“กษมา” ยันเคยสั่ง ร.ร.ทั่วประเทศห้ามนำเด็กชกมวยอาชีพ เว้นชกเพื่อออกกำลังกาย ด้าน “วรากรณ์” เผยจะประสาน ก.ท่องเที่ยวและกีฬา แก้ พ.ร.บ.มวย อุดช่องโหว่เด็กชกมวยอาชีพ
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ไม่ได้สนับสนุนให้เด็กชกมวยเพื่อหารายได้ แต่ถ้าชกมวยเพื่อออกกำลังกาย ไม่ว่าอย่างไรก็ตามจะให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ ตนคุ้นๆ ว่า เคยประกาศไปสถานศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศ แล้วว่า ห้ามนักเรียนขึ้นชกมวยหารายได้ ซึ่งตนจะตรวจสอบว่าเคยประกาศไปแล้วหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และนำผลมาบังคับใช้ และครูที่เป็นโปรโมเตอร์มวยจะกำชับอีกครั้งห้ามนำนักเรียนขึ้นเวทีชกมวยอย่างเด็ดขาด
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า จากข้อมูลงานวิจัยศึกษาเชิงสำรวจของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม (มรภ.มหาสารคาม) ในโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กรายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการวิจัยของสถาบันรามจิตติ ชื่อว่า Child Watch Project พบว่า มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ชกมวยไทยบนเวทีอาชีพตามสถานที่ต่างๆ เช่น สถานศึกษา สถานที่ราชการ วัด เป็นต้น ส่วนมากเป็นเด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบ 1,000 คน เฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ชกมวยกว่า 50 คน ที่น่าตกใจพบว่ามีเด็กอายุ 7 ขวบ ที่มีน้ำหนัก 24 กิโลกรัม หรือไม่ถึง 50 ปอนด์ขึ้นชกมวยด้วย และขึ้นเวทีชกมวยมาเกือบ 10 ครั้ง โดยเด็กบอกว่าหลังจากชกเสร็จจะรู้สึกเจ็บตามร่างกายหลายวัน และที่น่าตื่นตระหนก ก็คือ แนวโน้มเด็กผู้หญิงชกมวยเพิ่มขึ้นโดยมีผู้ปกครองให้การสนับสนุน เด็กจึงไม่มีสิทธิเลือก นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า ครูในสถานศึกษาเป็นผู้ฝึกสอนมวยให้แก่เด็ก
เด็กขึ้นชกมวยส่วนมากมาจากครอบครัวยากจน ประกอบกับพ่อแม่ชื่นชอบกีฬามวยไทย และเห็นว่า การชกมวยแต่ละครั้งจะได้รับค่าตอบแทนประมาณ 50-600 บาท ซึ่งรายได้เพียงน้อยนิดนี้ กลับชักนำไปสู่การเป็นนักมวยมืออาชีพในอนาคต ถ้าหากเด็กมีฝีมือดีสามารถเข้ามาชกที่เวทีลุมพินี จะได้รับค่าตัวเพิ่มขึ้น แต่กว่าจะมาถึงเวทีดังกล่าวเด็กต้องขึ้นชกและเจ็บตัวไปเท่าไหร่ ตรงจุดนี้ไม่มีใครคำนึงถึง โดยเฉพาะพ่อแม่ซึ่งรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าในระยะยาวลูกจะมีปัญหาด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสมอง ความจำ สายตา หู เป็นต้น ขณะนี้มีเด็กหลายรายได้รับผลกระทบจากการชกมวย เพราะกะโหลกเด็กที่เจริญเติบโตไม่เต็มที่เมื่อถูกกระแทกแรงๆ บ่อยๆ จึงมีโอกาสป่วยระบบประสาทสูงมาก ดูอย่างโมฮุมัดอารี นักมวยชื่อดังปัจจุบันพูดไม่ได้ แล้วมวยไทย มีอาวุธทุกทิศทุกทาง หมัด ศอก เข่า ถีบ เตะ ฟันศอก หากไปถูกบริเวณศีรษะ โดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเลย
รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ ศธ.กังวลว่าผู้ที่เป็นครูไปเป็นโปรโมเตอร์มวยจำนวนมาก และนิยมนำเด็กระดับ ป.1-6 ที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 100 ปอนด์มาชกมวยโดยไม่จำกัดอายุ และคนดูนิยมมวยเด็ก เพราะเด็กล้มมวยไม่เป็น ใช้พลังที่มีอยู่เต็มที่เข้าต่อสู้กับฝ่ายตรงกันข้าม และการชกมวยตั้งแต่อายุยังน้อยโดยที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน อย่างเฮดการ์ด มีเพียงกระจับกับฟันยางเท่านั้น
ปัญหา พ.ร.บ.กีฬามวย ปี 2542 ไม่ได้กำหนดอายุผู้ขึ้นชกมวย เพราะถือว่ามวยไทยเป็นศิลปะประจำชาติ จึงไม่มีกฎหมายคุ้มครองเด็ก ดังนั้น เพื่อป้องกันเด็กก้าวขึ้นสู่เวทีมวยเพิ่มขึ้น ทาง ศธ.จะส่งหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ทั่วประเทศ เพื่อกำชับไม่ให้ครูนำนักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี มาชกมวย และขอความร่วมมือไม่ให้ใช้สถานศึกษาเป็นสถานที่จัดการแข่งขันมวย นอกจากนี้ จะหารือกับกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อออกฎกระทรวง พร้อมทั้งแก้ไข พ.ร.บ.กีฬามวย เพื่อคุ้มครองเด็ก เพราะหากไม่ได้กำหนดจะมีมวยเด็กเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ไม่ได้สนับสนุนให้เด็กชกมวยเพื่อหารายได้ แต่ถ้าชกมวยเพื่อออกกำลังกาย ไม่ว่าอย่างไรก็ตามจะให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ ตนคุ้นๆ ว่า เคยประกาศไปสถานศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศ แล้วว่า ห้ามนักเรียนขึ้นชกมวยหารายได้ ซึ่งตนจะตรวจสอบว่าเคยประกาศไปแล้วหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และนำผลมาบังคับใช้ และครูที่เป็นโปรโมเตอร์มวยจะกำชับอีกครั้งห้ามนำนักเรียนขึ้นเวทีชกมวยอย่างเด็ดขาด
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า จากข้อมูลงานวิจัยศึกษาเชิงสำรวจของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม (มรภ.มหาสารคาม) ในโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กรายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการวิจัยของสถาบันรามจิตติ ชื่อว่า Child Watch Project พบว่า มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ชกมวยไทยบนเวทีอาชีพตามสถานที่ต่างๆ เช่น สถานศึกษา สถานที่ราชการ วัด เป็นต้น ส่วนมากเป็นเด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบ 1,000 คน เฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ชกมวยกว่า 50 คน ที่น่าตกใจพบว่ามีเด็กอายุ 7 ขวบ ที่มีน้ำหนัก 24 กิโลกรัม หรือไม่ถึง 50 ปอนด์ขึ้นชกมวยด้วย และขึ้นเวทีชกมวยมาเกือบ 10 ครั้ง โดยเด็กบอกว่าหลังจากชกเสร็จจะรู้สึกเจ็บตามร่างกายหลายวัน และที่น่าตื่นตระหนก ก็คือ แนวโน้มเด็กผู้หญิงชกมวยเพิ่มขึ้นโดยมีผู้ปกครองให้การสนับสนุน เด็กจึงไม่มีสิทธิเลือก นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า ครูในสถานศึกษาเป็นผู้ฝึกสอนมวยให้แก่เด็ก
เด็กขึ้นชกมวยส่วนมากมาจากครอบครัวยากจน ประกอบกับพ่อแม่ชื่นชอบกีฬามวยไทย และเห็นว่า การชกมวยแต่ละครั้งจะได้รับค่าตอบแทนประมาณ 50-600 บาท ซึ่งรายได้เพียงน้อยนิดนี้ กลับชักนำไปสู่การเป็นนักมวยมืออาชีพในอนาคต ถ้าหากเด็กมีฝีมือดีสามารถเข้ามาชกที่เวทีลุมพินี จะได้รับค่าตัวเพิ่มขึ้น แต่กว่าจะมาถึงเวทีดังกล่าวเด็กต้องขึ้นชกและเจ็บตัวไปเท่าไหร่ ตรงจุดนี้ไม่มีใครคำนึงถึง โดยเฉพาะพ่อแม่ซึ่งรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าในระยะยาวลูกจะมีปัญหาด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสมอง ความจำ สายตา หู เป็นต้น ขณะนี้มีเด็กหลายรายได้รับผลกระทบจากการชกมวย เพราะกะโหลกเด็กที่เจริญเติบโตไม่เต็มที่เมื่อถูกกระแทกแรงๆ บ่อยๆ จึงมีโอกาสป่วยระบบประสาทสูงมาก ดูอย่างโมฮุมัดอารี นักมวยชื่อดังปัจจุบันพูดไม่ได้ แล้วมวยไทย มีอาวุธทุกทิศทุกทาง หมัด ศอก เข่า ถีบ เตะ ฟันศอก หากไปถูกบริเวณศีรษะ โดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเลย
รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ ศธ.กังวลว่าผู้ที่เป็นครูไปเป็นโปรโมเตอร์มวยจำนวนมาก และนิยมนำเด็กระดับ ป.1-6 ที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 100 ปอนด์มาชกมวยโดยไม่จำกัดอายุ และคนดูนิยมมวยเด็ก เพราะเด็กล้มมวยไม่เป็น ใช้พลังที่มีอยู่เต็มที่เข้าต่อสู้กับฝ่ายตรงกันข้าม และการชกมวยตั้งแต่อายุยังน้อยโดยที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน อย่างเฮดการ์ด มีเพียงกระจับกับฟันยางเท่านั้น
ปัญหา พ.ร.บ.กีฬามวย ปี 2542 ไม่ได้กำหนดอายุผู้ขึ้นชกมวย เพราะถือว่ามวยไทยเป็นศิลปะประจำชาติ จึงไม่มีกฎหมายคุ้มครองเด็ก ดังนั้น เพื่อป้องกันเด็กก้าวขึ้นสู่เวทีมวยเพิ่มขึ้น ทาง ศธ.จะส่งหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ทั่วประเทศ เพื่อกำชับไม่ให้ครูนำนักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี มาชกมวย และขอความร่วมมือไม่ให้ใช้สถานศึกษาเป็นสถานที่จัดการแข่งขันมวย นอกจากนี้ จะหารือกับกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อออกฎกระทรวง พร้อมทั้งแก้ไข พ.ร.บ.กีฬามวย เพื่อคุ้มครองเด็ก เพราะหากไม่ได้กำหนดจะมีมวยเด็กเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง