“วิจิตร” ยืนยันโรงเรียนสามารถระดมทรัพยากร เพื่อมาจัดกิจกรรมพิเศษ จ้างครูมาสอนเสริมพิเศษ ไม่ผิดระเบียบ ศธ. แต่ห้ามมาเก็บระหว่างการรับเด็ก หากรับถือว่านั่นคือ “แปะเจี๊ยะ” ชี้เรียนฟรี 12 ปี ควรนับ ป.1-ม.6 เด็กได้รับประโยชน์สามารถต่อยอดเรียนต่อปริญญาตรี
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่กล้าเรียกเก็บเงินค่าบำรุงการศึกษา นอกเหนือจากที่รัฐจัดสรรให้ เพื่อนำเงินมาจ้างครูสอนเสริมพิเศษ หรือมาจัดกิจกรรมพิเศษ เนื่องเกรงว่าจะขัดรัฐธรรมนูญ ที่ระบุไว้ว่าให้เรียนฟรี 12 ว่า ตนยืนยันว่าถ้าหากผู้บริหารโรงเรียนปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงว่าด้วยเรื่องการระดมทรัพยากร ที่ออกในสมัยที่นายปองพล อดิเรกสาร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็ไม่น่าจะผิดกฎหมาย เพราะยังไม่ได้ถูกยกเลิก อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกโรงเรียนปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวให้ถูกต้องอย่างเคร่งครัด
“ถ้าหากผู้ปกครอง หรือใครที่ต้องการจะเอาความผิดละก็ ขอให้มาเอาผิดกับ ศธ. ด้วย เพราะว่าระเบียบนี้ รมว.ศธ.เป็นผู้เซ็นลงนามและยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน และในช่วง 3-4 เดือนนับจากนี้ไปหรือระหว่างที่ผมยังดำรงตำแหน่งอยู่ หากโรเรียนใดเรียกเก็บเงินตามระเบียบที่ ศธ.กำหนด ถือว่าไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด แต่ไม่ใช่มาระดมทรัพยากรระหว่างรับนักเรียน หากกระทำช่วงนั้นผมถือว่าไม่ใช่ระดมทรัพยากร นั่นคือแป๊ะเจี๊ยะ”
ศ.ดร.วิจิตร กล่าวว่า สาระสำคัญด้านการศึกษาที่เขียนไว้ในในรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ระบุว่า ให้รัฐบาลจัดการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น บัญญัติดังกล่าวไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้แตกต่างไปจาก รธน.พ.ศ.2540 เลยแม้แต่น้อย เพียงแต่ รธน.ปี 50 มีผู้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางว่า คำว่า การจัดการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปีโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น หมายถึง ไม่ให้โรงเรียนเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินเพื่อนำมาสอนเสริมพิเศษ หรือนำมาจัดกิจกรรมพิเศษก็ไม่สามารถทำได้ แต่อีกฝ่ายหนึ่ง เห็นว่า น่าจะหมายถึงสิ่งที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ คือ ไม่ว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่อยู่ในหลักสูตร อยู่ในสิ่งที่โรงเรียนต้องทำอยู่แล้ว ตรงนี้ถือว่าไม่อนุญาตให้โรงเรียนเรียกว่าเก็บเงินเพิ่ม เพราะ ศธ.จ่ายให้เป็นเงินอุดหนุนรายหัวให้กับทางโรงเรียนอยู่แล้ว
“ศธ.ยังไม่มีระเบียบอะไรออกมาใหม่ ขอให้โรงเรียนปฏิบัติตามระเบียบเดิม และคณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตีความไว้แล้วว่าถ้าเป็นการเรียกเก็บเงินเพื่อมาจัดกิจกรรมเสริม โรงเรียนสามารถเรียกเก็บเงินได้ ตามที่ท่านปองพล ได้ออกระเบียบเรื่องการระดมทรัพยากรไว้ ซึ่ง ศธ.ยังแถมท้ายไว้อีกนิดหนึ่งว่าอนุญาตให้โรงเรียนเรียกเก็บเงินพิเศษได้ เพื่อมาสอนเสริมพิเศษและเป็นโครงการที่คณะกรรมการสถานศึกษาเห็นชอบ แล้วจะเก็บจากผู้ปกครองที่สมัครใจจ่ายเท่านั้น ถ้าผู้ปกครองท่านใดไม่สมัครใจ หรือมีฐานะยากจนก็ไม่ต้องจ่าย และไม่ได้ตัดสิทธินักเรียนไม่ให้เรียน” ศ.ดร.วิจิตร ระบุ
ศ.ดร.วิจิตร กล่าวถึงฟรี 12 ปี ว่า คำว่าฟรี 12 ปีจะเริ่มนับตั้งแต่ช่วงชั้นใด บางท่านจะให้นับตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 และบางท่านให้นับตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นม.6 สำหรับตน อยากให้นับป.1 ถึงชั้น ม.ปลาย
“การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี เริ่มนับที่ ป.1 ถึง ม. 3 แล้วขยายมาเป็น 12 ปี ก็ควรนับ ป.1 ไม่ใช่อนุบาล หากนับ ป.1 เด็กได้รับประโยชน์มากกว่า เพราะเป้าหมายปลายของการศึกษาไทย ต้องการให้คนได้รับการศึกษาถึง ม.ปลาย ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีโอกาสต่อยอดเรียนต่อระดับปริญญาตรี อีกอย่างเด็กที่เรียนอนุบาลส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองส่วนชนบทจำนวนมากยังไม่มี” ศ.ดร.วิจิตร กล่าวทิ้งท้าย
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่กล้าเรียกเก็บเงินค่าบำรุงการศึกษา นอกเหนือจากที่รัฐจัดสรรให้ เพื่อนำเงินมาจ้างครูสอนเสริมพิเศษ หรือมาจัดกิจกรรมพิเศษ เนื่องเกรงว่าจะขัดรัฐธรรมนูญ ที่ระบุไว้ว่าให้เรียนฟรี 12 ว่า ตนยืนยันว่าถ้าหากผู้บริหารโรงเรียนปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงว่าด้วยเรื่องการระดมทรัพยากร ที่ออกในสมัยที่นายปองพล อดิเรกสาร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็ไม่น่าจะผิดกฎหมาย เพราะยังไม่ได้ถูกยกเลิก อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกโรงเรียนปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวให้ถูกต้องอย่างเคร่งครัด
“ถ้าหากผู้ปกครอง หรือใครที่ต้องการจะเอาความผิดละก็ ขอให้มาเอาผิดกับ ศธ. ด้วย เพราะว่าระเบียบนี้ รมว.ศธ.เป็นผู้เซ็นลงนามและยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน และในช่วง 3-4 เดือนนับจากนี้ไปหรือระหว่างที่ผมยังดำรงตำแหน่งอยู่ หากโรเรียนใดเรียกเก็บเงินตามระเบียบที่ ศธ.กำหนด ถือว่าไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด แต่ไม่ใช่มาระดมทรัพยากรระหว่างรับนักเรียน หากกระทำช่วงนั้นผมถือว่าไม่ใช่ระดมทรัพยากร นั่นคือแป๊ะเจี๊ยะ”
ศ.ดร.วิจิตร กล่าวว่า สาระสำคัญด้านการศึกษาที่เขียนไว้ในในรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ระบุว่า ให้รัฐบาลจัดการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น บัญญัติดังกล่าวไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้แตกต่างไปจาก รธน.พ.ศ.2540 เลยแม้แต่น้อย เพียงแต่ รธน.ปี 50 มีผู้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางว่า คำว่า การจัดการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปีโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น หมายถึง ไม่ให้โรงเรียนเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินเพื่อนำมาสอนเสริมพิเศษ หรือนำมาจัดกิจกรรมพิเศษก็ไม่สามารถทำได้ แต่อีกฝ่ายหนึ่ง เห็นว่า น่าจะหมายถึงสิ่งที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ คือ ไม่ว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่อยู่ในหลักสูตร อยู่ในสิ่งที่โรงเรียนต้องทำอยู่แล้ว ตรงนี้ถือว่าไม่อนุญาตให้โรงเรียนเรียกว่าเก็บเงินเพิ่ม เพราะ ศธ.จ่ายให้เป็นเงินอุดหนุนรายหัวให้กับทางโรงเรียนอยู่แล้ว
“ศธ.ยังไม่มีระเบียบอะไรออกมาใหม่ ขอให้โรงเรียนปฏิบัติตามระเบียบเดิม และคณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตีความไว้แล้วว่าถ้าเป็นการเรียกเก็บเงินเพื่อมาจัดกิจกรรมเสริม โรงเรียนสามารถเรียกเก็บเงินได้ ตามที่ท่านปองพล ได้ออกระเบียบเรื่องการระดมทรัพยากรไว้ ซึ่ง ศธ.ยังแถมท้ายไว้อีกนิดหนึ่งว่าอนุญาตให้โรงเรียนเรียกเก็บเงินพิเศษได้ เพื่อมาสอนเสริมพิเศษและเป็นโครงการที่คณะกรรมการสถานศึกษาเห็นชอบ แล้วจะเก็บจากผู้ปกครองที่สมัครใจจ่ายเท่านั้น ถ้าผู้ปกครองท่านใดไม่สมัครใจ หรือมีฐานะยากจนก็ไม่ต้องจ่าย และไม่ได้ตัดสิทธินักเรียนไม่ให้เรียน” ศ.ดร.วิจิตร ระบุ
ศ.ดร.วิจิตร กล่าวถึงฟรี 12 ปี ว่า คำว่าฟรี 12 ปีจะเริ่มนับตั้งแต่ช่วงชั้นใด บางท่านจะให้นับตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 และบางท่านให้นับตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นม.6 สำหรับตน อยากให้นับป.1 ถึงชั้น ม.ปลาย
“การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี เริ่มนับที่ ป.1 ถึง ม. 3 แล้วขยายมาเป็น 12 ปี ก็ควรนับ ป.1 ไม่ใช่อนุบาล หากนับ ป.1 เด็กได้รับประโยชน์มากกว่า เพราะเป้าหมายปลายของการศึกษาไทย ต้องการให้คนได้รับการศึกษาถึง ม.ปลาย ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีโอกาสต่อยอดเรียนต่อระดับปริญญาตรี อีกอย่างเด็กที่เรียนอนุบาลส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองส่วนชนบทจำนวนมากยังไม่มี” ศ.ดร.วิจิตร กล่าวทิ้งท้าย