สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนเปิดทางให้สถานศึกษาเอกชนทุกประเภทปรับขึ้นค่าเล่าเรียนเอง โดยต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน โดย กช.มีอำนาจปรับลดค่าเล่าเรียนได้ หากเห็นว่าไม่เหมาะสม ส่วนโทษ ร.ร.ปลอมวุฒิการศึกษายืนจำคุก 6 เดือน- 5 ปี
นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ... ว่า การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) วาระ 2 และ 3 ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนได้พิจารณาแก้ไข โดยสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้คงยืนโทษกรณีที่มีการปลอมแปลงเอกสารทางราชการ เช่น ปลอมวุฒิบัตร โดยมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นผู้บริหารปลอมแปลงเอกสารเองก็จะเพิ่มเป็น 2 เท่า เนื่องจากเห็นว่าเป็นการทำความผิดที่ร้ายแรง ส่วนกรณีการโฆษณาเกินความเป็นจริง เปิดหลักสูตรที่ผิดไปจากที่ขออนุญาต หรือไม่ได้มาตรฐานนั้น มีโทษปรับในอัตราเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าจาก พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้คณะกรรมการการศึกษาเอกชน (กช.) มีอำนาจสั่งให้ลดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนในระบบ หากมีลักษณะแสวงหากำไรเกินควร รวมถึงกรณีที่เห็นว่าค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนในระบบเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร สำหรับโรงเรียนนานาชาตินั้น ได้ยืนยันให้ผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติต้องเป็นคนไทย สำหรับโรงเรียนในระบบยกเว้นโรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ ให้นำผลกำไรไม่เกินร้อยละ 3 เข้าสมทบกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ ส่วนการดูแลและออกใบอนุญาตให้แก่โรงเรียนเอกชนนั้น ในส่วนกลางให้เป็นหน้าที่ของเลขาธิการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ส่วนสถานศึกษาในภูมิภาคให้เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) จากเดิมที่เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ ขั้นตอนหลังจากนี้จะนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธย พร้อมกันนั้น จะตั้งคณะทำงานขึ้นมายกร่างกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศและหลักเกณฑ์ ซึ่งเป็นกฎหมายลูก จำนวนรวมทั้งสิ้น 43 ฉบับให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
ด้านนายสำรวม พฤกษ์เสถียร ผอ.สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ...ยังคงยืนยันให้ผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ เป็นคนไทยเหมือน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 แต่ได้เปิดให้โรงเรียนเอกชนทุกประเภทสามารถกำหนดค่าเล่าเรียนได้เองเพื่อความเป็นอิสระ จากเดิมที่ปัจจุบัน การกำหนดค่าเล่าเรียนของโรงเรียน การปรับเพิ่มค่าเล่าเรียนจะต้องทำเรื่องมาที่ สช.ปีต่อปี และกช.นำเรื่องดังกล่าวเสนอขอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการ ศธ.พิจารณาเห็นชอบก่อน
“อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าเล่าเรียนต้องอยู่ภายใต้กรอบที่ต้องไม่เป็นภาระแก่ประชาชนเกินควร ไม่เช่นนั้น กช.มีอำนาจที่จะปรับลดค่าเล่าเรียนลงได้ตามความเป็นจริง ถ้ามีการร้องเรียนว่ามีการเก็บเกินควรหรือสร้างภาระให้ประชาชนและโรงเรียนต้องปิดประกาศให้ชัดเจนว่าจะต้องเก็บค่าอะไรบ้าง อัตราเท่าไหร่ด้วย”
นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ... ว่า การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) วาระ 2 และ 3 ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนได้พิจารณาแก้ไข โดยสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้คงยืนโทษกรณีที่มีการปลอมแปลงเอกสารทางราชการ เช่น ปลอมวุฒิบัตร โดยมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นผู้บริหารปลอมแปลงเอกสารเองก็จะเพิ่มเป็น 2 เท่า เนื่องจากเห็นว่าเป็นการทำความผิดที่ร้ายแรง ส่วนกรณีการโฆษณาเกินความเป็นจริง เปิดหลักสูตรที่ผิดไปจากที่ขออนุญาต หรือไม่ได้มาตรฐานนั้น มีโทษปรับในอัตราเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าจาก พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้คณะกรรมการการศึกษาเอกชน (กช.) มีอำนาจสั่งให้ลดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนในระบบ หากมีลักษณะแสวงหากำไรเกินควร รวมถึงกรณีที่เห็นว่าค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนในระบบเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร สำหรับโรงเรียนนานาชาตินั้น ได้ยืนยันให้ผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติต้องเป็นคนไทย สำหรับโรงเรียนในระบบยกเว้นโรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ ให้นำผลกำไรไม่เกินร้อยละ 3 เข้าสมทบกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ ส่วนการดูแลและออกใบอนุญาตให้แก่โรงเรียนเอกชนนั้น ในส่วนกลางให้เป็นหน้าที่ของเลขาธิการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ส่วนสถานศึกษาในภูมิภาคให้เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) จากเดิมที่เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ ขั้นตอนหลังจากนี้จะนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธย พร้อมกันนั้น จะตั้งคณะทำงานขึ้นมายกร่างกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศและหลักเกณฑ์ ซึ่งเป็นกฎหมายลูก จำนวนรวมทั้งสิ้น 43 ฉบับให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
ด้านนายสำรวม พฤกษ์เสถียร ผอ.สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ...ยังคงยืนยันให้ผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ เป็นคนไทยเหมือน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 แต่ได้เปิดให้โรงเรียนเอกชนทุกประเภทสามารถกำหนดค่าเล่าเรียนได้เองเพื่อความเป็นอิสระ จากเดิมที่ปัจจุบัน การกำหนดค่าเล่าเรียนของโรงเรียน การปรับเพิ่มค่าเล่าเรียนจะต้องทำเรื่องมาที่ สช.ปีต่อปี และกช.นำเรื่องดังกล่าวเสนอขอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการ ศธ.พิจารณาเห็นชอบก่อน
“อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าเล่าเรียนต้องอยู่ภายใต้กรอบที่ต้องไม่เป็นภาระแก่ประชาชนเกินควร ไม่เช่นนั้น กช.มีอำนาจที่จะปรับลดค่าเล่าเรียนลงได้ตามความเป็นจริง ถ้ามีการร้องเรียนว่ามีการเก็บเกินควรหรือสร้างภาระให้ประชาชนและโรงเรียนต้องปิดประกาศให้ชัดเจนว่าจะต้องเก็บค่าอะไรบ้าง อัตราเท่าไหร่ด้วย”