“วิจิตร” โยน สกอ.พิจารณาข้อเสนอคณะกรรมการสิทธิฯ กรณีให้เด็กสอบโอเน็ตเพียงครั้งเดียว ขณะที่ เลขา กกอ.เผย ผู้ที่กำหนดเกณฑ์คัดเลือกบุคคลเข้ามหาวิทยาลัย คือ ทปอ.ดังนั้น ทปอ.ก็ต้องพิจารณา ลั่นไม่เห็นด้วยจะหวนคือเอนทรานซ์ ระบุเอาผลคะแนนสอบแค่ 4 วันมาตัดสินจะดีกว่าการใช้ความรู้ตลอดหลักสูตรมาร่วมพิจารณาคัดเลือกได้อย่างไร
จากกรณีที่คณะอนุกรรมการศึกษาและพัฒนา ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีความเห็นว่า การนำคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET มาใช้ในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชัน เพื่อคัดเลือกเด็กเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อเด็ก เนื่องจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กำหนดให้ใช้คะแนน O-NET ที่เด็กสอบในปีที่จบ ม.6 เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องขอให้ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) เป็นผู้พิจารณา เพราะหากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุว่า การจัดสอบแอดมิชชัน และการสอบ O-NET เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ต้องพิจารณาว่าละเมิดอย่างไร ตรงไหน และต่อไปเราจะจัดระบบอย่างไรจึงจะไม่ละเมิด ซึ่งเราต้องฟังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ เพราะเขามีหน้าที่ทางด้านดูแลสิทธิมนุษยชน และถือเป็นเรื่องดีที่หยิบยกเรื่องนี้มาพูดกัน เพื่อจะได้เกิดความรอบคอบมากขึ้น
ขณะที่ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ต้องเข้าใจก่อนว่า ทปอ.เป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการคัดเลือกเด็กเข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้น หากจะมีการเปลี่ยนแปลงกติกาก็ต้องให้ ทปอ.พิจารณา รวมถึงข้อเสนอที่จะให้ยกเลิกระบบแอดมิชชัน แล้วให้กลับไปใช้ระบบเอนทรานซ์เหมือนเดิมนั้น ผู้ที่ตัดสินคือ ทปอ.เช่นกัน ส่วน สกอ.มีหน้าที่ปฏิบัติตามเท่านั้น
“ผมยืนยันว่า การดำเนินการใดๆ จะต้องคำนึงถึงคนส่วนใหญ่เป็นหลัก แต่ถ้าใครคิดว่าตัวเองเสียสิทธิจะไปร้องต่อศาลปกครองว่าถูกละเมิดสิทธิก็เป็นสิทธิที่กระทำได้ ส่วนที่บอกว่ามหาวิทยาลัยไม่เยียวยาเด็กที่มีคะแนนโอเน็ตไม่ตรงตามปีที่จบนั้น เป็นการพูดโดยไม่ดูข้อมูล ทั้งที่จริงแล้ว เราช่วยเยียวยาเด็ก 800-900 คน เพื่อให้เข้าเรียนมหาวิทยาลัย และถ้าไม่เยียวยาเด็กกลุ่มนี้จะมีที่เรียนได้อย่างไร”
ดร.กฤษณพงษ์ กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับระบบเอนทรานซ์ที่ใช้ผลการสอบ 4 วันมาตัดสินการเข้ามหาวิทยาลัยของเด็ก และคงไม่ดีกว่าระบบแอดมิชชันที่ให้นำผลการเรียนตลอดหลักสูตรมาประกอบการเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อให้เด็กสนใจเรียน ซึ่งที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยก็บ่นว่าระบบเอนทรานซ์ ทำให้เด็กไม่สนใจเรียนทำให้ความรู้ไม่กว้าง พอไปเรียนในมหาวิทยาลัยจะมีเพียงความรู้ที่สอบเข้าเท่านั้น ทั้งที่การเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นต้องมีความรู้มากกว่าที่ใช้สอบเอนทรานซ์
“ที่ระบุว่า ระบบแอดมิชชันทำให้มีการกวดวิชามากขึ้นนั้น จริงๆ แล้วไม่เคยมีใครบอกว่าระบบแอดมิชชัน ทำให้กวดวิชาลดลง และเรื่องการกวดวิชาเป็นเรื่องที่อยู่ในสายเลือดของเด็ก เนื่องจากเด็กในสังคมไทยไม่มีความมั่นใจว่าจะสอบได้ ยิ่งเรียนมากยิ่งไม่มั่นใจมาก คนที่ไปกวดวิชานั้นจำนวนมากมีความรู้ แต่เห็นคนอื่นไปกวดวิชาก็กลัวว่าจะสู้คนอื่นไม่ได้ ซึ่งการกวดวิชาเป็นเรื่องซ้ำซ้อนมาก ผมอยากถามว่าการกวดวิชาเพื่อไปสอบแข่งกัน 4 วัน กับการกวดวิชา เพื่อทำให้ความรู้แข็งใน 3 ปี นั้นอะไรดีกว่ากัน”เลขาธิการ กกอ.กล่าว
จากกรณีที่คณะอนุกรรมการศึกษาและพัฒนา ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีความเห็นว่า การนำคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET มาใช้ในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชัน เพื่อคัดเลือกเด็กเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อเด็ก เนื่องจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กำหนดให้ใช้คะแนน O-NET ที่เด็กสอบในปีที่จบ ม.6 เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องขอให้ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) เป็นผู้พิจารณา เพราะหากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุว่า การจัดสอบแอดมิชชัน และการสอบ O-NET เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ต้องพิจารณาว่าละเมิดอย่างไร ตรงไหน และต่อไปเราจะจัดระบบอย่างไรจึงจะไม่ละเมิด ซึ่งเราต้องฟังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ เพราะเขามีหน้าที่ทางด้านดูแลสิทธิมนุษยชน และถือเป็นเรื่องดีที่หยิบยกเรื่องนี้มาพูดกัน เพื่อจะได้เกิดความรอบคอบมากขึ้น
ขณะที่ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ต้องเข้าใจก่อนว่า ทปอ.เป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการคัดเลือกเด็กเข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้น หากจะมีการเปลี่ยนแปลงกติกาก็ต้องให้ ทปอ.พิจารณา รวมถึงข้อเสนอที่จะให้ยกเลิกระบบแอดมิชชัน แล้วให้กลับไปใช้ระบบเอนทรานซ์เหมือนเดิมนั้น ผู้ที่ตัดสินคือ ทปอ.เช่นกัน ส่วน สกอ.มีหน้าที่ปฏิบัติตามเท่านั้น
“ผมยืนยันว่า การดำเนินการใดๆ จะต้องคำนึงถึงคนส่วนใหญ่เป็นหลัก แต่ถ้าใครคิดว่าตัวเองเสียสิทธิจะไปร้องต่อศาลปกครองว่าถูกละเมิดสิทธิก็เป็นสิทธิที่กระทำได้ ส่วนที่บอกว่ามหาวิทยาลัยไม่เยียวยาเด็กที่มีคะแนนโอเน็ตไม่ตรงตามปีที่จบนั้น เป็นการพูดโดยไม่ดูข้อมูล ทั้งที่จริงแล้ว เราช่วยเยียวยาเด็ก 800-900 คน เพื่อให้เข้าเรียนมหาวิทยาลัย และถ้าไม่เยียวยาเด็กกลุ่มนี้จะมีที่เรียนได้อย่างไร”
ดร.กฤษณพงษ์ กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับระบบเอนทรานซ์ที่ใช้ผลการสอบ 4 วันมาตัดสินการเข้ามหาวิทยาลัยของเด็ก และคงไม่ดีกว่าระบบแอดมิชชันที่ให้นำผลการเรียนตลอดหลักสูตรมาประกอบการเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อให้เด็กสนใจเรียน ซึ่งที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยก็บ่นว่าระบบเอนทรานซ์ ทำให้เด็กไม่สนใจเรียนทำให้ความรู้ไม่กว้าง พอไปเรียนในมหาวิทยาลัยจะมีเพียงความรู้ที่สอบเข้าเท่านั้น ทั้งที่การเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นต้องมีความรู้มากกว่าที่ใช้สอบเอนทรานซ์
“ที่ระบุว่า ระบบแอดมิชชันทำให้มีการกวดวิชามากขึ้นนั้น จริงๆ แล้วไม่เคยมีใครบอกว่าระบบแอดมิชชัน ทำให้กวดวิชาลดลง และเรื่องการกวดวิชาเป็นเรื่องที่อยู่ในสายเลือดของเด็ก เนื่องจากเด็กในสังคมไทยไม่มีความมั่นใจว่าจะสอบได้ ยิ่งเรียนมากยิ่งไม่มั่นใจมาก คนที่ไปกวดวิชานั้นจำนวนมากมีความรู้ แต่เห็นคนอื่นไปกวดวิชาก็กลัวว่าจะสู้คนอื่นไม่ได้ ซึ่งการกวดวิชาเป็นเรื่องซ้ำซ้อนมาก ผมอยากถามว่าการกวดวิชาเพื่อไปสอบแข่งกัน 4 วัน กับการกวดวิชา เพื่อทำให้ความรู้แข็งใน 3 ปี นั้นอะไรดีกว่ากัน”เลขาธิการ กกอ.กล่าว