เคลือบสี หรือว่าพ่นสี ถ้าไม่ได้มาตรฐานสีก็จะหลุดลอกได้ง่าย และ เสี่ยงต่อการที่เด็กจะรับประทานเข้าไปในร่างกาย ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรที่จะช่วยกันสอดส่องดูแลบุตรหลานในการเล่นของเล่นอย่างใกล้ชิด”นพ.อดิศักดิ์เตือน
สำหรับข้อแนะนำในการเลือกของเล่นให้เด็กตามวัยนั้น นพ.อดิศักดิ์บอกว่า ควรดูพัฒนาการทางด้าน อายุ พฤติกรรมและการแสดงออกของเด็ก เช่น ถ้าเด็กมีปฏิกิริยาตอบสนอง มีความสนใจ หรือชอบจ้องตา ของเล่นที่เหมาะกับเด็กก็คือ ของเล่นประเภทสั่นไหว สามารถดึงดูดความสนใจได้ด้วยสีสันที่ตัดกัน ส่วนของเล่นประเภทมีเสียง ไม่ควรดังต่อเนื่องเกิน 70 เดซิเบล เพราะจะทำให้เด็กหูอื้อได้
เมื่อถามถึงสัดส่วนในการตรวจพบสารตะกั่วในของเล่นมีโอกาสที่เพิ่มมากขึ้นหรือไม่นั้น นพ.อดิศักดิ์บอกว่า มีโอกาสที่จะพบอีก แต่มากเท่าไรนั้นไม่สามารถระบุได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ขายสินค้าต้องรู้จักที่จะควบคุมมาตรฐานหรือไม่ แต่สินค้าบางประเภทที่เล็ดลอดออกมาขายตามท้องตลาดและมีสารตะกั่วสูงใน 100% มีเพียง 18% ที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนอีก 82% ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
**สินค้าไทยได้มาตรฐานสูงสุด
ด้าน รัศมี วิศยเวทย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แนะผู้บริโภคว่าของเล่นที่ผลิตภายในประเทศไทยและคนไทยเป็นผู้ผลิตนั้นส่วนใหญ่ได้มาตรฐานที่สูงมาก จึงเชื่อได้ว่ามีความปลอดภัยสูง และไม่เป็นอันตราย แต่การซื้อของเล่น นอกจากจากพิจารณาว่าสินค้านั้นมีสีสันที่ฉูดฉาด ฉาบด้วยตะกั่วหรือแคดเมียมแล้ว ต้องดูชิ้นส่วนองค์ประกอบที่หลุดลอดออกมาด้วย เพราะเด็กอาจทานเข้าไป ก่อให้เกิดอันตรายได้ด้วยเช่นกัน อีกประการหนึ่งก็คือ การเลือกซื้อของเล่นให้บุตรหลานควรดูความเหมาะสมของวัยด้วย อย่างของเล่นบางชนิดเหมาะกับเด็ก 6 ขวบ แต่ซื้อให้เด็ก 3 ขวบ เล่นก็ไม่เกิดประโยชน์หรืออาจจะมีโทษตามมาก็เป็นได้
ทั้งนี้ ทาง สคบ.กำลังดำเนินการเรื่องเชิญผู้ประกอบการทั้งค้าปลีกและค้าส่งของเล่นเด็ก เข้ามาปรึกษาหารือ เพื่อมาบอกปัญหา และชี้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ทราบ ซึ่งถ้าจากการตรวจสอบแล้วเสร็จสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ก็จำเป็นที่จะต้องคืนสินค้านั้นทั้งหมด ส่วนทางผู้ประกอบการจะคืนสินค้าไปยังโรงงาน หรือไม่นั้นเป็นขั้นตอนของผู้ค้าที่จะจัดการเอง และถ้าหากยังพบว่ามีการนำของเล่นเคลือบสารตะกั่วเกินมาตรฐาน หรือของเล่นที่หมดอายุมาจำหน่ายอยู่อีก เจ้าหน้าที่ก็ต้องจัดการตรวจเก็บ และดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากนั้น การตรวจเก็บจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของกรมศุลกากร ซึ่งจะเคร่งครัดมากกว่าที่ผ่านมา
**ผู้บริโภคอย่าเห็นแก่ของถูก
สมคิด แสงนิล รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)บอกว่า การเลือกซื้อของเล่นให้เด็กนั้น จำเป็นจะต้องเลือกซื้อจากร้านค้าที่หลักแหล่ง น่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบได้ อย่าซื้อสินค้าจากแผงลอย และถ้าไม่มั่นใจว่าได้มาตรฐานหรือไม่ก็ควรแจ้ง สมอ.ให้เข้าไปตรวจสอบ
ว่ากันง่ายๆ ก็คือ อย่าเห็นแก่ของถูก แต่ถ้าจะซื้อของถูกก็ควรให้มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ค้าหลายรายที่รับสินค้าราคาถูกมาขายต่อ โดยไม่คำนึงถึงผลที่ผู้บริโภคจะได้รับ ส่วนผู้บริโภคเองก็รู้เท่าไม่ถึงการณ์ซื้อสินค้าเหล่านั้นมา เพราะด้วยราคาที่ถูก และที่สำคัญสินค้าราคาถูกเหล่านี้ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีนมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์
สำหรับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานและเล็ดลอดเข้ามาในประเทศได้นั้น สมคิดบอกว่า ก็เนื่องจากในการตรวจสอบสินค้าแต่ละครั้งเป็นระบบการสุ่มตรวจ ซึ่งอาจมีสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานปะปนเข้ามาด้วย และสินค้าดังกล่าวก็ไม่ได้มาจากโรงงานเดียวกัน ตรงนี้จึงยากที่จะทราบว่าสินค้าแต่ละชิ้นนั้นได้มาตรฐานทั้งหมดหรือไม่ เมื่อถูกนำเข้ามาแล้วก็จะกระจายไปยังร้านค้าต่างๆ ทำให้ตรวจจับยาก ส่วนที่มีข่าวว่ามีการลักลอบนำของเล่นที่ไม่ได้มาตรฐาน ผ่านเข้ามาทางด้านชายแดนนั้น ก็ได้ขอความร่วมมือไปยังกรมศุลกากรในการ ในการตรวจสอบสินค้านำเข้าจากชายแดนอย่างเข้มงวดแล้ว
รายชื่อของเล่น 31 ชนิดที่ห้ามนำเข้า
1. รถแข่งพลาสติก racing swinging 2. ชุดเครื่องบินรบพลาสติก WAR GAME 3. รถแข่งพลาสติก speed racer 4wd 4. ชุดรถจิ๋ว POWER MOTORCADE 5. รถถังพลาสติก FORCE 6. ชุดรถตำรวจพลาสติก POLICE CAR 7. ชุดรถแข่งฟอร์มูล่า FULL BACK FUNGCTIO 8. ชุดของเล่นเครื่องมือทหาร COMBAT SET 9. มีดจำลองพลาสติกเดินป่า PIRATE'S VOYAGE 10. ชุดรถถัง TANK MILITARY PLAY SET
11. ชุดรถถัง THUNDER CORPS 12. หน้ากากมาส์ก ไรเดอร์ 13. ชุดหุ่นยนต์ SUPER CHARIOTEER 14. ชุดของเล่น V FIGHT 3000 15. ชุดรถมินิคาร์ MINI CAR 16. ชุดรถ CROSS COUNTRY 17. ชุดรถแข่ง JOKER INTERNATIONAL RACING TEAM 18. ชุดรถแข่ง RACING CAR 19. ลูกบอลพลาสติก 20. ชุดตัวอักษรพลาสติกพยัญชนะภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
21. ชุดหน้ากากพลาสติกของเล่น MASK OF MASK RIDER 22. ชุดเกมตกปลาพลาสติก FISHING GAME 23. เบย์เบลดประกายไฟ 24. หุ่นยนต์กันดั้ม ROBOT SUPERIOR AUTO-MATION 25. ชุดรถก่อสร้าง SPORT GAME 26. พัดลมอุลตร้าแมนจิ๋ว 27. รถถังไขลาน 28. ชุดสวนสัตว์จำลอง ANIMAL KINGDOM 29. ชุดพยัญชนะพลาสติกภาษาไทย 30. ชุดพิซซ่าพลาสติก PIZZA PLAY SET 31. ดาบสตาร์วอร์สพลาสติก