กรมอุตุฯ ระบุอิทธิพลพายุโซนร้อน “เลกีมา” ทำให้ด้านตะวันออกและตอนล่างของภาคอีสาน ภาคตะวันออกรวมทั้งชายฝั่ง และภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น ชี้ 7 จังหวัดใต้ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และสุราษฎร์ธานี ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในระยะ 2-3 วันนี้ ด้านกรมชลฯ ประสาน กทม.เฝ้าระวังพายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่กรมทรัพย์ชี้พื้นที่ใต้ระวังดินถล่ม โดยเฉพาะพื้นที่ภูเขาสูงและหุบเขา
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย “พายุดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้” ฉบับที่ 4 ว่า เมื่อเวลา 05.00 น.วันนี้ (1 ต.ค.) พายุโซนร้อน “เลกีมา” ในทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ทางด้านตะวันออก ห่างจากเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ประมาณ 550 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 14.7 องศาเหนือ ลองจิจูด 113.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 12 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ลักษณะดังกล่าวจะทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงในช่วงวันที่ 1-4 ต.ค.50 ส่งผลให้ด้านตะวันออกและตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกรวมทั้งชายฝั่ง และภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และสุราษฎร์ธานี ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในระยะ 2-3 วันนี้ (1-4 ต.ค.) สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กในทะเลอันดามัน และอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 1-4 ต.ค.นี้ไว้ด้วย
นายบุญสนอง สุชาติพงศ์ วิศวกรวิชาชีพ 9 วช โฆษกกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้เฝ้าระวังและติดตามพายุดีเปรสชันอย่างใกล้ชิด ได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำโดยให้โครงการชลประทานในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมทุกโครงการเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ อาทิ ในภาคใต้ เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี รับน้ำได้อีกร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ รับน้ำได้อีกร้อยละ 32 ของความจุอ่างฯ เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี รับน้ำได้อีกร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ ส่วนสภาพน้ำท่าในแม่น้ำสายหลักต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ กรมชลประทานยังได้ประสานกับกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่องในการเฝ้าระวังและการระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้สอดคล้องกับจังหวะน้ำทะเลขึ้นลง โดยควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านกรุงเทพฯ ให้อยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ล่าสุดมีปริมาณน้ำไหลผ่านกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ในเกณฑ์ ประมาณ 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไม่ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ และปริมณฑลแต่อย่างใด.
ด้าน นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ขอให้ประชาชนในพื้นที่ภูเขาสูง หุบเขา และหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่ม บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และสุราษฎร์ธานี เนื่องจากการติดตามเฝ้าระวังของกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีกลุ่มเมฆฝนปกคลุมหนาแน่นในบริเวณดังกล่าว และมีฝนตกสะสมทำให้ดินบนภูเขาชุ่มน้ำอาจถล่มลงมาได้ จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่ภูเขาสูง หุบเขา และหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่มในพื้นที่ดังกล่าว ตรวจเฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากเป็นพิเศษ และเพิ่มความระมัดระวังในการเดินทาง พร้อมทั้งให้อาสาสมัครเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่มของกรมทรัพยากรธรณีเฝ้าระวังภัยอย่างใกล้ชิด
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย “พายุดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้” ฉบับที่ 4 ว่า เมื่อเวลา 05.00 น.วันนี้ (1 ต.ค.) พายุโซนร้อน “เลกีมา” ในทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ทางด้านตะวันออก ห่างจากเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ประมาณ 550 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 14.7 องศาเหนือ ลองจิจูด 113.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 12 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ลักษณะดังกล่าวจะทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงในช่วงวันที่ 1-4 ต.ค.50 ส่งผลให้ด้านตะวันออกและตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกรวมทั้งชายฝั่ง และภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และสุราษฎร์ธานี ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในระยะ 2-3 วันนี้ (1-4 ต.ค.) สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กในทะเลอันดามัน และอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 1-4 ต.ค.นี้ไว้ด้วย
นายบุญสนอง สุชาติพงศ์ วิศวกรวิชาชีพ 9 วช โฆษกกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้เฝ้าระวังและติดตามพายุดีเปรสชันอย่างใกล้ชิด ได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำโดยให้โครงการชลประทานในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมทุกโครงการเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ อาทิ ในภาคใต้ เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี รับน้ำได้อีกร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ รับน้ำได้อีกร้อยละ 32 ของความจุอ่างฯ เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี รับน้ำได้อีกร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ ส่วนสภาพน้ำท่าในแม่น้ำสายหลักต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ กรมชลประทานยังได้ประสานกับกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่องในการเฝ้าระวังและการระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้สอดคล้องกับจังหวะน้ำทะเลขึ้นลง โดยควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านกรุงเทพฯ ให้อยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ล่าสุดมีปริมาณน้ำไหลผ่านกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ในเกณฑ์ ประมาณ 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไม่ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ และปริมณฑลแต่อย่างใด.
ด้าน นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ขอให้ประชาชนในพื้นที่ภูเขาสูง หุบเขา และหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่ม บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และสุราษฎร์ธานี เนื่องจากการติดตามเฝ้าระวังของกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีกลุ่มเมฆฝนปกคลุมหนาแน่นในบริเวณดังกล่าว และมีฝนตกสะสมทำให้ดินบนภูเขาชุ่มน้ำอาจถล่มลงมาได้ จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่ภูเขาสูง หุบเขา และหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่มในพื้นที่ดังกล่าว ตรวจเฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากเป็นพิเศษ และเพิ่มความระมัดระวังในการเดินทาง พร้อมทั้งให้อาสาสมัครเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่มของกรมทรัพยากรธรณีเฝ้าระวังภัยอย่างใกล้ชิด